ซิโน-ไทย พรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญวีรกูล

อนุทิน ชาญวีรกูล เกี่ยวข้องอย่างไรกับ บริษัท ซิโน-ไทย?

หลังเลือกตั้งเป็นต้นมา ชื่อของ ‘เสี่ยหนู’ อนุทิน ชาญวีรกูล ยังคงหวือหวาอยู่บนหน้าข่าวการเมืองอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดการโพสต์ข้อความเรื่องเก้าอี้กระทรวง และลีลาการไล่ตอบคอมเมนต์บนเฟซบุ๊คแบบรัวๆ ไปจนถึงโผ ครม. ก็ทำให้เขากลายเป็นสีสันขึ้นมาอีกครั้ง อนุทินมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ 2 บริษัท ได้แก่…

Home / NEWS / อนุทิน ชาญวีรกูล เกี่ยวข้องอย่างไรกับ บริษัท ซิโน-ไทย?

หลังเลือกตั้งเป็นต้นมา ชื่อของ ‘เสี่ยหนู’ อนุทิน ชาญวีรกูล ยังคงหวือหวาอยู่บนหน้าข่าวการเมืองอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดการโพสต์ข้อความเรื่องเก้าอี้กระทรวง และลีลาการไล่ตอบคอมเมนต์บนเฟซบุ๊คแบบรัวๆ ไปจนถึงโผ ครม. ก็ทำให้เขากลายเป็นสีสันขึ้นมาอีกครั้ง

อนุทินมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ 2 บริษัท ได้แก่

บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

  • ถือหุ้นเป็นลำดับ 4 จำนวน 71,550,128 หุ้น 4.69%

บริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน)

  • ถือหุ้นเป็นลำดับ 1 จำนวน 164,590,285 หุ้น 10.13%

สำหรับ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เป็นบริษัทประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตั้งแต่โครงการขนาดกลางไปจนถึงโครงการขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ งานโยธาและงานเครื่องกล ทั้งงานก่อสร้างด้านสาธารณูปโภค งานด้านอาคาร งานด้านพลังงาน งานด้านอุตสาหกรรม และงานด้านสิ่งแวดล้อม

ซิโน-ไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ผู้เป็นบิดาของอนุทิน โดยเริ่มจากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุนจดทะเบียน 500,000 บาท ดำเนินธุรกิจแปรสภาพโครงสร้างเหล็กที่ใช้เทคนิคการเชื่อมและดัดแปลงขั้นพื้นฐาน

ในปี พ.ศ. 2510 เติบโตจนเข้าสู่รูปแบบบริษัท และขยายธุรกิจสู่งานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม กระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายแรกที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท

อนุทินผู้เป็นทายาท เข้ามาสืบทอดกิจการ หลังเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์กลับจากสหรัฐอเมริกาสักระยะ โดยเริ่มจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ก่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2547

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ช่วงปี พ.ศ. 2540 ซิโน-ไทย ต้องล้มละลายจากการลอยตัวค่าเงินบาท แต่หลังจากนำบริษัทเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ท้ายที่สุดอนุทินก็ใช้เวลาเพียง 3 ปี ปลดสถานะล้มละลาย และทำให้ ซิโน-ไทย ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัที่มีความมั่นคง 1 ใน 3 ของประเทศ

ปัจจุบัน แม้ถอยออกมาจากอาณาจักร ซิโน-ไทย นานแล้ว แต่ร่มเงาของอนุทินก็ยังปกคลุมที่นี่อยู่ และยังคงมีห้องทำงานอยู่บนชั้น 25 ของอาคาร ซิโน-ไทย

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ซิโน-ไทย 3 ลำดับก่อนหน้าอนุทิน ได้แก่

  1. บริษัท ซี.ที. เวนเจอร์ จำกัด จำนวน 234,086,788 หุ้น 15.35%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 153,069,411 หุ้น 10.04%
  3. UBS AG SINGAPORE BRANCH จำนวน 81,644,700 หุ้น 5.35%

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 กลุ่มชาญวีรกูลมีการโยกหุ้น 15.35% ให้ บริษัท ซี.ที.เวนเจอร์ ถือแทน โดยนางสาวนัยน์ภัค ชาญวีรกูล และนายเศรณี ชาญวีรกูล ซึ่งเป็นลูก 2 คนของอนุทิน ขายหุ้น STEC จำนวนคนละ 117,043,394 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนคนละประมาณ 7.67% รวมจำนวนทั้งสิ้น 15.35% ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ผ่าน บลจ. กสิกรไทย โดยขายให้แก่บริษัท ซี.ที. เวนเจอร์ จำกัด ซึ่งนางสาวนัยน์ภัคและนายเศรณีถือหุ้นอยู่คนละ 49.99%

ณ สิ้นปี 2561 ซิโน-ไทย มีงานก่อสร้างคงเหลือในมือรวม 105,200 ล้านบาท สำหรับงานก่อสร้างภาครัฐ เป็นงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟทางคู่ ทางหลวง งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ รวมทั้งอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และอาคารกระทรวงการคลังแห่งใหม่

ผลประกอบการของ ซิโน-ไทย

  • ปี 2559 รายได้ 18,649 ล้านบาท กำไร 1,380 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 21,190 ล้านบาท ขาดทุน 610 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 28,000 ล้านบาท กำไร 1,616 ล้านบาท

สัดส่วนรายได้ของซิโน-ไทยปี 2561

  • งานก่อสร้างด้านสาธารณูปโภค 17,095 ล้านบาท หรือ 62.2%
  • งานก่อสร้างด้านอาคาร 4,490 ล้านบาท หรือ 16.4%
  • งานก่อสร้างด้านพลังงาน 5,055 ล้านบาท หรือ 18.4%
  • งานก่อสร้างด้านสิ่งแวดล้อม 829 ล้านบาท หรือ 3%
  • งานก่อสร้างด้านอุตสาหกรรม 0%

ส่วน บริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน) หรือ STPI ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518 โดยเป็นบริษัทในเครือของ ซิโน-ไทย ประกอบธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็กและโครงสร้างเหล็ก ผลิตและติดตั้งโครงสร้างเหล็ก งานประกอบและเชื่อมท่อ งานประกอบโรงงานสำเร็จรูป สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยกลุ่มลูกค้าหลัก คือ เจ้าของโครงการ และผู้รับเหมา

ผลประกอบการของ STPI

  • ปี 2559 รายได้ 10,020 ล้านบาท กำไร 1,365 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 1,158 ล้านบาท ขาดทุน 2,495 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 1,344 ล้านบาท ขาดทุน 629 ล้านบาท