กำไร ธนาคาร ผลประกอบการ รายได้

เปิดรายได้ธนาคารปี 2561 แต่ละแบงก์มีกำไรเท่าไหร่?

ในช่วงต้นปีอย่างนี้ บรรดาธนาคารต่างๆ ก็จะทยอยแถลงผลประกอบการของปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ย่อมสะท้อนแง่มุมทางเศรษฐกิจและการลงทุนได้ แบงก์ไหนมีตัวเลขหวือหวาขนาดไหน MThai รวบรวมสรุปมาไว้ให้ดู ณ ที่นี้ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย กำไรสุทธิ 11,601 ล้านบาท…

Home / NEWS / เปิดรายได้ธนาคารปี 2561 แต่ละแบงก์มีกำไรเท่าไหร่?

ในช่วงต้นปีอย่างนี้ บรรดาธนาคารต่างๆ ก็จะทยอยแถลงผลประกอบการของปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ย่อมสะท้อนแง่มุมทางเศรษฐกิจและการลงทุนได้ แบงก์ไหนมีตัวเลขหวือหวาขนาดไหน MThai รวบรวมสรุปมาไว้ให้ดู ณ ที่นี้

ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย

  • กำไรสุทธิ 11,601 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อน
  • เตรียมความพร้อมรับ IFRS 9 ด้วยการตั้งสำรองฯ เพิ่มจากระดับปกติเป็นจำนวน 7,000 ล้านบาท ในปี 2561 ธนาคารดำเนินการตั้งสำรองฯ ทั้งสิ้น 16,100 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนสำรองฯ ต่อ NPL (Coverage Ratio) ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 152% จาก 143% ในปีก่อนหน้า
  • อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 2.76%
  • ฐานลูกค้า Retail Active Customer เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.6 ล้านคน จากปีก่อนหน้าที่ 2.5 ล้านคน
  • สัดส่วนลูกค้าดิจิทัล (Digital Active Customers) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 48% จาก 35% ในปีที่แล้ว
  • ฐานเงินฝากเพิ่มขึ้นได้ 6.2% จากปีก่อน มาอยู่ที่ 6.50 แสนล้านบาท
  • ขยายสินเชื่อได้ที่ 6.6% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 6.86 แสนล้านบาท
  • ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิชะลอตัวลงจากปีก่อน อยู่ที่ 2.94% จาก 3.13%
  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวลดลง 1.0% มาอยู่ที่ 24,497 ล้านบาท
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโต 85.3% มาอยู่ที่ 23,545 ล้านบาท
  • รายได้จากการดำเนินงาน 48,042 ล้านบาท
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 17,475 ล้านบาท ลดลง 1.8%

ธนาคารกรุงไทย

  • กำไรสุทธิ 28,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.0% จากปีก่อน
  • สินเชื่อรวมเติบโต 4.4% จากสิ้นปีก่อน โดยมาจากสินเชื่อรายย่อยที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคล
  • อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) อยู่ที่ 3.13%
  • สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs Ratio-Net) อยู่ที่ 1.94% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
  • NIM 3.23% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา 3.12%
  • อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคาร (งบการเงินเฉพาะธนาคาร) อยู่ที่ 18.19% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนที่ 17.45%

ธนาคารออมสิน

  • สินเชื่อ 2,111,899 ล้านบาท  ขยายตัวร้อยละ 4.85
  • เงินรับฝาก 2,298,412 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87
  • สินทรัพย์ 2,710,350 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.75
  • กำไรสุทธิ 36,310 ล้านบาท
  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิกว่า 64,000 ล้านบาท
  • รายได้มิใช่ดอกเบี้ย กว่า 18,000 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 7,900 ล้านบาท โดยเฉพาะกำไรจากการขายเงินลงทุน (IRPC) และรายได้ค่าธรรมเนียมจากบริการเงินกู้  ธุรกิจบัตรและอิเล็กทรอนิกส์ และรายได้ค่านายหน้า
  • หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ร้อยละ 2.15 ของสินเชื่อรวม
  • นำส่งรายได้แผ่นดินในปี 2561 20,054 ล้านบาท เป็นอันดับ 4 ของรัฐวิสาหกิจ และเป็นอันดับ 1 ของสถาบันการเงินของรัฐ

ธนาคารกสิกรไทย

  • กำไรสุทธิจำนวน 38,459 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 4,121 ล้านบาท หรือ 12.00% เกิดจากธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลดลง ซึ่งสอดคล้องกับคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร
  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 4,377 ล้านบาท หรือ 4.65% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินให้สินเชื่อ และเงินลงทุน
  • อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.39%
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 5,750 ล้านบาท หรือ 9.17% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง ในขณะที่รายได้จากผลิตภัณฑ์ตลาดเงินเพิ่มขึ้นจากธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 43.96%
  • สินทรัพย์รวมจำนวน 3,155,091 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2560 จำนวน 254,250 ล้านบาท หรือ 8.76% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ และการเติบโตของสินเชื่อ
  • สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 3.34% ขณะที่สิ้นปี 2560 อยู่ที่ระดับ 3.30%
  • อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 160.60% จากระดับ 148.45% ณ สิ้นปี 2560
  • อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ 18.32% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.90%

ธนาคารธนชาต

  • กำไรสุทธิ 14,703 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เฉลี่ยปีละประมาณ 10%
  • รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 5.53% จากสินเชื่อที่เติบโตขึ้น 5.88% โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เติบโตสูงถึง 13.44%
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 2.95% จากกำไรจากการขายเงินลงทุนลดลง
  • ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.43%
  • NPL Ratio อยู่ที่ 2.30% คงที่จากปีก่อน และอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมมาก ซึ่งสามารถสะท้อนถึงคุณภาพของธนาคารในการบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

ธนาคารกรุงเทพ

  • กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารจำนวน 35,330 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากปี 2560
  • รายได้จากการดำเนินงานจำนวน 121,401 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9
  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1
  • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.40
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 จากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากธุรกรรมเพื่อค้า และปริวรรตเงินตราต่างประเทศ และกำไรสุทธิจากเงินลงทุน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 45.4
  • สินเชื่อ 2,083,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากสิ้นปี 2560 จากสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ สินเชื่อลูกค้าบุคคล และสินเชื่อกิจการต่างประเทศ
  • อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมลดลงเป็นร้อยละ 3.4
  • อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 190.9

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

  • ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ทั้งสิ้น 213,161 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.30% คิดเป็น 173,958 บัญชี
  • แบ่งเป็นสินเชื่อที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท จำนวนถึง 105,081 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 6.29%
  • ส่งผลให้ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 1,115,893 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.03%
  • สินทรัพย์รวม 1,163,882 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.55%
  • เงินฝากรวม 943,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.94%
  • หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน  46,495 ล้านบาท คิดเป็น 4.17% ของยอดสินเชื่อรวม ลดลง 0.04% ซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าในรูปแบบต่างๆ เพื่อรักษาบ้านให้ยังคงอยู่กับลูกค้าต่อไป
  • กำไรสุทธิ 12,611 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ 12,137 ล้านบาท เพื่อให้ผ่าน KPI ตามนโยบายกระทรวงการคลัง
  • อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ระดับที่ 14.19% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำ 8.50% ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารกรุงศรี

  • เงินให้สินเชื่อ เพิ่มขึ้น 10.4% หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 161 พันล้านบาท
  • สินเชื่อเพื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น 14.3%
  • สินเชื่อลูกค้าบรรษัทญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC) และสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ SME เติบโตที่ 19.1% และ 14.8% ตามลำดับ
  • การเติบโตของเงินรับฝาก เพิ่มขึ้น 8.1% หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 107 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2560
  • กำไรสุทธิ จำนวน 24.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% จากปี 2560
  • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.81% เทียบกับ 3.74% ในปี 2560
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 7.2% จากปี 2560 ปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ รวมถึงค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศและรายได้จากหนี้สูญรับคืน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ อยู่ที่ 47.2% ปรับตัวดีขึ้นจาก 48.0% ในปี 2560
  • สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อยู่ที่ระดับ 2.06%
  • อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 165.8%
  • อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง อยู่ที่ระดับ 15.13%

ธนาคารไทยพาณิชย์ 

  • กำไรสุทธิประจำปี 2561 จำนวน 40,068 ล้านบาท (งบการเงินรวมก่อนตรวจสอบ) ลดลง 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • รายได้จากการดำเนินงาน 138,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.5% จากปีก่อน
  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโต 4.4%
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับตัวลดลง 4.7% จากปีก่อน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที่ 46.8% ในปี 2561
  • อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นปี 2561 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 147% เมื่อเทียบกับ 137% ในปีก่อน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายหนี้สูญต่อสินเชื่อ (Credit cost) อยู่ที่ 1.15%
  • อัตราส่วน NPL อยู่ที่ 2.85%
  • เงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารอยู่ในระดับ 17.1%

ที่มา: แถลงผลประกอบการของธนาคาร