บัตรพลังงาน

เตือน! ห้ามดื่มน้ำจุ่ม ‘บัตรพลังงาน’ ชี้เสี่ยงมะเร็ง มีสารกัมมันตรังสี

วันนี้ (14 มิ.ย. 62) มีรายงานว่า นายอำไพ สุขบำเพิง ผู้จัดการศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ชี้แจงกรณี ตัวแทนผู้จำหน่ายบัตรพลังงานนิวเคลียร์ นำเอกสารผลตรวจวิเคราะห์ องค์ประกอบธาตุ ประกอบการจำหน่ายบัตรพลังงานนิวเคลียร์ ราคา…

Home / NEWS / เตือน! ห้ามดื่มน้ำจุ่ม ‘บัตรพลังงาน’ ชี้เสี่ยงมะเร็ง มีสารกัมมันตรังสี

ประเด็นน่าสนใจ

  • ชาวบ้านหลงเชื่อซื้อ ‘บัตรพลังงาน’ มาใช้รักษาโรค มูลค่าสูงใบละ 1,000-1,500 บาท
  • สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เผยผลตรวจพบมีสารกัมมันตรังสี ได้รับสะสมเสี่ยงโรคมะเร็ง

วันนี้ (14 มิ.ย. 62) มีรายงานว่า นายอำไพ สุขบำเพิง ผู้จัดการศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ชี้แจงกรณี ตัวแทนผู้จำหน่ายบัตรพลังงานนิวเคลียร์ นำเอกสารผลตรวจวิเคราะห์ องค์ประกอบธาตุ ประกอบการจำหน่ายบัตรพลังงานนิวเคลียร์ ราคา 1,500 บาท ที่กำลังแพร่หลายในภาคใต้ และภาคอีสาน ว่า เอกสารที่นำมาประกอบการขาย เป็นเพียงผลตรวจวิเคราะห์ ที่บริษัท แอลเอ จีเนียส ประเทศไทยจำกัด นำตัวอย่างบัตรมาให้ตรวจสอบ ตั้งแต่ปี 2559

แต่จากนั้นก็พบว่าประชาชนออกมาร้องเรียน สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เมื่อ 3 ปี ที่ผ่านมา ว่ามีการนำบัตรไปขายในราคาแพง 600-700 บาท อ้างสรรพคุณ ประหยัดพลังงาน รักษาโรคได้ ขัดแย้งกับผลตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุของสถาบันฯ ที่พบว่า ในบัตรมีสารกัมมันตรังสี เช่น ทอเรียม ยูเรเนียม สารรังสีอันตรายกับชีวิต หากสารเหล่านี้เข้าไปสะสมให้ร่างกายด้วยวิธีดื่ม-กิน ก็อาจเป็นมะเร็งได้

ดังนั้นใบรับรองที่ออกไปเป็นเพียงผลตรวจ ไม่ใช่การการันตี หรือยืนยันว่า บัตรนั้นรักษาโรคได้ โดยหลังจากที่มีปัญหาร้องเรียนในปี 2559 ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ก็ไม่ได้รับตรวจวิเคราะห์สารกัมมันตรังสี ให้กับบริษัทใดอีกเลย เพราะกลัวว่าจะนำไปใช้เพื่อหลอกลวงประชาชน

ขณะที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเคมีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งมอบบัตรพลังงานนิวเคลียร์ที่ได้มา ให้กับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติแล้ว เพื่อนำไปตรวจสอบว่า สารรังสีอันตรายที่อยู่ในบัตร มีมากน้อยแค่ไหน เพราะผลตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุ เป็นผลตั้งแต่ปี 2559 หากตรวจได้ ก็จะรู้จำนวนบัตรที่แน่ชัดว่ามีอยู่ในประเทศไทยเท่าไหร่ เพราะบัตรนี้มีการยืนยันว่า มีต้นทางผลิตจากประเทศมาเลเซียด้วย ย้ำว่า ประชาชนไม่ควรนำมาดื่มกิน หรือนำมาห้อยเหมือนเครื่องรางของขลัง เพราะจะทำให้ได้รับสารอันตรายได้

ด้าน นายนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์ อนุกรรมการยุทธศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ระบุว่า จะนำบัตรตัวอย่างไปตรวจสอบ คาดจะรู้ผลไม่นาน ซึ่งหากบริษัทดังกล่าว มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สถาบันฯ ก็สามารถที่จะเอาผิดตามกฎหมายได้ แต่ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกมากนัก หากใช้บัตรนี้จุ่มน้ำดื่มก็ควรหยุด เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายได้