ประเด็นน่าสนใจ
- ก่อนหน้านี้ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ได้ยื่นศาลขอให้ลบคลิป ‘ธนาธร’ ไลฟ์ตั้งคำถามเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
- วันนี้ ‘ธนาธร’ เดินทางมาที่ศาลเพื่อังคำไต่สวน
- โดยได้ส่งทนายยื่นขอคัดค้านไว้แล้ว ย้ำเรื่องวัคซีนเป็นเรื่องของทุกคนในประเทศ
วันนี้ ( 4 ก.พ. 64 ) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า พร้อมนายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ เดินทางมาที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เพื่อฟังการไต่สวนว่าศาลจะมีคำสั่งให้ปิดกั้น-ลบเนื้อหา กรณีไลฟ์การบริหารจัดการวัคซีนโควิด เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา หลังจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ DE ได้ส่งตัวแทนเข้าขอให้ศาลลบหรือปิดกั้นเนื้อหาดังกล่าว และนายธนาธร ได้ส่งทนายความยื่นขอคัดค้านไว้แล้ว ดังนั้น ศาลจึงนัดไต่สวนวันนี้
นายธนาธร ยืนยันว่า การตรวจสอบการบริหารจัดการเรื่องวัคซีนของรัฐบาล สามารถทำได้ จึงยืนยันในความบริสุทธิ์ของตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามต้องรอดูว่าศาลจะพิจารณาอย่างไร ตนไม่ขอกล่าวล่วง
ส่วนตัวมองว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือผลประโยชน์ของคนหมู่มากล้วนเป็นเรื่องของทุกคนในประเทศ เช่นเดียวกับสถาบันฯก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยดั้งนั้นการพูดถึงโดยสุจริตและหวังดีต่อสังคม ปราศจากความอาฆาตมาดร้ายเป็นสิ่งที่พลเมืองพึงกระทำ โดยเฉพาะการวิจารณ์รัฐบาลในประเด็นการจัดหาวัคซีนให้คนไทยนั้นตนทำด้วยความประสงค์ดี
ประเด็น ม.112
มองว่า ม.112 เมื่อเปรียบเทียบกับการปกครองระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญหรือประเทศอื่นที่ยังคงมีระบบกษัตริย์นั้น มาตราดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ทั้งยังมีอัตราโทษที่สูงเกินไป จวบกระทั่งตอนนี้รัฐบาลไทยยังไม่สามารถให้คำสัญญาที่มอบไว้กับประชาชนได้ ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนโดสของวัคซีน หรือความไม่ชัดเจนของกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนเป็นอันดับแรก
อีกทั้งเอกสารของทางการที่ระบุชัดเจนถึงความล่าช้าในการจัดหาจนสูญเสียเงินหลักแสนล้าน ซึ่งต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้านี้รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะฉีดวัคซีน 50% ให้คนไทย จนมาเปลี่ยนกลยุทธ์เมื่อไม่นานมานี้
สิ่งที่ตนอยากเห็นคือคำสัญญาที่ชัดเจนจากรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องความเป็นความตายของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มชายขอบหรือคนยากไร้ที่ขาดโอกาสทางสังคม
กรณี หมอวรงณ์ ยื่นเอาผิด ม.112
ส่วนกรณีที่นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับตนในคดีอาญามาตรา 112 จากกรณีเดียวกันนี้
นายธนาธร มองว่า เป็นเรื่องของกลุ่มไทยภักดี แต่ยืนยันว่า การแสดงความคิดเห็นโดยเสรีและสุจริตสามารถกระทำได้ ตามหลักสิทธิเสรีภาพและหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่ต้องมี free speed พร้อมย้ำถึง ตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้ของกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยเฉพาะบทกำหนดโทษที่สูงเกินไป ดังนั้น ตนและประชาชนจึงเห็นว่า ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ภาพ : กฤติกร จิตติอร่ามกูล