วินมอเตอร์ไซค์

เปิดรายได้และขั้นตอนการเป็น ‘วินมอเตอร์ไซค์’

‘วินมอเตอร์ไซด์’ หรือ ‘รถจักรยานยนต์สาธารณะ’ คือระบบขนส่งมวลชนของไทยที่ครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนมากที่สุด ซึ่งแม้วินมอเตอร์ไซค์จะมีรายได้ไม่แน่นอน แต่ก็เป็นอาชีพอิสระที่หลายคนอยากเข้ามาทำ รายได้และภาระ จากการเปิดเผยผลสำรวจ “สถานภาพผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์รับจ้าง” ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตทั่วประเทศมี…

Home / NEWS / เปิดรายได้และขั้นตอนการเป็น ‘วินมอเตอร์ไซค์’

ประเด็นน่าสนใจ

  • ผลสำรวจระบุว่า วินมอเตอร์ไซค์มีรายได้เฉลี่ย 24,370.25 บาทเดือน แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 11,633.64 บาทต่อเดือน
  • การขอจัดตั้งสถานที่ตั้งวินใหม่ใกล้เคียงกับวินที่มีอยู่เดิม ให้พิจารณาตามความจําเป็น และให้คํานึงถึงความสงบเรียบร้อย โดยให้มีระยะห่างจากสถานที่ตั้งวินเดิมตามความเหมาะสมด้วย

‘วินมอเตอร์ไซด์’ หรือ ‘รถจักรยานยนต์สาธารณะ’ คือระบบขนส่งมวลชนของไทยที่ครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนมากที่สุด ซึ่งแม้วินมอเตอร์ไซค์จะมีรายได้ไม่แน่นอน แต่ก็เป็นอาชีพอิสระที่หลายคนอยากเข้ามาทำ

รายได้และภาระ

จากการเปิดเผยผลสำรวจ “สถานภาพผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์รับจ้าง” ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า

ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตทั่วประเทศมี 185,303 ราย  

ปัญหาที่ผู้ใช้บริการพบมาก ได้แก่

  • การทะเลาะวิวาท แย่งลูกค้าระหว่างวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างกับ Grab bike
  • ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
  • บอกค่าโดยสารเกินควร
  • วินรถเถื่อนไม่มีใบอนุญาต
  • บริการไม่สุภาพ
  • จอดรถบนทางเท้ากีดขวางทางจราจร

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,243 รายพบว่า 70.06% ได้จดทะเบียนถูกต้องแล้ว และมีรถเป็นของตัวเอง  อายุเฉลี่ยของผู้ประกอบอาชีพนี้อยู่ที่ 39 ปี ทำอาชีพนี้มาแล้วเฉลี่ย 8 ปี

ในแต่ละเดือนต้องขี่รถเพื่อหารายได้ถึง 25วัน เฉลี่ยวันละ 41 เที่ยว เฉลี่ย 9 ชั่วโมงต่อวัน โดย 79.57% ยึดการขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นอาชีพหลัก เพียงอาชีพเดียว

โดยมีรายได้เฉลี่ย 974.81 บาทต่อวัน หรือ 24,370.25 บาทเดือน ทั้งนี้ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 11,633.64 บาทต่อเดือน โดย 3 อันดับแรก คือ ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนรถจักรยานยนต์ และค่าเช่าเสื้อ ทำให้เหลือรายได้ 12,736.61 บาท รายได้ดังกล่าวต้องนำไปดูแลสมาชิกครอบครัวเฉลี่ย 4 คน และเกือบทั้งหมดไม่มีขึ้นทะเบียนเข้ารับระบบสวัสดิการจากภาครัฐ

การขอจัดตั้งวินใหม่

กล่าวเฉพาะสำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ตาม “ประกาศคณะกรรมการประจํากรุงเทพมหานคร เรื่อง กําหนดสถานที่ตั้งวินและหลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรอง การใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561” ระบุว่า  

“วิน” หมายความว่า สถานที่รอรับคนโดยสารที่คณะอนุกรรมการประจํากรุงเทพมหานคร กําหนดให้ใช้เป็นที่รอรับคนโดยสาร

การขอจัดตั้งสถานที่ตั้งวินใหม่และขอหนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะให้ ‘ผู้แทนวิน’ ยื่นต่อ คณะอนุกรรมการประจํากรุงเทพมหานคร ณ สํานักงานเขต สังกัดกรุงเทพมหานครที่สถานที่ตั้งวินตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารดังต่อไปนี้

  1. แผนผังแสดงที่ตั้งสถานที่ตั้งวิน และแผนผังการจอดรถ
  2. รูปถ่ายบริเวณสถานที่ตั้งวิน และรูปถ่ายสถานที่จอดรถ
  3. หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้พื้นที่ในกรณีเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล
  4. บัญชีรายชื่อผู้ขับรถในสถานที่ตั้งวิน พร้อมด้วยภาพถ่ายใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
  5. ภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถซึ่งผู้ขับขี่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครองในกรณี ที่รถนั้นจดทะเบียนแล้ว หรือหลักฐานการได้มาของรถที่มีชื่อผู้ขับรถเป็นผู้ซื้อหรือเช่าซื้อ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกํากับภาษี สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ หนังสือรับรองการเช่าซื้อ เป็นต้น ในกรณีรถนั้นยังไม่ได้ จดทะเบียน
  6. เส้นทางหรือท้องที่ในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารและอัตราค่าโดยสาร

โดยกรณีขอจัดตั้งสถานที่ตั้งวินใหม่ คณะอนุกรรมการประจํากรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอํานาจพิจารณากําหนดสถานที่ตั้งวินตามความเหมาะสม ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • คํานึงถึงความจําเป็นต้องมีการใช้บริการ รถจักรยานยนต์สาธารณะ การขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นใกล้เคียง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และ ความปลอดภัยของคนเดินเท้าและผู้ใช้ทางเป็นสําคัญ
  • กรณีตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอม จากผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิใช้พื้นที่นั้น โดยทําเป็นหนังสือยินยอมให้ใช้พื้นที่
  • ในกรณีการขอจัดตั้งสถานที่ตั้งวินใหม่ใกล้เคียงกับวินที่มีอยู่เดิม ให้พิจารณาตามความจําเป็น เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการ และให้คํานึงถึงความสงบเรียบร้อย โดยให้มีระยะห่างจากสถานที่ตั้งวินเดิมตามความเหมาะสมด้วย

กรณีเพิ่มจำนวนผู้ขับขี่ในวินเดิม

การขอรับหนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะในวินที่จัดตั้งอยู่เดิม ให้ยื่นความประสงค์ ณ สํานักงานเขต สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่สถานที่ตั้งวินตั้งอยู่ตามแบบที่กําหนดท้ายประกาศ พร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้

  1. ภาพถ่ายใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ยังไม่สิ้นอายุ
  2. ภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถซึ่งผู้ขับขี่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครองในกรณี ที่รถนั้นจดทะเบียนแล้ว หรือหลักฐานการได้มาของรถที่มีชื่อผู้ขับรถเป็นผู้ซื้อหรือเช่าซื้อ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกํากับภาษี สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ หนังสือรับรองการเช่าซื้อ เป็นต้น ในกรณีรถนั้นยังไม่ได้ จดทะเบียน

หนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะให้ออกได้คนละ 1 คัน โดยให้มี อายุ ๑๒๐ วันนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง และให้ถือว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวจะจําหน่าย จ่าย โอน หรือให้สิทธิตกทอดแก่ทายาทไม่ได้ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องนํารถมา จดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้แล้วเสร็จภายในอายุหนังสือรับรอง

ผู้ได้รับหนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้นํารถไปจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะแล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  1. ไม่ให้บุคคลอื่นเช่า ซื้อ หรือดําเนินการอื่นใด เพื่อให้ผู้อื่นขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ของตนเพื่อการรับจ้าง หรือใช้เสื้อกั๊กหรือเสื้อคลุมที่มีหมายเลขประจําตัวของตนในการรับจ้าง
  2. ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะของตนเพื่อการรับจ้างติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในรอบระยะเวลา 1 ปี
  3. ไม่นํารถจักรยานยนต์สาธารณะของตนไปรับจ้างในสถานที่ตั้งวินอื่น ที่ตนเองไม่มีชื่ออยู่ ในบัญชีรายชื่อผู้ขับรถและท้องที่ในการรับจ้างคนโดยสารอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต

กรณีการถอดชื่อวิน

ให้คณะอนุกรรมการประจํากรุงเทพมหานครในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบถอดชื่อผู้ได้รับ หนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ออกจากบัญชีรายชื่อ ในสถานที่ตั้งวินที่ผู้นั้นขับรถอยู่ เมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น หรือ มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
  2. เลิกประกอบการอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
  3. ทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะเป็นอันระงับ
  4. ประพฤติตนไม่เหมาะสม เช่น เสพสุราหรือเล่นการพนันบริเวณสถานที่ตั้งวิน หรือมีผู้ขับ รถจักรยานยนต์สาธารณะตามที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อของวินนั้นจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร้องขอต่อ คณะอนุกรรมการประจํากรุงเทพมหานคร
  5. เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะได้