กทม. ทรู ท่อร้อยสายใต้ดิน ผูกขาดสัมปทาน

ประธาน TDRI ชี้ ‘ทรู’ คว้าสัมปทานท่อร้อยสายใต้ดิน กทม. 30 ปี คือปัญหาการผูกขาดใหม่ วงการโทรคมนาคม

สืบเนื่องจากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อเดือนมกราคม 2562 ให้กทม.เป็นเจ้าภาพดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดย กทม.ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจภายใต้กำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างและขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างและวางท่อร้อยสายเพื่อนำสายสื่อสารที่มีการพาดสายทั่วกรุงเทพฯ ลงใต้ดิน รวม 2,450 กิโลเมตร…

Home / NEWS / ประธาน TDRI ชี้ ‘ทรู’ คว้าสัมปทานท่อร้อยสายใต้ดิน กทม. 30 ปี คือปัญหาการผูกขาดใหม่ วงการโทรคมนาคม

ประเด็นน่าสนใจ

  • กทม. มีแผนที่จะย้ายสายเคเบิ้ลต่างๆ ลงไปอยู่ในท่อร้อยสายใต้ดินภายในปี 2564
  • บริษัท กรุงเทพธนาคม ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กทม. ได้ทำสัญญากับ บจ.ทรู อินเตอร์เน็ต คอปอเรชั่น ให้เป็นผู้รับเหมาบริการโครงข่ายท่อร้อยสายใต้ดินทั้งหมด โดยให้สิทธิผูกขาดรายเดียวเป็นเวลา 30 ปี
  • สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI ระบุว่า การผูกขาดนี้จะเพิ่มภาระให้แก่ผู้บริโภค ทั้งประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

สืบเนื่องจากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อเดือนมกราคม 2562 ให้กทม.เป็นเจ้าภาพดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

โดย กทม.ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจภายใต้กำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างและขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างและวางท่อร้อยสายเพื่อนำสายสื่อสารที่มีการพาดสายทั่วกรุงเทพฯ ลงใต้ดิน รวม 2,450 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 2 ปี โดยไม่กระทบผิวจราจร รวมมูลค่าโครงการรวมกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ

การคัดเลือกผู้ประกอบการมาบริหารจัดการ หลังเปิดให้ผู้ประกอบการทุกรายที่มีใบอนุญาตจาก กสทช. ยื่นข้อเสนอ มี บจ.ทรู อินเตอร์เน็ต คอปอเรชั่น ยื่นรายเดียวและผ่านการพิจารณาแล้ว ระยะเวลาเช่าจะให้สูงสุด 30 ปี ต่อได้อีก 15 ปี

กรณีนี้ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัว (20 มิ.ย. 2562) ระบุว่า ปัญหาการผูกขาดใหม่กำลังจะเกิดขึ้นในวงการโทรคมนาคมไทย เพิ่มเติมจากการผูกขาดที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน เพิ่มภาระให้แก่ผู้บริโภค ทั้งประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

โดยความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น ผู้ประกอบการที่ได้สิทธิผูกขาดท่อร้อยสายอาจกีดกันผู้ประกอบการรายอื่นที่เป็นคู่แข่งของตนในตลาดโทรคมนาคมไม่ให้สามารถใช้ท่อได้ โดยอ้างเหตุต่างๆ ทางเทคนิค เช่น สัญญาณรบกวนกัน หรือให้ใช้ได้ แต่คิดค่าบริการแพงๆ หรือให้บริการช้าๆ หรือทำให้สายของคู่แข่งเสียบ่อยๆ จนไม่สามารถแข่งขันได้

ซึ่งแต่เดิมเรื่องนี้ไม่มีปัญหา เพราะผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้งหลายสามารถปักเสาสื่อสารเอง หรือพาดสายของตนบนเสาไฟฟ้าได้ แต่เรื่องที่เคยทำกันได้มานานกำลังจะกลายเป็นปัญหาในไม่ช้า เพราะเมื่อมีท่อร้อยสายใต้ดินแล้ว กทม. ก็จะห้ามพาดสายในที่สาธารณะ โดยอ้างเหตุผลด้านความสะอาดและความเป็นระเบียบ ตามกฎหมายรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืนก็จะมีโทษทางกฎหมาย และถูกสั่งให้รื้อถอนได้

การดำเนินการของ กทม. ดังกล่าวมาข้างต้นจะสร้างปัญหาด้วย 2 เหตุผลคือ

1. เป็นการโอนการผูกขาดของรัฐไปให้แก่เอกชน โดยเป็นการโอน 2 ต่อ ต่อแรกคือ โอนจาก กทม. ไปให้กรุงเทพธนาคมที่เป็นบริษัทลูกที่แสวงหาผลกำไร ต่อที่สองคือ โอนจากกรุงเทพธนาคมไปให้แก่เอกชนอีกที ซึ่งเอกชนย่อมมีแรงจูงใจในการทำกำไรมากกว่ารัฐ จะทำให้เกิดการคิดบริการที่แพงกว่า ยิ่งการโอนสิทธิผูกขาดสองต่อ ก็จะยิ่งทำให้มีการบวกกำไรที่สูง 2 ครั้ง ราคาค่าบริการก็จะยิ่งแพงขึ้น

2. เอกชนที่ได้สิทธิผูกขาดยังเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งแข่งกับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายอื่นๆ ด้วย จึงเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันของผู้ประกอบการรายอื่น

ทั้งนี้ในความเห็นของตน เรื่องนี้มีทางออกคือ กทม. ควรเป็นผู้ให้บริการท่อร้อยสาย พร้อมไฟเบอร์เอง และให้เอกชนแต่ละรายสามารถมาเช่าใช้ได้อย่างเสมอภาค ในราคาที่เหมาะสม คือสอดคล้องกับต้นทุน ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช.

อ่านข้อความฉบับเต็ม >>

https://www.facebook.com/somkiat.tangkitvanich/posts/10219817281524912