ประเด็นน่าสนใจ
- โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงกรณีที่ คสช.กรณีปกปิดกรรมการสรรหา ส.ว. ซึ่งอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของ สว.รวมถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้เป็นโมฆะ
- เพื่อไทยซัดพรรคการเมืองที่ไร้สัจจะ เข้าร่วมเป็นรัฐบาลและสนับสนุนพลเอกประยุทธ์หัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี
- โฆษกพรรคเพื่อไทยหวังว่านายชวน หลีกภัย จะเป็นผู้นำในสภาโดยปราศจากเหตุการณ์จลาจล
วันที่ 21 มิ.ย. 2562 ที่ทำการพรรคเพื่อไทย นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายชุมสาย ศรียาภัย รองโฆษกพรรคฯ แถลงข่าวเรื่องความรับผิดชอบทางกฎหมายและทางการเมือง ของ คสช.กรณีปกปิดกรรมการสรรหา ส.ว.
ประเด็นการสรรหา สว.
ทั้งนี้นางลดาวัลลิ์ระบุว่าตลอด 5 ปี ที่ คสช.เข้ามาควบคุมอำนาจทางการเมือง ทำให้การเมืองไทยได้ถอยหลังเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา แต่ประชาธิปไตยยังไม่มีอนาคตว่าจะพัฒนาไปข้างหน้าได้ เนื่องจากรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ กำลังสืบทอดอำนาจเผด็จการ คสช. ต่อไปอย่างน้อย 5 ปี โดยมีวุฒิสมาชิกที่ตนเองแต่งตั้งมา เป็นเครื่องมือค้ำบัลลังก์อำนาจให้แก่ตนเอง
นอกจากนี้นางลดาวัลลิ์ ยังระบุว่า หลังจากที่มีการแต่งตั้ง สว.จำนวน 250 คน แต่กลับมีการปกปิดคำสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา สว. ไม่นำคำสั่งเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ทั้งยังไม่มีการเปิดเผยกระบวนการสรรหา สว. ส่งว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจทำให้การสรรหา สว.เป็นโมฆะ (ไม่มีผลใด ๆ ตามกฎหมาย)
ทั้งนี้นายชุมสาย ศรียาภัย รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่าว่าตนยังเห็นว่ากระบวนการสรรหา สว. ที่มีคณะกรรมการสรรหาเป็น คสช.ตามที่เป็นข่าวนั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญค่อนข้างชัดแจ้ง ส่งผลให้ สถานะของ สว.ตลอดจน การกระทำที่จะมีผลต่อไป เป็นโมฆะ
รวมถึงการโหวตเห็นชอบให้พลเอกประยุทธ์ฯ เป็นนายก ก็ต้องถือว่าไม่มีผลใดๆ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หลังจากนี้หากมีการนำประเด็นนี้ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นพ้องด้วยอาจจะพังและยุ่งเหยิงกันทั้งาระบบ เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา210(2) ส่วนตัวเชื่อว่า ในที่สุดแล้ว เมื่อสิ้น ม.44 ซึ่งทำให้อำนาจเผด็จการอ่อนกำลังลง กระบวนการยุติธรรมไทยทั้งระบบ จะต้องรักษาบ้านเมืองเอาไว้อีกครั้ง นายชุมสายกล่าว
ส่วนกระบวนการสรรหาส.ว. ที่ดำเนินการอย่างปกปิดและผิดทำนองคลองธรรม ทั้งๆที่ส.ว.เป็นผู้แทนปวงชาวไทย เข้ามาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ไม่ใช่ทำแบบเด็กเล่น คณะกรรมการสรรหาส.ว.ที่นำโดยพลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ จะต้องรับผิดชอบโดยอาจจะต้องเผชิญทั้งทางกฏหมายและทางการเมือง ความเสียหายที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ
อย่างไรก็ตาม กระบวนการสรรหาส.ว. ที่อาจจะเกี่ยวพันคดีทุจริต ประวัติด่างพร้อย มีมลทิน หลายคน เข้ามาเป็นส.ว. ซึ่ง เรื่องนี้ จะได้ถูกตรวจสอบ และเปิดเผยให้สังคมได้รับทราบต่อไป ถ้าหากนายชวน ไม่บรรจุญัตติ การสรรหา สว.ไม่ชอบ อาจจะเป็นการ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ม.157
เพื่อไทยฝากถึง ‘ชวนหลีกภัย’
“เราจะเป็นแบบอย่างของสภานิติบัญญัติในยุคที่การเมืองพัฒนามาถึงขนาดนี้ เราได้เป็นประชาธิปไตยมาเกือบ 90 ปี เราจะให้ประชาธิปไตยถอยหลังเป็นสิ่งที่ไม่ควร ต้องเดินไปข้างหน้าในสิ่งที่ดีขึ้น” ชวน หลีกภัย
จากคำกล่าวของนายชวน หลีกภัย ที่กล่าวในระหว่างงานสัมมนา ส.ส.ทั้ง 500 คน เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2562 ซึ่งนางลดาวัลลิ์ชี้ว่า ฟังคำพูดประโยคเหล่านี้แล้วถ้ามองอย่างผิวเผินก็จะรู้สึกว่านายชวนพูดดี แต่เมื่อมาดูสภาพการเมืองในปัจจุบันที่พรรคไร้สัจจะเข้าร่วมเป็นรัฐบาลและสนับสนุนพลเอกประยุทธ์หัวหน้า คสช.เป็นนายกมนตรีโดยนายชวนเป็นประธานสภาฯ และเป็นประธานรัฐสภาอีกตำแหน่ง
ประเด็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ประธานสภา
พร้อมกันนี้นางลดาวัลลิ์ ยอมรับว่า มีส.ส.จำนวนหนึ่งที่ปฏิบัติตนนอกลู่นอกทางเป็นเรื่องที่แต่ละพรรคจะต้องพัฒนาและคอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ส.ส.จะได้รับคำชื่นชมนอกจากแก้ไขปัญหาของชาวบ้านได้อย่างแท้จริงแล้ว การทำหน้าที่ในสภาฯซึ่งมีทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลก็จะต้องแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสถาบันนิติบัญญัติ
ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยหวังว่ารัฐสภาที่มีนายชวน หลีกภัยเป็นผู้นำสูงสุดจะไม่เกิดเหตุการณ์จลาจลที่ ส.ส.ก่อเหตุเลวร้ายขว้างปาแฟ้มเอกสารเศษกระดาษเกลื่อนห้องประชุม ตะโกนลั่น ด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย ดึงแขน ลากเก้าอี้ประธานสภาฯกระแทก บีบคอเพื่อนส.ส.ด้วยกัน โดยไม่แยแสต่อสายตาประชาชนและสื่อมวลชนที่บันทึกภาพเหตุการณ์เอาไว้ ซึ่งเป็นความอัปยศของสภาฯไทยที่ไม่อาจลบเลือนได้