กลางวันยาวกว่ากลางคืน วันครีษมายัน

วันครีษมายัน กลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ปีนี้ตรงกับวันที่ 21 มิ.ย. 66

วันครีษมายัน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 21 มิถุนายน 2566  เป็นวัน “ครีษมายัน” เวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี…

Home / NEWS / วันครีษมายัน กลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ปีนี้ตรงกับวันที่ 21 มิ.ย. 66

วันครีษมายัน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 21 มิถุนายน 2566  เป็นวัน “ครีษมายัน” เวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกใต้

สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า 12 ชั่วโมง 56 นาที  (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร)

ทั้งนี้ ในรอบ 1 ปี ได้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ทั้งหมด 4 ปรากฏการณ์ด้วยกัน ได้แก่

  • วันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา คือ วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) ที่เวลากลางวันจะเท่ากับกลางคืนพอดี (ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง)
  • วันที่ 21 มิ.ย. คือ วันครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) ที่เวลากลางวันยาวที่สุด และเวลากลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี หรือวันที่เรากำลังพูดถึงอยู่นั่นเอง (ประเทศทางซีกโลกเหนือเริ่มต้นฤดูร้อน ส่วนซีกโลกใต้เริ่มต้นฤดูหนาว)
  • วันที่ 23 ก.ย. คือ วันศารทวิษุวัต (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) ที่เวลากลางวันจะเท่ากับกลางคืนพอดี(ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ)
  • วันที่ 22 ธ.ค. คือ วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) ที่เวลากลางวันสั้นที่สุด และกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” (ประเทศทางซีกโลกเหนือเริ่มต้นฤดูหนาว ส่วนซีกโลกใต้เริ่มต้นฤดูร้อน)