ขอยืมเงิน หลอกลวง

อ้างเป็น พัฒนาการอำเภอ ยืมเงินผู้ว่าฯ ผ่านไลน์ แต่ผู้ว่าฯ รู้ทัน โพสต์เตือนประชาชน

วานนี้ (21 มิ.ย. ) นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าฯ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้โพสต์ข้อความเตือนว่า มีการแอบอ้างเป็นพัฒนาการอำเภอร้องคำ และขอยืมเงิน จำนวน 14,500 บาท ซึ่งทางท่านผู้ว่าฯ…

Home / NEWS / อ้างเป็น พัฒนาการอำเภอ ยืมเงินผู้ว่าฯ ผ่านไลน์ แต่ผู้ว่าฯ รู้ทัน โพสต์เตือนประชาชน

ประเด็นน่าสนใจ

  • ผู้ว่าฯ กาฬสินธุ์ โพสต์เฟซบุ้กส่วนตัว เตือนประชาชนให้ระวังการแอบอ้างยืมเงิน
  • มีไลน์ขอเป็นเพื่อนและอ้างตัวเป็น พัฒนาการอำเภอร้องคำ ขอยืมเงิน

วานนี้ (21 มิ.ย. ) นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าฯ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้โพสต์ข้อความเตือนว่า มีการแอบอ้างเป็นพัฒนาการอำเภอร้องคำ และขอยืมเงิน จำนวน 14,500 บาท ซึ่งทางท่านผู้ว่าฯ ไม่หลงกล ได้สอบถามเลขบัญชีกลับ พร้อมคำถาม “ทำไมยืมน้อยจัง” คาดว่า คนร้ายไหวตัวทัน จึงไม่ยอมส่งเลขบัญชีกลับมาให้

นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่แจ้งเข้ามาอีกหลายรายว่า มีการแอดไลน์ ขอยืมเงินในลักษณะนี้ อีกจำนวนหลายราย โดยเน้นในกลุ่มของเจ้าหน้าที่ ประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอร้องคำ

สำหรับในกรณีนี้ หากใครเป็นผู้เสียหาย ให้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีได้ทันที

>> ไม่รอด แท็กซี่ปลอมไอดีไลน์ บิ๊กโจ้ก เรียกเงินซื้อขายตำแหน่ง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2454581854594666&set=a.528210260565178&type=3

ปลอมไอดีไลน์ ทำไม่ยาก แนะนำให้รู้เท่าทัน ไม่ชัวร์ไม่โอน

สำหรับหลอกลวงในรูปแบบนี้ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ โดยอาศัยการปลอมไอดีไลน์ ในในรูปแบบนี้ ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนภาพ โดยใช้ข้อมูลที่หาได้จากโซเซียลเพื่อตรวจสอบหาข้อมูลว่า ส่วนบุคคล ที่แชร์กันในโซเซียลมีเดีย จากนั้นก็ทำการปลอมบัญชี ก่อนขอแอดเป็นเพื่อนโดยสุ่มเลือกจากที่มีข้อมูล และดูน่าจะมีเงิน

หลังจากนั้นจะขอแอดไลน์ ทักมาในรูปแบบของการขอยืมเงิน โดยอ้างเหตุต่างๆ เช่น เกิดอุบัติเหตุ ต้องใช้เงินด่วน, กระเป๋าเงินหาย กดเงินไม่ได้ ต้องใช้บัญชีคนอื่นกดแทนก่อน, มีเรื่องเดือดร้อน อยู่ต่างประเทศ จะฝากคนอื่นกดเงินให้ ฯลฯ

ในการป้องกันตัว ในการหลอกลวงในรูปแบบนี้ ทำได้โดย

  1. หากมีการแชท หรือไลน์ ขอยืมเงิน อย่ารีบร้อน โอนเงินให้ ควรให้มีการโทรคุยกัน หรือเปิดวิดีโอคอลสอบถามให้แน่ชัด
  2. ขอเลขบัญชีบัญชีธนาคาร เพื่อมาตรวจสอบให้แน่ใจว่า ชื่อ-นามสกุลตรงกับผู้ที่เราจะโอนให้ โดยไม่โอนเงินผ่านช่องทางอื่นที่ตรวจสอบไม่ได้ หรือตรวจสอบได้ยาก
  3. อาจทดลองโอนยอดน้อยๆ เช่น 1-10 บาท ก่อน เพื่อดูข้อมูลชื่อบัญชี-เลขบัญชีว่า เป็นของใครกันแน่ เพราะหากเป็นคนร้าย ส่วนใหญ่แล้วชื่อจะไม่ตรงกันกับผู้ขอยืม
  4. เมื่อพบว่า เป็นการหลอกลวง แนะนำให้ดำเนินการแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันไว้ก่อน เนื่องจากอาจจะมีคนอื่นที่ถูกหลอกในลักษณะเดียวกันได้
  5. งด-หลีกเลี่ยง การโพสต์เบอร์โทรส่วนตัวบนโลกโซเซียล ช่วยให้คนร้ายไม่สามารถตรวจหาเบอร์โทรศัพท์ มาใช้แอดไลน์ของเราได้

ซึ่งวิธีการเหล่านี้ ช่วยป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพแล้ว ในกรณีที่มีการยืมเงินกันจริง ก็ยังเป็นหลักฐานในการกู้ยืมได้อีกด้วย

>> ปอท.เตือนภัยหลอกโอนเงินออนไลน์ ท่องคาถาตั้งสติก่อนโอน