เครนถล่ม

อัสสัมชัญคอนแวนต์ ย้ายสถานที่เรียน ม.3-6 ชั่วคราว ปรับสภาพจิตใจ-สิ่งแวดล้อม

กรมสุขภาพจิต เตรียมส่งทีมลงพื้นที่เยียวยาดูแลจิตใจ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ขณะที่โรงเรียนเตรียมย้ายสถานที่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 ชั่วคราว เพื่อปรับสภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ประกาศผ่านเฟสบุ๊กโรงเรียนว่า คณะกรรมการบริหารโรงเรียน แจ้งย้ายสถานที่เรียนชั่วคราว โดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่…

Home / NEWS / อัสสัมชัญคอนแวนต์ ย้ายสถานที่เรียน ม.3-6 ชั่วคราว ปรับสภาพจิตใจ-สิ่งแวดล้อม

กรมสุขภาพจิต เตรียมส่งทีมลงพื้นที่เยียวยาดูแลจิตใจ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ขณะที่โรงเรียนเตรียมย้ายสถานที่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 ชั่วคราว เพื่อปรับสภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อม

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ประกาศผ่านเฟสบุ๊กโรงเรียนว่า คณะกรรมการบริหารโรงเรียน แจ้งย้ายสถานที่เรียนชั่วคราว โดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 ไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ บริเวณหลังโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เขตสาทร ซึ่งมีอาคารและห้องเรียนที่พร้อมทำการเรียนการสอน เพื่อปรับสภาพจิตใจ และเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้กับนักเรียน จนกว่าจะมั่นใจว่าปลอดภัย รวมทั้ง นักเรียนได้รับการปรับสภาพจิตใจ จึงจะกลับมาเรียนที่เดิม

ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ให้เรียนที่อาคาร 1 หรือ อาคาร 100 ปีตามเดิม ระหว่างนี้ โรงเรียนอยู่ระหว่างซ่อมแซมหลังคาอาคาร เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างมีความมั่นคง ปลอดภัย โดยมีวิศวกรของสภาวิศวกรแห่งประเทศไทย เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งโรงเรียนคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของนักเรียน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โรงเรียนรู้สึกเสียใจ และพยายามแก้ไขทุกทางเพื่อเยียวยารักษานักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งให้นักเรียนทุกคนกลับมาเรียนได้โดยเร็วที่สุด โดยจะเริ่มการเรียนการสอนตามปกติในวันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2562

ด้านนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต เตรียมส่งทีมสุขภาพจิตเอ็มแคท ประกอบด้วย สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 ร่วมออกหน่วยลงพื้นที่กับศูนย์บริการสาธารณสุข ตรวจสุขภาพจิต คัดกรองความเครียด ให้คำปรึกษา พูดคุยให้กำลังใจ เพื่อดูแลเยียวยาจิตใจนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบสามารถดูแลสุขภาพจิตตัวเองได้หลังเกิดเหตุ
หากพบกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง จะให้พูดคุยกับจิตแพทย์ หรือ พยาบาลจิตเวชโดยตรง ซึ่งจะมีแผนการดูแลเฉพาะกลุ่มเสี่ยงนี้ โดยจะเฝ้าระวังดูแลปัญหาสุขภาพจิต และส่งต่อการรักษาให้หน่วยที่รับผิดชอบต่อไป