ปมการจัดการวัคซีนล่าช้า
- ยืนยัน ไทยได้มีการจัดหาวัคซีนตั้งแต่เริ่มต้นโดยตลอด ย้ำว่า ในขณะที่เริ่มต้นนั้น ยังไม่มีวัคซีนตัวใด เป็นช่วงเริ่มต้น เป้าคือ จัดหากให้ได้ 50% ของประชากร ในปี 2564
- สนับสนุนให้มีการทำวัคซีนในประเทศ ควบคู่กับการสั่งซื้อทั้งวัคซีนร่วมกับเทคโนโลยีในการผลิต
- ในวันที่ดำเนินการเมื่อปี 63 ยังคงไม่มีข้อมูลใด ๆ มีความไม่แน่นอนอย่างมาก
- การจัดหามีเจรจาหลายบริษัท ในหลายกรณี ไม่ได้แจ้งต่อ ปชช. เนื่องจากเป็นข้อจำกัด/ข้อตกลงระหว่างกัน ที่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ
- การจัดหานั้น อาจจะมีความล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย เนื่องจากต้องพิจารณาความเป็นไปได้กับทางวัคซีน
โดยปรกติวัคซีนจะใช้เวลาการพัฒนากว่า 10 ปี ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นจึงถือว่า ค่อนข้างเร็ว เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 ไม่เคยมีมาก่อนเหมือนวัคซีนอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ แต่เร็วเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องควบคู่กับความปลอดภัยอีกด้วย
ส่วนในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นการจองซื้อตั้งแต่เมื่อยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย จึงมีโอกาสได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก ๆ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีงบประมาณจำกัด ดังนั้นการตัดสินจึงต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จเร็วที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด และปลอดภัยที่สุด จึงอาจจะต้องใช้เวลาไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ล่าช้าแต่อย่างใด
ปมที่ต้องเลือกสยามไบโอซน์
- ทาง AstraZeneca เป็นผู้คัดเลือกผู้รับผลิตวัคซีน ซึ่งมีการพิจารณาศักยภาพของการผลิต ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบ Viral Vactor รวมถึงปริมาณการผลิตปีละ 200 ล้านโดส
- แม้กระทั่งองค์การเภสัชกรรมก็ยังไม่สามารถเพิ่มกำลังผลิตได้
- และท้ายที่สุด AstraZeneca ได้เป็นผู้คัดเลือกสยามไบโอไซน์ เป็นผู้ผลิตวัคซีน
- นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่อยากได้ในข้อตกลงแบบเดียวกับที่ประเทศไทยได้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี – กำลังผลิต ทำให้ AstraZeneca เลือกสยามไบโอไซน์
เพราะสยามไบโอไซน์ นั้นได้รับวัคซีนต้นแบบมาเพียง 1 CC. พร้อมเทคโนโลยี เพื่อขยายกำลังผลิตให้ได้เพียงพอ 200 ล้านโดสต่อไป ดังนั้นย้ำว่า ประเทศไทยมีความสามารถผลิตวัคซีนได้อย่างเพียงพอ แต่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการใช้กรณีเร่งด่วน จึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
การเร่งรีบ เร่งด่วนจนเกินไป อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ซึ่งในขณะนี้ ก็มีรายงานผลกระทบ – ผลข้างเคียง มาบ้างแล้ว ดังนั้นหากการเร่งรีบมากเกินไป จะทำให้ส่งผลเสียงต่อความเชื่อมั่นในการใช้งานอย่างมาก
และในขณะนี้เองทางเจ้าหน้าที่ก็เร่งทำงานกันตลอดเวลา เพื่อให้สามารถเร่งการผลิต และแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนให้ได้อย่างเร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้คนไทยได้รับวัคซีนโควิด-19 ทันเวลา และทั่วถึงอย่างแน่นอน
กรณีการขาดทุนของสยามไบโอไซน์
อีกทั้งการผลิตวัคซีนนั้น การลงทุนที่จะต้องทดสอบ ค้นคว้าวิจัย เป็นการลงทุนล่วงหน้า จึง ดังนั้นการขาดทุนที่เกิดขึ้นกับสยามไบโอไซน์จึงเป็นเรื่องปรกติที่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นขาดทุนเพื่อได้กำไรกับประชาชน
ในขณะเดียวกัน ข้อตกลงในการรับทุนจากรัฐบาล ทางบริษัทสยามไบโอไซน์ จะส่งมอบวัคซีนคืนให้กับรัฐบาล เทียบเท่ากับการเงินทุนที่ได้รับจากรัฐบาล ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อไม่ให้เป็นข้อครหา
อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สยามไบโอไซน์เอง ก็ยังมีการสนับสนุนน้ำยาตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้กับรัฐบาลมาโดยตลอด และในปริมาณมาก ๆ
การถ่ายทอดวัคซีนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
สำหรับการที่ AstraZenca ให้สยามไบโอไซน์ ผลิตโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเป็นนโยบายของ Oxford ที่ระบุถึง No profits, No loss หรือไม่กำไร แต่ต้องไม่ขาดทุน
ดังนั้นค่าวัคซีนที่เกิดขึ้น การจำหน่ายที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นการผลิตและจำหน่าย โดยที่ไม่ได้บวกกำไร จึงเรียกได้ว่า เป็นการจำหน่ายในราคาต้นทุนอย่างแท้จริง คือราคาต่อเข็ม หรือต่อโดสนั้น อยู่ที่ประมาณ 5 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 150 บาท เมื่อเทียบกับวัคซีนโควิด-19 ในบริษัทอื่น ๆ ที่มีการฉีดกันอยู่ในขณะนี้ ที่สูงถึง 19 เหรียญต่อโดส
ย้ำว่า สิ่งนี้เป็นข้อกำหนดของทาง Oxford/AstraZeneca คือ No Profits, No Loss
การเจรจา ยังมีอีกหลายบริษัท
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเจรจากับบริษัทอื่น ๆ นั้น มีอยู่ ซึ่งในขณะนี้เอง ก็ได้มีการเจรจากับอีก 4 บริษัทด้วยกัน แต่ทั้งนี้จะต้องมีเอกสารยืนยัน รับรองความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยาเสียก่อน
ทั้ง 4 บริษัทที่มีการเจรจาอยู่ในขณะนี้ ก็ได้มีการส่งเอกสาร รายงานการทดสอบต่าง ๆ เข้ามาให้กับทางอย. พิจารณาแล้ว ซึ่งก็อยู่ในระหว่างการตรวจสอบ พิจารณาเอกสาร รายงานการทดสอบต่าง ๆ อยู่
ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย และความมั่นใจว่า คนไทยจะได้รับวัคซีนที่ปลอดภัย ทั่วถึง และในราคาที่สมเหตุสมผล