นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม นายธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจ อาเซียน

หมอวรงค์ สวน “ทำลายหลักการอาเซียน” หลังธนาธรโพสต์โชว์วิสัยทัศน์

หลังจากที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้โพสต์เฟซบุ้กส่วนตัวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียน ล่าสุดเช้าวันนี้ (24 มิ.ย. ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้โพสต์ตอบโต้ในประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า เป็นการ “ทำลายหลักการอาเซียน” พร้อมกล่าวว่า…

Home / NEWS / หมอวรงค์ สวน “ทำลายหลักการอาเซียน” หลังธนาธรโพสต์โชว์วิสัยทัศน์

ประเด็นน่าสนใจ

  • นายแพทย์ วรงค์ ได้แสดงความคิดเห็นตอบโต้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจในประเด็นวิสัยทัศน์อาเซียน
  • ระบุว่า เป็นการทำลายหลักการอาเซียน
  • กฎบัตรอาเซียนมีระบุอยู่แล้ว ไม่ก้าวก่าย ไม่แทรกแซง ยึดมั่นประชาธิปไตย

หลังจากที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้โพสต์เฟซบุ้กส่วนตัวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียน ล่าสุดเช้าวันนี้ (24 มิ.ย. ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้โพสต์ตอบโต้ในประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า เป็นการ “ทำลายหลักการอาเซียน” พร้อมกล่าวว่า ไม่แน่ใจว่านายธนาธร ทำการบ้านมาก่อนหรือไม่?

โดย นพ.วรงค์ ได้กล่าวว่า ทั้ง 2 ประเด็นคือ เรื่อง การเรียกร้องให้อาเซียนก้าวข้ามการแทรกแซงกิจการภายในชาติ และแนวคิดประชาธิปไตย คือหนทางกินดีอยู่ดี นั่นต้องเข้าใจพื้นฐานของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศก่อนว่า ทั้งหมด ได้ยอมรับ กฎบัตรอาเซียน ตั้งแต่เมื่อเดือน ธันวาคม 2551 หรือเมื่อราว 10 กว่าปีที่ผ่านมาแล้ว

โดยหลักการที่ไม่แทรกแซงกันเป็นหลักการที่ยึดกันมานานแล้ว พร้อมกับหลักการช่วยเหลือกัน ที่มีการเขียนไว้ชัดเจน

ส่วนในประเด็นของการสถาปนาประชาธิปไตยนั้น นพ.วรงค์ได้อ้างถึง สิงคโปร์ ที่มีการออกกฎหมายซึ่งจำกัดสิทธิ เสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาล ร่วมถึงล่าสุด ออกกฎหมายต่อต้านข่าวเท็จ ( Anti-Fake News Law) แต่ก็ยังคงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีเวียดนาม ลาว บรูไน และยิ่งไปกว่านั้น จีน คู่เจรจารายใหญ่อีกด้วย

ก่อนหมอวรงค์จะปิดท้ายด้วยว่า การที่พูดดังกล่าวของนายธนาธรนั้น ควรเก็บไว้ก่อนจะดีกว่า เพราะอาจจะทำให้อาเซียนยิ่งแตกแยกกันเข้าไปอีก เหมือนที่กับที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย

https://www.facebook.com/therealwarong/photos/a.1635500953387616/2347968012140903/?type=3&theater

รู้จัก “กฎบัตรอาเซียน”

สำหรับกฎบัตรอาเซียน เปรียบได้กับรัฐธรรมนูญของอาเซียน ที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล โดยมีการวางกรอบกฎหมาย โครงสร้างต่างๆ ขององค์กร ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกทั้งหมด

โดยกฎบัตรอาเซียนนั้น ได้มีการลงนามรองรับกฎบัตรดังกล่าวนี้ เมื่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศได้มีการให้สัตยาบันกฎบัตรเอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศ เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2551 ทำให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นมา

หลักการของกฎบัตรอาเซียน ระบุถึงการไม่แทรกแซง และสนับสนุนประชาธิปไตย
(ที่มา – กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กระทรวงต่างประเทศ)

ซึ่งกฎบัตรอาเซียน ได้มีการระบุถึงหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกตั้องหารือกันแก้ไขปัญหาร่วมมกัน ในกรณีที่เกิดปัญหาและกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของอาเซียน