ข่าวนายกรัฐมนตรี ข่าวสดวันนี้ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ศาลปกครองสูงสุด

ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำร้อง คสช. ตั้ง กก.สรรหา ส.ว.มิชอบ

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (25 มิ.ย.2562) ศาลปกครองสูงสุด ได้มีการอ่านคำพิจารณา ในคดีที่คณะราษฎรไทยแห่งชาติ ได้ยื่นให้มีการยื่นร้องศาลปกครองกลางให้มีการตรวจสอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในข้อหาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา…

Home / NEWS / ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำร้อง คสช. ตั้ง กก.สรรหา ส.ว.มิชอบ

ประเด็นน่าสนใจ

  • ศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำร้อง บิ๊กตู่ – คสช. ตั้งกรรมการสรรหา ส.ว.โดยมิชอบ
  • คำสั่งตั้งกรรมการสรรหา ส.ว. ของ บิ๊กตู่ – คสช. เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อหาคนทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (25 มิ.ย.2562) ศาลปกครองสูงสุด ได้มีการอ่านคำพิจารณา ในคดีที่คณะราษฎรไทยแห่งชาติ ได้ยื่นให้มีการยื่นร้องศาลปกครองกลางให้มีการตรวจสอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในข้อหาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำสั่งตั้งกรรมการสรรหา ส.ว. ของ นายกฯ -คสช. เป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

ซึ่งจากการพิจารณาจากพยานและหลักฐานแล้ว ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง คือ ไม่รับฟ้องในคดีโดยให้เหตุผลว่า การกระทำของผู้ถูกร้อง เป็นไปตามกฎหมายของรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ. 2557 ที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยตรง เพื่อสรรหาบุคคลไปทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ

มิใช่เป็นเรื่องของการใช้อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครอง ศาลปกครองจึงไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้ตาม มาตรา 197 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 ดังนั้นให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

ส่วนคำร้องขอที่ว่า ให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยว่าการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว ขัดต่อมาตรา 58 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น เรื่องนี้ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะศาลปกครองไม่ได้รับคำฟ้องในคดี จึงไม่จำเป็นดำเนินการตามคำขอของผู้ร้องแต่อย่างใด

คณะราษฎรไทยแห่งชาติ เล็งยื่นเรื่องถึง UN-EU

ทั้งนี้จากคำตัดสินดังกล่าว ทางคณะราษฎรไทยแห่งชาติผู้ร้องเรียนเรื่องเตรียมยื่นเรื่องให้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) และสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อให้รู้ว่าตัวแทนปวงชนชาวไทยที่ทำหน้าที่ในสภาไม่ได้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง แม้การดำเนินการตามกระบวนกฎหมายในฐานะประชาชนเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม

อนึ่งคดีนี้เกิดขึ้น หลังจากคณะราษฎรไทยแห่งชาติ เห็นว่า คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของนายกรัฐมนตรี และ คสช. เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากมีการแต่งตั้งบุคคล ซึ่งไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นประชาชนชาวไทยได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงได้ยื่นคำร้องให้ศาลได้พิจารณาดังกล่าว