ดาราศาสตร์ ฝนดาวตก ฝนดาวตกอควอริดส์ ฝนดาวตกอีต้า สดร. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

สดร. ชวนชมฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ 7 พ.ค. นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม “ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์” วันที่ 7 พ.ค. 62 เวลาประมาณตี 2 เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 40 ดวงต่อชั่วโมง วันนี้…

Home / NEWS / สดร. ชวนชมฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ 7 พ.ค. นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม “ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์” วันที่ 7 พ.ค. 62 เวลาประมาณตี 2 เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 40 ดวงต่อชั่วโมง

วันนี้ (3 เม.ย.62) นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า “ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์” เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่  19 เมษายน – 28 พฤษภาคมของทุกปี สำหรับปีนี้คาดว่าจะมีอัตราตกสูงสุดในคืนวันที่ 6 พฤษภาคม 2562 จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 7 พฤษภาคม 2562

แต่เนื่องจากในช่วงหัวค่ำ ศูนย์กลางการกระจายตัวในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้า ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ จะสามารถสังเกตการณ์ได้ ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ไปจนถึงรุ่งเช้า ทางทิศตะวันออก บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ประกอบกับคืนดังกล่าวไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์เป็นอย่างยิ่ง ผู้สนใจสามารถรอชมความสวยงามของปรากฏการณ์ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ได้ในคืนดังกล่าว

นายศุภฤกษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานที่ชมฝนดาวตกควรเป็นสถานที่มืดไม่มีแสงไฟรบกวนหรือห่างจากเมือง แนะนำให้นอนรอชม สำหรับการบันทึกภาพฝนดาวตกนั้น ไม่สามารถระบุทิศทางได้ ต้องอาศัยการคาดเดาและเปิดหน้ากล้องค้างไว้ให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง ผู้สนใจสามารถเตรียมตัวและอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับช่วงเวลาดังกล่าว

ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ เกิดจากกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านกระแสธารดังกล่าว
สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวหางจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแส
งวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball)