18 ปี โหมโรง โหมโรง โอ อนุชิต

18 ปี โหมโรง รอเธอคนเดียว “โอ อนุชิต” เล่าความหลัง กว่าจะได้เล่นหนังเรื่องนี้

ผ่านมาแล้ว 18 ปี สำหรับหนังไทยเรื่องเยี่ยม ที่อยู่ในใจของใครหลายๆ คน อย่าง โหมโรง ที่ทำวงการเครื่องดนตรีไทยตื่นตัว

Home / Entertainment / 18 ปี โหมโรง รอเธอคนเดียว “โอ อนุชิต” เล่าความหลัง กว่าจะได้เล่นหนังเรื่องนี้

ผ่านมาแล้ว 18 ปี สำหรับหนังไทยเรื่องเยี่ยม ที่อยู่ในใจของใครหลายๆ คน อย่าง โหมโรง ที่ทำวงการเครื่องดนตรีไทยตื่นตัว และทำให้หลายๆ คนหันมาสนใจการเล่นระนาดมากขึ้น และยังเป็นการแจ้งเกิดนักแสดงคุณภาพอย่าง โอ อนุชิต ที่ในช่วงนั้นเขากำลังโด่งดังสุดๆ จากภาพยนตร์เรื่อง 15​ ค่ำเดือน​ 11​ ล่าสุดหนุ่มโอ ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเล่าความหลัง เมื่อ 18 ปี กว่าจะได้มาเล่นหนังโหมโรง ต้องเจอกับอะไรมาบ้าง

ขณะที่กำลัง​ถ่ายทำ​ภาพยนตร์​เรื่อง​ 15​ ค่ำเดือน​ 11​ อยู่​นั้น ทีมงานโหมโรง​ (ซึ่ง​ตอนนั้น​ยัง​ไม่มี​ชื่อเรื่อง)​ก็​โทรติดต่อ​มา​ ว่ายังสนใจ​โปรเจ็ค​นี้อยู่ไหม?
หลัง​จากที่แคสติ้ง​​ไปแล้ว​เป็นปีครับ​ มาทราบภายหลัง​ว่า​ ตลอดหนึ่ง​ปี​ที่ผ่านมา​ อยู่​ในช่วงการค้นหานักแสดงที่จะมารับบทนายศร​ ระหว่าง แคสนักระนาดมาฝึกการแสดง​ หรือ จับนักแสดง​มาฝึกระนาด​

พี่​ๆ ทีมงานเล่าให้​ฟัง​ว่า​ เดินทางตามหานักระนาดทั่วประเทศ​ มาแคสติ้ง​
แต่ในที่สุด บทนี้​ก็​เหมาะกับคนที่ใช่เท่านั้น!!! ฮ่าๆๆๆ​

ซึ่งนักแสดง​ที่​ผ่านการทดสอบ​รอบแรก​ ต้องมาทดสอบ​ความเป็น​ไป​ได้​ที่จะตีระนาด​ อีกรอบนึง​ และในที่สุด บทนี้ก็เหมาะสม​กับคนที่ใช่เท่านั่น!!! ฮ่าๆๆๆ

ในที่สุด… พอ!!!!!​

หลัง​จาก​ผ่านการเรียน​ระนาดหลายเดือนก่อนเปิดกล้อง​ วันถ่าย​ทำ​ฉากที่ต้องตีระนาดครั้ง​แรก​ ก็​มาถึง​…
เทค! ไม่ซิงค์!​
เทค! หน้าเครียด​ไป!
เทค! เกร็งไป!!
เทค! ตีให้​ดูง่ายกว่านี้!
และ​ เทค! เทค! เทค!

ถ้าเป็น​ฉาก​ที่ต้องเล่นดนตรีไทย​ จะมี​ครูเอ้​ Asdavuth Sagarik เป็​นที่ปรึกษา​ด้านดนตรี​ไทย​ มาคอยดูว่าถูกต้อง​หรือไม่​ จำได้​ว่า​วันนั้น​ โอเครียด​มาก​ มันไม่เป็น​ไปอย่าง​ที่​คิดไว้​ ไม่กล้า​มองหน้า​ทีมงาน​ ไม่กล้า​มองหน้าพี่อิทธ โอทำเค้าเสียเวลา​รึเปล่า​? เค้าน่าจะเปลี่ยนตัวโอแน่ๆ​

แต่​ใน​ที่สุด!!!
บทนี้ก็เหมาะสม​กับ​คนที่​ใช่​เท่านั้น!!!
ฮ่าๆๆๆ

ผ่าน​ไป​หลายวัน พี่อิทธ เอาฉากประชันครั้งแรกที่ตัดต่อเสร็จ​แล้ว​มาให้ดู​ (ฉากที่นายศรต้อง​ไปตีฆ้องวงตอนต้นน่ะครับ​) โอ​ ยืนดูอยู่​ห่างๆ​ เพราะ​ไม่​กล้า​ดูตัวเองชัด แต่ยัง​จำความรู้สึก​ได้เป็น​อย่างดี​ครับ​

นั่นคือโอเหรอ!? โหหหหห…ทำไม​ตีระนาด​เก่งขนาดนั้น
เท่ห์​มากๆๆ​ เท่ห์​สุดๆๆไปเลยยย

ทันใดนั้น​โอก็​เข้า​ใจ​ทันที​ว่า “ในโลกการแสดง​ เราจะเป็น​อะไรก็ได้!!!”
รักจากวันนั้น​ โอก็​รักการแสดง​มากๆไปเลย​ครับ​ ในการถ่ายทำต่อมา​ ปัญหา​ต่างๆก็​ยัง​มี​อยู่​บ้าง​ เพียงแต่​ว่า​ คราวนี้​โอรู้และเข้าใจ​แล้ว​ว่า ในโลกภาพยนตร์​ โอ​จะเป็น​ใครก็ได้ และที่สำคั​ญ​ที่​สุด​

บทนี้ก็เหมาะสม​กับ​คนที่​ใช่​เท่านั้น!!!

ปล. โชคดี​ที่​ตอนนั้น​ ยังไม่มีคนที่​เหมาะสม​กว่า​โอ​ ขอบคุณ​ที่​อะไรก็ตาม​แต่​ทำให้​ทีมงานหาคนๆนั้นไม่เจอนะครับ​
รูป​นี้​ถ่าย​ตอนแคสติ้ง​ครับ​

โหมโรง เป็นภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2547 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีไทย เนื้อเรื่องได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

เหตุการณ์เริ่มขึ้นราวพุทธศักราช 2429 ในประเทศสยาม ศร เด็กหนุ่มที่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เกิด ได้รับการถ่ายทอดฝีมือในการตีระนาดเอกจาก ครูสิน ผู้ซึ่งเป็นทั้งบิดาและครูสอนดนตรีไทย ผู้มีปมในชีวิต หลังการสูญเสียพี่ชายของศรผู้ซึ่งถูกนักเลงระนาดคู่ปรับฆ่า เป็นเหตุให้ครูสินตัดสินใจหยุดการสอนดนตรีไทยลง แต่ด้วยคำเตือนสติจากหลวงพ่อ ทำให้ครูสินกลับมาสอนดนตรีไทยอีกครั้ง เพื่อไม่เป็นการปิดกั้นโอกาสและการพัฒนาพรสวรรค์ในการตีระนาดของศร ศรจึงได้รับการถ่ายทอดฝีมือตีระนาดจากบิดา และมีทิว เพื่อนสนิทที่คอยช่วยเหลือมาตลอดเวลา

ศร กลายเป็นดาวเด่นในเชิงระนาดเมื่อก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม ฝีมือของศรยากหาใครทัดเทียมในอัมพวา หลังจากชนะประชันครั้งแล้วครั้งเล่า ศรจึงเกิดความลำพองในฝีมือของตนเอง จนเมื่อศรเดินทางเข้ามายังบางกอก เขาพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกต่อขุนอิน ผู้มีฝีมือการเล่นระนาดในระดับสูง และมีทางระนาดที่ดุดัน ศรกลายเป็นคนที่สูญเสียความภาคภูมิใจในตัวเอง แต่เขาก็กลับมามุมานะฝึกปรือฝีมืออีกครั้ง และคิดค้นทางระนาดแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำใคร จนในที่สุด ศรก็ได้รับการอุปถัมป์ให้เป็นนักดนตรีประจำวังบูรพาภิรมย์​ของสมเด็จฯ และได้พบกับ แม่โชติ สตรีผู้สูงศักดิ์ที่กลายมาเป็นคู่ชีวิตของศรในเวลาต่อมา

ในที่สุด หลังจากผ่านการบ่มเพาะทั้งฝีมือและจิตใจจากครูเทียน ครูดนตรีมีฝีมือที่สมเด็จฯจัดหามาเพื่อดูแลฝึกสอน ศรก็สามารถมีชัยเหนือขุนอินได้สำเร็จ ล่วงเข้าสู่วัยชราของศร เขากลายเป็นครูดนตรีอาวุโสที่มีลูกศิษย์มากมาย ขณะที่บ้านเมืองเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ในยุครัฐบาลทหารของ จอมพลป. ซึ่งมีนโยบายปรับปรุงประเทศให้มีเป็นอารยะตามแบบตะวันตก และออกระเบียบมาปิดกั้นควบคุมศิลปะแขนงต่างๆ รวมทั้งดนตรีไทย โดยมี พันโทวีระ นายทหารหนุ่มที่รับหน้าที่ดูแลนโยบายดังกล่าว ครูศร ผู้ผ่านการแข่งขันแพ้-ชนะมานับครั้งไม่ถ้วน จึงต้องพบกับช่วงบั้นปลายชีวิตอันปวดร้าว ในวันที่ดนตรีไทยถูกคุกคามจากผู้มีอำนาจ

เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ไทยที่กวาดรางวัลต่างๆ ไปอย่างมากมาย

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2547
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
กำกับภาพยอดเยี่ยม
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์)
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 27 ประจำปี พ.ศ. 2547
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
กำกับภาพยอดเยี่ยม
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์)
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง’อัศจรรย์’)
แต่งหน้ายอดเยี่ยม

รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2547
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง)
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม

รางวัล Audience Award (Popular Vote) จาก Miami International Film Festival 2005
ตัวแทนภาพยนตร์จากประเทศไทย ส่งประกวด รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 77 สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ
ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 70 เรื่อง สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2561
ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกภาพยนตร์ของชาติ เมื่อปี 2556