กฎหมาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิชากฎหมาย เกร็ดความรู้

อะไรคือ การยืมใช้คงรูป ยืมใช้แล้วไม่ผิด? เปิดความหมายในทางวิชากฎหมายธุรกิจ

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม การยืมใช้คงรูป ในทางวิชากฎหมายธุรกิจ คือ การให้ยืมสิ่งของ ทรัพย์สิน และใช้คืน โดยที่ไม่ได้เรียกเก็บค่าตอบแทนจากการยืมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา ๖๔๐

Home / CAMPUS / อะไรคือ การยืมใช้คงรูป ยืมใช้แล้วไม่ผิด? เปิดความหมายในทางวิชากฎหมายธุรกิจ

จากกรณี นาฬิกาบิ๊กป้อม หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ยื่นหนังสือเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2562 ถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้พิจารณาชี้มูลความผิด เรื่องนาฬิกาหรูของบิ๊กป้อม ฐานไม่แจ้งทรัพย์สินในมูลค่านาฬิกาหรูที่ยืมมา

ล่าสุด! ทาง คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาแล้วว่าบิ๊กป้อมรอด ไม่ผิด โดยให้เหตุผลว่าเป็นการ “ยืมใช้คงรูป” หลายคนเมื่อได้ยินประโยคนี้ก็อาจจะงง ๆ ว่าคืออะไร ลองไปอ่านความหมายในแบบที่ ป.ป.ช. แถลง และความหมายในทางกฎหมายกันค่ะ

การยืมใช้คงรูป คืออะไร หมายความว่าไง?

ความหมาย การยืมใช้คงรูป กรณีนาฬิกาบิ๊กป้อม

คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า

  • นายปัฐวาท สุขศรีวงศ์ เป็นเจ้าของนาฬิกา ได้ให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ยืมใช้ในโอกาสต่างๆ
  • พล.อ.ประวิตร ได้คืนนาฬิกาให้นายปัฐวาท เมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว
  • การยืมดังกล่าว เป็นการยืมใช้คงรูป คือแม้จะเป็นหนี้แต่มิใช่หนี้ตามที่ ป.ป.ช. กำหนดให้ต้องแสดง

สรุปสั้น ๆ  ตามความหมายที่ ป.ป.ช. ให้มาก็คือว่า “ยืมใช้คงรูป” คือ การให้ยืมสิ่งของ ทรัพย์สิน และใช้คืน โดยที่ไม่ได้เรียกเก็บค่าตอบแทนจากการยืมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา ๖๔๐ ดังนั้น พล.อ.ประวิตร จึงไม่มีหน้าที่ต้องแสดงการยืมนาฬิกาดังกล่าว เป็นหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม การยืมใช้คงรูป ในทางวิชากฎหมายธุรกิจ

 

สัญญายืมให้คงรูป เป็นหนึ่งในลักษณะของสัญญายืม

  • คือสัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอบทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

ลักษณะของสัญญาใช้คงรูป มีดังนี้คือ

  1. สัญญาไม่มีค่าตอบแทน
  2. เป็นสัญญาที่ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ หมายความว่า การที่ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินให้แก้ผู้ยืมไปนั้นเป็นการส่งมอบให้เพื่อผู้ยืมจะได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังเป็นของผู้ให้ยืมอยู่ ลักษณะในข้อนี้เป็นเหมือนกับสัญญาเช่าทรัพย์ที่ได้อธิบายมาแล้ว
  3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปคือทรัพย์สิน

หน้าที่ของผู้ยืม

  1. หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และค่าบำรุงรักษาทรัพย์สิน
  2. หน้าที่ในการใช้สอยทรัพย์สินและสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม
  3. หน้าที่ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อใช้เสร็จ

ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูป

อาจมีได้หลายสาเหตุดังนี้คือ

  1. ในกรณีที่สัญญาได้กำหนดระยะเวลายืมไว้ สัญญายืมใช้คงรูปก็จะระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาตามสัญญานั้น
  2. ในกรณีที่สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลายืมไว้ เช่น ยืมหนังสือไปอ่านโดยไม่ได้ระบุว่าจะคืนเมื่อใด ดังนี้ตามกฎหมายแล้วผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อใดก็ได้
  3. สัญญายืมใช้คงรูประงับไปเมื่อผู้ยืมตาย ในข้อนี้แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติของผู้ยืมเป็นสาระสำคัญของสัญญายืมใช้คงรูป
  4. สัญญายืมใช้คงรูประงับไปเมื่อผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้ยืมผิดสัญญา

ข้อมูลจาก : drthawip, winsagool

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม