การสร้างคำ คำซ้อน คำซ้ำ คำประสม คำมูล ภาษาไทย หลักภาษาไทย

ความหมายและรูปแบบของการสร้างคำ คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน

เรียนรู้ภาษาไทย คำไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งคำที่เป็น “คำไทยดั้งเดิม” และ “คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ” หรือ “คำที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด” คำชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ มีชื่อเรียกตามลักษณะ และแบบสร้างของคำ เช่น คำมูล คำประสม…

Home / CAMPUS / ความหมายและรูปแบบของการสร้างคำ คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน

เรียนรู้ภาษาไทย คำไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งคำที่เป็น “คำไทยดั้งเดิม” และ “คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ” หรือ “คำที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด” คำชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ มีชื่อเรียกตามลักษณะ และแบบสร้างของคำ เช่น คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน ซึ่งคำเหล่านี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ และเพื่อให้น้องๆ ทำความเข้าใจลักษณะแตกต่างของคำเหล่านี้ได้มากขึ้น วันนี้เราจะพาไปเรียนรู้กัน

ความหมายและรูปแบบของการสร้างคำ
คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน

เริ่มต้นจาก คำมูล คือ?

คำดั้งเดิมจากภาษาใดก็ได้ มีกี่พยางค์ก็ได้ แต่ต้องมีความหมายในตัวเอง และถ้าคำใดมีหลายพยางค์ คำนั้นจะแยกพยางค์ออกจากกันไม่ได้ เช่น ข้าว ปลา กติกา เก้าอี้

ตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล

คน : มี ๑ พยางค์ คือ คน

สิงโต : มี ๒ พยางค์ คือ สิง + โต

นาฬิกา : มี ๓ พยางค์ คือ นา + ฬิ + กา

ทะมัดทะแมง : มี ๔ พยางค์ คือ ทะ + มัด + ทะ + แมง

จากตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล จะเห็นว่าเมื่อแยกพยางค์จากคำแล้ว แต่ละพยางค์ไม่มีความหมายในตัวหรืออาจมีความหมายไม่ครบทุกพยางค์ คำเหล่านี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำทุกพยางค์มารวมเป็นคำ ลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นคำเดียวโดด ๆ

 

คำประสม คือ?

คำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันแล้วเกิดความหมายใหม่ อาจเป็นคำนามรวมกับคำนามหรือคำนามรวมกับคำกริยา หรือคำอื่นๆ ก็ได้ เช่น ดวงตา ปากกา ม้านั่ง แม่เหล็ก ชาวบ้าน

ตัวอย่างแบบสร้างคำประสม

แม่ยาย : เกิดจากคำมูล ๒ คำ คือ แม่ + ยาย

ลูกน้ำ : เกิดจากคำมูล ๒ คำ คือ ลูก + น้ำ

ภาพยนตร์จีน : เกิดจากคำมูล ๒ คำ คือ ภาพยนตร์ + จีน

จากตัวอย่างแบบสร้างคำประสม จะเห็นว่าเมื่อแยกคำประสมออกจากกัน จะได้คำมูลซึ่งแต่ละคำมีความหมายในตัวเอง

คำซ้ำ คือ?

คำมูลคำเดียวกัน ออกเสียง ๒ ครั้ง ซ้ำกัน โดยใช้ไม้ยมก (ๆ) ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมเล็กน้อย เช่น ลูกๆ หลานๆ พี่ๆ น้องๆ สาวๆ หนุ่มๆ ดีๆ เลวๆ หอมๆ เหม็นๆ

ตัวอย่างลักษณธคำซ้ำ

1. ความหมายคงเดิม คือ คำที่ซ้ำกันจะมีความหมายคงเดิม แต่อาจจะให้ความหมายอ่อนลง หรือไม่แน่ใจจะมีความหมายเท่ากับความหมายเดิม เช่น ตอนเย็น ๆ ค่อยมาใหม่นะ คำว่า เย็น ๆ ดูจะมีความหมาย อ่อนลง

2. ความหมายเด่นขึ้น เฉพาะเจาะจงขึ้นกว่าความหมายเดิม เช่น สอนเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่จำ พระเอกคนนี้ ล้อหล่อ เป็นต้น

3. ความหมายแยกเป็นส่วน ๆ แยกจำนวน เช่น กรุณาแจกเป็นคน ๆ ไปนะ จ่ายเป็นงวด ๆ (ทีละงวด) เป็นต้น

4. ความหมายบอกจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น เด็ก ๆ ชอบวิ่ง เธอทำอะไร ๆ ก็ดูดีหมด เป็นต้น

5. ความหมายผิดไปจากเดิม เช่น เรื่องหมู ๆ แบบนี้สบายมาก (เรื่องง่าย) รู้เพียงงู ๆ ปลา ๆ เท่านั้น (รู้ไม่จริง) เป็นต้น

 

คำซ้อน คือ?

คำที่เกิดจากการสร้างคำ โดยนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน ตรงข้ามกัน หรือ มีความหมายเกี่ยวข้อกันในทางใดทางหนึ่ง มาเขียนซ้อนกัน เพื่อเน้นให้ความหมายชัดเจนขึ้น

คำซ้อนแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท

1. คำซ้อนเพื่อความหมาย เป็นการนำคำที่มีความหมายสมบูรณ์มาซ้อนกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป เช่ย ใหญ่โต เสื่อสาด พูดจา เกรงกลัว เท็จจริง ผิดชอบ ลูกหลาน เป็นต้น

2. คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีเสียงคล้ายกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายและไพเราะขึ้น เช่น ซุ่มซ่าม ตูมตาม รุ่งริ่ง งุ่มง่าม ตุกติก เป็นต้น