น้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คงเริ่มจะมีคำถามกับตัวเองแล้วว่า หลังเรียนจบ ม.3 เรียนต่อสายไหนดี คำถามนี้มีความสำคัญมาก ทั้งต่อตัวเองและการทำงานในอนาคต เส้นทางการเรียนต่อสายอาชีพนั้น มีตัวเลือกให้เลือกเรียนมากมาย อยู่ที่ว่าตัวน้องๆ เองนั้นชอบและอยากจะเลือกเรียนอะไร และควรเลือกในสิ่งที่เราอยากจะเป็นจริงๆ
จบม. 3 ถ้าอยากเรียนต่อ สายอาชีพ ปวช. พาณิชย์ เรียนสายไหนดี
เรียนต่อสายอาชีพ ปวช. พาณิชย์ เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นระดับการฝึกวิชาชีพขั้นพื้นฐานในงานสายอาชีพสาขาต่างๆ เมื่อเรียนจบสามารถเลือกได้ระหว่างสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือ ปวส.
สมัครเรียนได้ที่ : วิทยาลัยเทคนิค อาชีวศึกษา และวิทยาลัยสารพัดช่าง
ระยะเวลาในการเรียน : หลักสูตร 3 ปี
เรียนสายอาชีพ เหมาะกับ : ผู้ที่ชื่นชอบด้านการลงมือปฏิบัติ
สาขาการเรียนสายอาชีวะ จบไปทำอาชีพอะไร?
1. อุตสาหกรรม
มีการแบ่งสาขาย่อย ดังนี้
1.1 สาขาวิชาเครื่องกล แบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
1.2 สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง แบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
1.3 สาขาวิชาโลหะการแบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
1.4 สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
1.5 สาขาวิชาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
1.6 สาขาวิชาการพิมพ์ แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
1.7 สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
1.8 สาขาวิชาการต่อเรือ แบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
1.9 สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยา
จบไปสามารถทำอาชีพ : งานด้านเครื่องกล เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง โลหะ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง สิ่งพิมพ์ แว่นตาและเลนส์ การต่อเรือ ผลิตภัณฑ์ยาง
2. พาณิชยกรรม บริหารธุรกิจ
มีการแบ่งสาขาย่อย ดังนี้
2.1 สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
2.1 สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด
จบไปสามารถทำอาชีพ : งานการบัญชี การขาย เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ งานจัดการ
3. ศิลปกรรม
สาขาวิชาศิลปกรรมแบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม
จบไปสามารถทำอาชีพ : งานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตกรรม เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรมการพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ เทคโนโลยีนิเทศศิลป์
4. คหกรรม
มีการแบ่งสาขาย่อย ดังนี้
4.1 สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายแบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
4.2 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการแบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
4.3 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
4.4 สาขาวิชาเสริมสวยแบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย
จบไปสามารถทำอาชีพ : งานผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ เสริมสวย
5. เกษตรกรรม
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง
จบไปสามารถทำอาชีพ : งานด้านพืช – สัตว์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป
6. ประมง
มีการแบ่งสาขาย่อย ดังนี้
6.1 สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
6.2 สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
6.3 สาขาวิชาประมงทะเล แบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล
จบไปสามารถทำอาชีพ : การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แปรรูป สัตว์น้ำ ประมงทะเล
7. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว
จบไปสามารถทำอาชีพ : การโรงแรมและการท่องเที่ยว
8. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
มีการแบ่งสาขาย่อย ดังนี้
8.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
8.2 สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
8.3 สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น สาขางาน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
จบไปสามารถทำอาชีพ : เทคโนโลยีสิ่งทอ เคมีสิ่งทอ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
9. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีการแบ่งสาขาย่อย ดังนี้
9.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
9.2 สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง
จบไปสามารถทำอาชีพ : เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีระบบเสียง
หลังจากพิจารณาได้แล้วว่า เราต้องการเรียนสายอาชีพ และเหมาะสมกับเรามากที่สุดแล้ว หลังจากนี้ก็ไม่ต้องกังวลผลจากการเลือกว่าจะดีหรือไม่ จะเรียนยากหรือง่าย จะเรียนไหวหรือไม่ไหว ขอให้เราตั้งใจ ทุ่มเท ลงมือปฏิบัติและเดินตามสิ่งที่น้องๆ เลือกอย่างมั่นใจ
แหล่งข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา