เคยมีคนบอกว่า การที่ได้เรียนมหาวิทยาลัยคณะที่ใช่สำหรับตัวเอง คือพื้นฐานแห่งความสุข เพราะถ้าเรามีความสุขที่อยากจะเรียน ผลเรียนก็จะออกมาดี มีงานในฝันที่ดีๆ วันนี้มีหนึ่งคณะเรียนที่น่าสนใจไม่แพ้การเรียนหมอ ก็คือ การเรียนเภสัชศาสตร์ เพราะเภสัชเป็นอาชีพที่สำคัญและขาดไม่ได้ในโรงพยาบาล เช่นเดียวกับ หมอ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ กายภาพ และเชื่อว่าน้องๆ หลายคนมีคำถามว่า คณธนี้เรียนอะไรบ้าง เรียนกี่ปี คณะเภสัชศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง จบแล้วทำงานที่ไหน? วันนี้เราจะไปติดตามคำตอบพร้อมๆ กัน
การเรียนเภสัชศาสตร์ เรียนอะไร?
เรียนกี่ปี? จบแล้วทำงานที่ไหน?
เภสัชศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง
หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
เภสัชศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) และ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก) มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)
จะเน้นการศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าหาตัวยา และการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยาแต่ละชนิด รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วสาขาวิชาเภสัชศาสตร์จะอยู่ในสายงานด้านการผลิต จะทำงานประจำที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยา
2. สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)
จะเน้นการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรม คือ จะต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำให้ความปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยาหรือใช้ยาอย่างถูกต้อง และยังรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วงานในสาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรมจะทำงานประจำอยู่ที่โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพ ฯลฯ
ทั้งนี้ การเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ นิสิต/นักศึกษาจะต้องเรียนรู้หลายรายวิชา ทั้งวิชาที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องยา แต่จำเป็นต้องเรียนเพื่อใช้เป็นความรู้พื้นฐาน ซึ่งหลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะแตกต่างกันออกไป
วิชาพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น
- แคลคูลัส (Calculus)
- หลักเคมี (Principal of chemistry)
- เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry)
- เคมีเชิงฟิสิกส์และการนำไปประยุกต์ใช้ (Physical Chemistry and Applications)
- ฟิสิกส์เบื้องต้น (Introductory physics)
- เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล (Cell and Molecular Biology)
- ชีวเคมีการแพทย์พื้นฐาน (Basic Medical Biochemistry)
- สรีรวิทยาการแพทย์ (Medical Physiology)
- กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (Basic Anatomy)
- ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ (General Medical Parasitology)
- จุลชีววิทยาทางการแพทย์ (Medical Microbiology)
- หลักการสาธารณสุข (Principle of Public Health)
- ประสบการณ์สาธารณสุขในชุมชน (Public Health Experience in Community)
- ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English)
- ภาษาอังกฤษพัฒนา (Developmental English)
- ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes)
- ภาษาอังกฤษวิชาชีพ (Professional English)
วิชาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชศาสตร์
- บทนำสู่วิชาชีพเภสัชกรรม (Introduction to Pharmacy Profession)
- บทนำทางเภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Introduction to Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
- การควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์สำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Quality Control for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
- บทนำสู่เภสัชเวท (Introduction to Pharmacognosy)
- เภสัชเวทสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacognosy for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชวิทยา (Pharmacology)
- ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ (Biopharmaceutics and Pharmacokinetics)
- เภสัชเคมีสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Chemistry for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชบำบัดประยุกต์ (Applied Pharmacotherapeutics)
- กฎหมายทางเภสัชกรรม (Laws in Pharmacy)
- เภสัชสนเทศสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacoinformatics for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชระบาดวิทยาเบื้องต้น (Basic Pharmacoepidemiology)
- การทบทวนข้อมูลยาใหม่ (Current Drug Review)
- การบริหารทางเภสัชศาสตร์และบทบาทเภสัชกร (Pharmacy administration and Pharmacist role)
- จริยธรรมเชิงวิชาชีพ (Professional Ethics)
- การจัดการคุณภาพในองค์กรสุขภาพ (Quality Management in Health Care Organization)
- ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติสำหรับบริบาลเภสัชกรรม (Research Methodology and Biostatistics for Pharmaceutical Care)
- เภสัชเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Basic Pharmacoeconomics)
- การสื่อสารเชิงวิชาชีพ (Professional Communication)
- เภสัชศาสตร์สังคมและพฤติกรรม (Social and Behavioral Aspects in Pharmacy)
- บทนำสู่ปฏิบัติการทางบริบาลเภสัชกรรม (Introduction to Clerkship for Doctor of Pharmacy)
- การฝึกงานวิชาชีพเภสัชกรรม (Pharmacy Training)
- โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ (Research Project in Pharmaceutical Sciences)
ในชั้นปีที่ 5-6 จะได้ศึกษาในหมวดวิชาสาขาที่เลือกลึกเฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อให้เกิดเป็นความชำนาญและสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฎิบัติงาน
เภสัช เรียนกี่ปี
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาแตกต่างกันในแต่ละประเทศดังนี้
- ประเทศไทย ใช้เวลาเรียน 6 ปี ได้วุฒิเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) (Doctor of Pharmacy : Pharm.D.)
- สหภาพยุโรป รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภ.บ. (B.Pharm.)
- ประเทศออสเตรเลีย เดิมใช้เวลา 3 ปี ปัจจุบันเรียน 4 ปี ได้ ภ.บ. (B.Pharm.)
- สหรัฐอเมริกา เดิมใช้เวลา 4-5 ปี ได้ ภ.บ. (B.Pharm.) ปัจจุบันต้องเรียนหลักสูตรเตรียมเภสัชศาสตร์ ใช้เวลา 2-3 ปี และบางมหาวิทยาลัยต้องเรียนจบปริญญาตรี 4 ปีก่อน จากนั้นจึงเรียนต่อ Doctor of Pharmacy (Pharm.D.) อีก 4 ปี รวมระยะเวลาเรียน 6-8 ปี มีฐานะเทียบเท่ากับ แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (Doctor of Medicine : MD)
คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบ
รอบแอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
คณะเภสัชศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : คลิกที่นี่
- วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : คลิกที่นี่
- สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย : คลิกที่นี่
จบแล้วทำงานที่ไหน?
- เภสัชกรการอุตสาหกรรม เช่น เภสัชกรฝ่ายผลิต เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ เภสัชกรฝ่ายขึ้นทะเบียน เภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฯลฯ จะปฏิบัติงานในโรงงานการผลิตหรือบริษัทจำหน่ายยาทั้งของรัฐและเอกชน
- เภสัชกรโรงพยาบาล เช่น เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา เภสัชกรผู้ให้ปรึกษาด้านยา เภสัชกรผู้ผลิตยาในโรงพยาบาล ฯลฯ
- เภสัชกรชุมชน เช่น เภสัชกรร้านยา เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ หรือเป็นเจ้าของกิจการร้านยา เป็นต้น
- เภสัชกรการตลาด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยา
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐ เช่น เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เภสัชกรการศึกษา ฯลฯ
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล ศูนย์อนามัย สถานีอนามัย
- ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก
ที่มาข้อมูลจาก รายชื่อคณะ วิทยาลัย , www.act.ac.th, เภสัชกร