จำกันได้ไหมคะ สมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษา เรามีเรียนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี กัน ทั้งแบบทฤษฎีและแบบปฎิบัติเข้าค่าย สิ่งหนึ่งที่อยู่ในบทเรียน และเป็นหนึ่งในเครื่องแบบของลูกเสือ-เนตรนารีต้องมีและสำคัญห้ามทำหาย! ก็คือ เงื่อนเชือก มีลักษณะเป็นเชือกสีขาวขมวดกันไว้ หลายคนสงสัยว่าเงื่อนเชือกสำคัญยังไง? และเราเรียนวิธีผูกเงื่อนเชือกไปเพื่ออะไร? วันนี้ทีนเอ็มไทยมีความรู้และคำตอบเรื่องเงื่อนเชือกมาฝากกัน
เรียนรู้ วิธีผูกเงื่อนลูกเสือแบบต่างๆ
และประโยชน์ของเงื่อน
หากใครจะพูดว่าวิชาผูกเงื่อน ที่เราเรียนกันมาไม่มีความหมาย จะบอกว่าคิดผิดค่ะ คุณจำการผูกเงื่อนได้มากน้อยแค่ไหน เงื่อนแต่ละชนิดนั้นมีประโยชน์มาก สามารถไปปรับใช้ได้หลายต่อหลายอย่าง เช่น ยึดเสาเต้นท์ให้มั่นคง ทำที่ดักจับสัตว์ หรือการโรยตัวหน้าผา ที่ต้องใช้ความสามารถในการผูกเงื่อนมาใช้ได้อย่างมั่นคง
คราวนี้เรามาดูวิธีผูกเงื่อนลูกเสือแบบพื้นฐานต่างๆ และประโยชน์ของเงื่อน
1. เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Cleve Hitch )
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพเพื่อป้องกันไม่ให้ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก 1 รอบ )
-ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง ผูกกระหวัดไม้
-ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท
2. เงื่อนพิรอด (Reef Knot หรือ Square Knot)
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ใช้ต่อเชือก 2 เส้น ที่มีขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
-ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ
-ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ
-ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์
-ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น
-ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน (ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ)
3. เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend )
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์ของเงื่อนขัดสมาธิ
-ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน ( เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด ) หรือต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกันก็ได้
-ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน(เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
-ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
-ใช้ต่อด้ายต่อเส้นไหมทอผ้า
-ใช้ผูกเชือกกับขอหรือบ่วง ( ใช้เชือกเล็กเป็นเส้นผูกขัดกับบ่วงหรือขอ ) เช่น ผูกเชือกกับธงเพื่อเชิญธงขึ้น – ลง
4. เงื่อนผูกร่น หรือ ทบเชือก (Sheepshank)
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม
-เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง
-การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ
5. เงื่อนกระหวัดไม้ (Two Haft Hitch)
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ใช้ผูกชั่วคราวกับห่วง หรือกับรั่ว กับกิ่งไม้
-แก้ง่าย แต่มีประโยชน์
-ผูกเชือกสำหรับโหน
6. เงื่อนบ่วงสายธนู (Bowline) ใช้ทำเป็นบ่วงที่มีขนาดที่ไม่เลื่อนไม่รูด
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ทำบ่วงคล้องกับเสาหลักหรือวัตถุ เช่น ผูกเรือ แพไว้กับหลัก ทำให้เรือ แพขึ้น – ลง ตามน้ำได้
-ทำบ่วงคล้องเสาหลัก เพื่อผูกล่ามสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพื่อให้สัตว์เดินหมุนได้รอบ ๆ เสาหลัก เชือกจะไม่พันรัดคอสัตว์
-ใช้ทำบ่วงให้คนนั่ง เพื่อหย่อนคนลงสู่ที่ต่ำหรือดึงขึ้นสู่ที่สูง
-ใช้คล้องคันธนู เพื่อโก่งคันธนู
-ใช้ทำบ่วงต่อเชือกเพื่อการลากโยงของหนัก ๆ หรือทำบ่วงบาศ
-ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งถังนอน
7. เงื่อกผูกรั้ง (Tarbuck Knot)
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ใช้ผูกสายเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้
-เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการได้
8. เงื่อนประมง (Fishirman’s Knot)
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ใช้ต่อเส้นด้ายเล็ก ๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
-ใช้ต่อเชือก 2 เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
-ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว
-ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง
-ใช้ต่อสายไฟฟ้า
-ใช้ผูกเรือแพกับท่าเรือหรือกับหลักหรือห่วง
-เป็นเงื่อนที่ผูกง่ายแก้ง่าย
9. เงื่อนผูกซุง (A Timber Hitch)
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
-ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
-ใช้ผูกทแยง
-ใช้ผูกสัตว์ เรือแพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
-เป็นเชือกผูกง่ายแก้ง่าย
10. เงื่อนเก้าอี้ (Chair Knot or ireman’s Chair Knot) **
วิธีผูกเงื่อน
ประโยชน์
เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู 2 ชั้นยึดกันแน่นโดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไประหว่างจุด 2 จุด
การเก็บเชือก
ที่มาข้อมูลและภาพจาก กลุ่มลูกเสือ โรงเรียนเทิงวิทยาคม