Toyota ยอดขายรถยนต์ สถิติ โตโยต้า

ยอดขายรถยนต์เดือนมกราคม 2565 ส่งสัญญาณบวก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.8%

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2565 มียอดการขายเพิ่มขึ้นทุกเซ็กเมนต์รวมทั้งสิ้น 69,455 คัน คาดเดือนกุมภาพันธ์มีความผันผวน

Home / PR NEWS / ยอดขายรถยนต์เดือนมกราคม 2565 ส่งสัญญาณบวก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.8%

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2565 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 69,455 คัน เพิ่มขึ้น 25.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,365 คัน เพิ่มขึ้น 45.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 46,090 คัน เพิ่มขึ้น 17.9% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 34,962 คัน เพิ่มขึ้น 16.1% 

ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม 2565 มีปริมาณการขาย 69,455 คัน เพิ่มขึ้น 25.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 45.1% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 17.9% เนื่องจากได้ร้บแรงส่งจากแคมเปญส่งเสริมการขายในช่วงงานมหกรรมยานยนต์ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างทยอยส่งมอบรถที่ได้รับจองให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม 2565

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 69,455 คัน เพิ่มขึ้น 25.8%

  • อันดับที่ 1 Toyota 22,149 คัน เพิ่มขึ้น 24.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
  • อันดับที่ 2 Isuzu 15,426 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
  • อันดับที่ 3 Honda 8,525 คัน เพิ่มขึ้น 50.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,365 คัน เพิ่มขึ้น 45.1%

  • อันดับที่ 1 Honda 6,153 คัน เพิ่มขึ้น 35.9% ส่วนแบ่งตลาด 26.3%
  • อันดับที่ 2 Toyota 5,450 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
  • อันดับที่ 3 Mazda 2,061 คัน เพิ่มขึ้น 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 46,090 คัน เพิ่มขึ้น 17.9%

  • อันดับที่ 1 Toyota 16,699 คัน เพิ่มขึ้น 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
  • อันดับที่ 2 Isuzu 15,426 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
  • อันดับที่ 3 Mitsubishi 2,861 คัน เพิ่มขึ้น 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 34,962 คัน เพิ่มขึ้น 16.1%

  • อันดับที่ 1 Toyota 14,364 คัน เพิ่มขึ้น 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
  • อันดับที่ 2 Isuzu 14,143 คัน ลดลง 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
  • อันดับที่ 3 Mitsubishi 2,850 คัน เพิ่มขึ้น 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,761 คัน

  1. Toyota 2,243 คัน
  2. Isuzu 1,326 คัน
  3. Mitsubishi 694 คัน
  4. Ford 396 คัน
  5. Nissan 102 คัน

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,201 คัน เพิ่มขึ้น 17%

  • อันดับที่ 1 Isuzu 12,817 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
  • อันดับที่ 2 Toyota 12,121 คัน เพิ่มขึ้น 42.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
  • อันดับที่ 3 Mitsubishi 2,156 คัน เพิ่มขึ้น 50.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%

ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์อาจมีความผันผวน เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 โดยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ที่ติดง่าย และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื่อมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้ชะลอตัวลงอีกครั้ง

แต่ยังมีปัจจัยบวกจากการส่งมอบรถค้างจองที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมการตลาด และการแนะนำรถรุ่นใหม่ช่วยกระตุ้นตลาดรถยนต์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีความต้องการมีรถยนต์ส่วนตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยผลักดันอัตราการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์ด้วยอีกทางหนึ่ง