menu search

UCEP Plus หลักเกณฑ์การรักษา 'โควิด-19' แบบใหม่ ที่ทุกคนควรรู้

schedule | TELL, UCEP Plus, ติดโควิดควรทำอย่างไร, รักษาโควิด, โควิด-19

ประเด็นน่าสนใจ

  • ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.65 เป็นต้นไป ทางกระทรวงสาธารณสุข ปรับมาใช้ระบบ UCEP Plus ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตามสิทธิ์ต่าง ๆ
  • ผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว รักษาได้ฟรีตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ ทั้งบัตรทอง / ประกันสังคม / ข้าราชการ
  • ผู้ป่วยในกลุ่มสีเหลือง-แดง สามารถเข้ารับการรักษาฟรีทั้งโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ตามหลักเกณฑ์ของ UCEP Plus

ภายหลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยฉบับแรก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

ทางกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยว ได้ประชุมพิจารณาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ปัจจุบันมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อลดลง จึงพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมและกรอบเวลาในการให้การใช้สิทธิ UCEP กลับเข้าสู่ระบบปกติ

ในส่วนฉบับที่ 2 นั้น เป็นการประกาศยกเลิก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

ซึ่งจากเดิมนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ระบบ UCEP COVID ในการกำหนดเกณฑ์การรักษา เยียวยา ผู้ป่วยโควิด-19 โดยมีการประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2563 และมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เรื่อยมา ตามความเหมาะสมของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ ส่งผลทำให้การรักษาโควิด-19 แบบ UCEP COVID จะถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ โดยการรักษาผู้ป่วยจะเข้าสู่ระบบของ UCEP (กรณีฉุกเฉิน) ตามสิทธิ์การรักษาขั้นพื้นฐานของประชาชนแทนทั้ง กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง / กองทุนประกันสังคม / กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

พร้อมใช้ระบบ UCEP Plus เข้ามาเป็นหลักเกณฑ์การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แทน นอกเหนือจากการใช้ทิทธิตาม UCEP ซึ่งมีผลประบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565

อ่านประกาศ : ราชกิจจานุเบกษา

เกณฑ์การรักษา UCEP Plus

ผู้ป่วยสีเขียว

อาการ- ไม่มีอาการ
- มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาฯ ขึ้นไป
- ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่รับกลิ่น
- ไอมีน้ำมูก เจ็บคอ
- ตาแดง มีผื่น ถ่ายเหลว
รักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ- บัตรทอง
- ประกันสังคม
- กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
การติดต่อหน่วยงาน- สปสช. 1330 กด 14
- ประกันสังคม 1506
- กรม สบส. 1462
การรักษา- กักตัวที่บ้าน (HI)
- กักตัวในชุมชน (CI) หรือ Hospitel
- เข้าโครงการ "เจอ แจก จบ" ที่หน่วยงานใกล้บ้าน
*ทำงานต่างพื้นที่เข้าโรงพยาบาลเครือข่ายได้

ผู้ป่วยสีเหลือง

อาการ- แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
- หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย
- ปอดอักเสบ
- ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
- เด็ก มีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ไม่ดื่มนม
ทานอาหารน้อยลง
- กลุ่ม 608 / ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป / เป็นโรคเรื้อรัง / หญิงตั้งครรภ์ / อ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม
รักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ- รักษาฟรีในโรงพยาบาล ตามสิทธิ
- UCEP Plus รักษาฟรีได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน
การติดต่อหน่วยงาน- สปสช. 1330 กด 14 (ขอรับเตียง)
- สพฉ. 1669
- กรม สบส. 1426
(ขอรับเตียง ในระบบ 1330)
- โทรสอบถามสิทธิ UCEP Plus :
02-872-1669

ผู้ป่วยสีแดง

อาการ- หอบเหนื่อยง่าย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา
- แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก
- ปอดอักเสบรุนแรง
- มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึม
- มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาฯ นานกว่า 24 ชั่วโมง
- ค่าออกซิเจนน้อยกว่า 94 %
รักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ- รักษาฟรีในโรงพยาบาล ตามสิทธิ
- UCEP Plus รักษาฟรีได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน
การติดต่อหน่วยงาน- สปสช. 1330 กด 14 (ขอรับเตียง)
- สพฉ. 1669
- กรม สบส. 1426
(ขอรับเตียง ในระบบ 1330)
- โทรสอบถามสิทธิ
UCEP Plus : 02-872-1669

กรณีผู้ป่วยโควิด 19 แบบ UCEP Plus โดยผู้ติดเชื้ออาการสีเหลืองและสีแดง สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่งจนหายป่วย ไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากอาการรุนแรงขึ้นจำเป็นต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลอื่นในเครือข่ายจะไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากผู้ป่วยหรือญาติประสงค์จะไปรักษาที่โรงพยาบาลนอกเครือข่าย จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ส่วนผู้ป่วยอาการสีเขียวจะให้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากอาการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง สามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นโดยใช้สิทธิ UCEP Plus ได้เช่นกัน

สำหรับจำนวนวันรักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 10 วัน จะมีการหารือปรับลดเป็นลักษณะ 7 + 3 คือ รักษาในโรงพยาบาล 7 วัน และกลับไปแยกกักตัวที่บ้านต่ออีก 3 วัน เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับโควิด-19 มากขึ้น แต่ทั้งนี้จะมีการพิจารณาบนหลักของความปลอดภัย

ส่วนยารักษาโควิด-19 โมลนูพิราเวียร์ที่นำเข้ามา จะใช้ทั้งในกลุ่ม 608 และคนทั่วไป เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้กับยาฟาวิพิราเวียร์ หากได้ผลดีสามารถจัดหายาโมลนูพิราเวียร์จากแหล่งผลิตในจีนและอินเดียในราคาที่ใกล้เคียงกับยาฟาวิพิราเวียร์ได้ ส่วนยาแพกซ์โลวิดกำลังจะนำเข้ามา

ยาฟาวิพิราเวียร์ ของทางองค์การเภสัชกรรม

ข้อกังวลในช่วงเปลี่ยนผ่าน

ทาง สปสช. ได้คำนึงถึงประเด็นดังกล่าว กรณียกเลิก UCEP โควิดในผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว จะทำให้โรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนที่อยู่นอกเครือข่ายหน่วยบริการของ สปสช. ไม่สามารถเบิกเงินชดเชยการให้บริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวแบบผู้ป่วยนอกและแบบดูแลที่บ้าน (Home Isolation) ได้

เพื่อให้หน่วยบริการเหล่านี้ยังสามารถดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต่อโดยที่ประชาชนไม่ถูกเรียกเก็บเงิน สปสช.ได้เตรียม 3 แนวทางรองรับ ทั้งการให้สมัครเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการเฉพาะด้านโควิดในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , เบิกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 7 ระบบฉุกเฉิน และการออกประกาศหลักเกณฑ์ใหม่ โดยกำหนดให้เบิกค่าใช้จ่ายแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน ตามนโยบาย เจอ แจก จบ ของกระทรวงสาธารณสุข

4 วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาลด้วยตนเอง

  • 1.โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
  • 2.เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
  • 3.แอปพลิเคชั่น สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  • 4.ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

ข้อมูล

  • กระทรวงสาธารณสุข
  • สปสช.
  • กรม สบส.

RELATED