menu search

แก้ไขกฎหมาย เปิดทางขาย-ครอบครอง ยาเสพติด เพื่อรักษาโรค-วิจัย

schedule | NEWS, กฎกระทรวงสาธารณาสุข, ยาเสพติดประเภท 2, ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพรประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องของการอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองยาเสพติดประเภท 2 พ.ศ. 2562 โดยให้เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ

เพื่อปรับปรุงเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ในการอนุญาตจำหน่าย และมีไว้ในครอบครอง ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 2 ในการประโยชน์ ได้แก่

อนุญาตให้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 ได้

ซึ่งกำหนดกรอบให้อนุญาตจำหน่ายได้สำหรับ 3 กรณีด้วยกันคือ

  1. เพื่อการรักษาหรือป้องกันโรคให้แก่ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยในทางการแพทย์
  2. เพื่อการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
  3. เพื่อประโยชน์ของทางราชการ

อนุญาตให้มีไว้ในครอบครองได้

อนุญาตให้ผู้ที่มีความจำเป็นที่จะต้องมียาเสพติดประเภทที่ 2 ไว้ในครอบครอง สามารถขออนุญาตมีไว้ในครอบครองได้ เพื่อประโยชน์บางอย่างดังต่อไปนี้ คือ

  1. เพื่อการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
  2. เพื่อเป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษา
  3. เพื่อการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
  5. เพื่อใช้ประจ าในการปฐมพยาบาลหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือหรือเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร

ซึ่งผู้ที่จะขอไม่ไว้ในครอบครองเพื่อผลิตยาเสพติดประเภทที่ 3 จะต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพเภสัชกรรมที่มีหน้าที่ควบคุม หรือผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3 ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ส่วนผู้ที่ขออนุญาตจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง จะต้องคุณสมบัติตามข้อกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

  • เป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย หรือองค์การเภสัชกรรม
  • เป็นผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
  • เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพ ทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง

ซึ่งจะต้องมีการยื่นเอกสารต่าง ๆ เพื่อขออนุญาตอย่างถูกต้อง จึงจะสามารถจำหน่าย/ครอบครอง ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการอนุมัติ ก็สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้

| ดูประกาศกฏกระทรวงฉบับเต็ม >>> 

เกี่ยวกับยาเสพติดประเภทที่ 2

โดยยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น มอร์ฟีน โคเดอีน เพทิดีน เมทาโดน และฝิ่น แต่ก็มีโทษมาก

RELATED