menu search
วิธีทำความสะอาดห้องน้ำฆ่าเชื้อโรคด้วย น้ำส้มสายชู ดีต่อคนดีต่อสุขภัณฑ์

วิธีทำความสะอาดห้องน้ำฆ่าเชื้อโรคด้วย น้ำส้มสายชู ดีต่อคนดีต่อสุขภัณฑ์

schedule | DECOR, ชักโครก, ทำความสะอาด, ทำความสะอาดห้องน้ำ, น้ำส้มสายชู, ส้วม, สุขภัณฑ์, ห้องน้ำ
ใครๆ ก็ต้องการรักษาความสะอาดภายในบ้านของตน โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายๆ อย่าง ห้องน้ำ การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและสารฆ่าเชื้อต่างๆ อาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงเกินไป ทำให้ได้ไม่คุ้มเสีย ทั้งต่อสุขภาพของผูัทำความสะอาด และ การรักษาสภาพสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ จะดีกว่าไหม หากมีทางเลือกอื่นที่สามารถทำความสะอาดได้ด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในครัวเรือน ให้สะอาดและปลอดภัยกว่าที่เคยด้วย น้ำส้มสายชู

ฆ่าเชื้อโรคด้วย น้ำส้มสายชู

แท็งก์น้ำชักโครก สิ่งที่ต้องใช้ในการทำความสะอาดห้องน้ำ เพื่อขจัดคราบสกปรก และ ฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ 1. น้ำส้มสายชู 9% จำนวน 1 แก้ว 2.ผงเบคกิ้งโซดา หรือ เกลือไอโอดีน ส่วนผสม น้ำส้มสายชู วิธีทำความสะอาดด้วยการผสมน้ำส้มสายชูกับผงเบคกิ้งโซดา อุ่นหรือต้มน้ำส้มสายชูในปริมาณ 1 แก้ว ให้มีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส จากนั้นผสมกับผงเบคกิ้งโซดา หรือ ไอโอดีน สูตรคือ น้ำส้มสายชู 200 กรัม ( 7 ออนซ์) ต่อ ผงเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา หากคุณใช้เกลือไอโอดีน ก็ให้ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ได้เลยค่ะ หลังจากผสมให้เข้ากันแล้ว ให้เทลงในแท็งก์ส้วมชักโครก ทิ้งไว้สัก 5 - 12 ชั่วโมง คำแนะนำคือ เหมาะที่จะทำในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่ได้ใช้งานส้วมอยู่แล้ว จะทำให้ทิ้งไว้ได้นาน และหากต้องการผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ก็สามารถทำซ้ำติดต่อกันได้ จะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดมากยิ่งขึ้นค่ะ (วิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดมากกว่า วิธีที่ไม่ใช้ผงเบคกิ้งโซดา นะคะ) วิธีทำความสะอาดด้วยการใช้น้ำส้มสายชู แต่เพียงอย่างเดียว ปล่อยน้ำออกจากแท็งก์ชักโครกให้เกลี้ยง เช็ดพื้นผิวภายในแท็งก์ด้วยผ้าแห้ง จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำส้มสายชูให้ชุ่มเช็ดบริเวณคราบสกปรก ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นสัก 2 - 6 ชั่วโมง อย่าให้น้ำไหลเข้าแท็งก์ จากนั้นใช้แผ่นใยขัด ( ที่ไม่ใช่ฝอยขัดหม้อ หรือ ทำจากโลหะ) ขัดซ้ำจะสะอาดขึ้น น้ำส้มสายชู รู้หรือไม่ ว่า ประโยชน์ของน้ำส้มสายชู ทำอะไรได้บ้าง 1.ช่วยขจัดคราบตะกรัน 2. ทำความสะอาดชิ้นส่วนโลหะจากสนิม 3.ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ 4.ช่วยสลายนิ่วในไตได้ 5. ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Shigella (สาเหตุของโรคบิด) และ E.coli ที่มาจาก  brightside.me