menu search
เปิดประวัติ โศกนาฏกรรมซ้ำซ้อน ชาวมุสลิมเซ่น ‘พิธีฮัจญ์’

เปิดประวัติ โศกนาฏกรรมซ้ำซ้อน ชาวมุสลิมเซ่น 'พิธีฮัจญ์'

schedule | NEWS, Charts, Hajj, Mecca, Us World, ซาอุดิอาระเบีย, พิธีฮัจญ์, เมกกะ, เหยียบกันตาย
เปิดแฟ้มประวัติ โศกนาฏกรรมในพิธีศักดิ์สิทธิ์ ชาวมุสลิมสังเวยชีวิต จากเหตุเหยียบกันตาย ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย Pilgrims-on-jamarat หลังจากเกิดเหตุสลดใจ ผู้แสวงบุญภายในพิธีศักดิ์สิทธิ์ เหยียบกันตาย ระหว่างการประกอบพิธีฮัญจ์ ภายในนครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่าย เกิดข้อสงสัยในสาเหตุ และมาตรการในการรับมือกับสถานการณ์ชุลมุนที่เกิดขึ้นหลายครั้ง จากหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ในแต่ละปี จากสถิติของการเดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์ ของชาวมุสลิมจากทั่วโลก ที่มีจำนวนมากมายมหาศาลราว 2 ล้านรายในแต่ละปี ดังนั้นสาเหตุของการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมากในแต่ละปี มาจากสาเหตุของความแออัด ในระหว่างการเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธ์เป็นหลัก ด้านล่างเป็นสถิติยอดผู้เสียชีวิตของผู้แสวงบุญทั่วโลก ที่เดินทางมายังนครเมกกะเพื่อร่วมพิธีฮัจญ์ จากเหตุสลดใจในแต่ละปี
hajj tragedies
2549 - ผู้แสวงบุญ 364 คน สังเวยชีวิต จากเหตุเหยียบกันตาย บริเวณเชิงสะพานจามารัต ในหุบเขามีนา 2540 - เกิดเหตุไฟไหม้เต้นท์ผู้แสวงบุญในหุบเขามีนา ผู้แสวงบุญเสียชีวิต 364 คน 2537 - ผู้แสวงบุญ 270 ราย เหยียบกันตาย ระหว่างการทำพิธีปาหิน 2533 - เป็นปีที่มีผู้แสวงบุญเสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ จำนวน 1,426 คน เสียชีวิตบริเวณอุโมงค์ที่นำไปสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากเหยียบกันตาย 2530 - กองกำลังรักษาความมั่นคง เข้าสลายการชุมนุมต่อต้านสหรัฐ ของผู้แสวงบุญอิหร่าน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 402 คน ทั้งนี้ในปี 2549 ผู้แสวงบุญในพิธีฮัจญ์ เกิดแตกตื่น บริเวณเดียวกันในปีนี้ ที่เพิ่งเกิดเหตุเหยียบกันตายไปหมาด ๆ คือสะพานจามารัต สะพานที่ล้อมรอบไปด้วยเสาหลัก รวมถึงผู้แสวงบุญทุกคน จะต้องขว้างหิน ไปยังเสาหินดังกล่าวที่อยู่ด้านข้าง เพราะเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรม เนื่องจากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งยังเป็นเหมือนเสามัจจุราช ที่คร่าชีวิตผู้คนที่สัญจรผ่านเช่นกัน
พิธีฮัจญ์,เมกกะ,เหยียบกันตาย,ซาอุดิอาระเบีย
สะพานจามารัต แห่งหุบเขามีนา
สะพานจามารัต แห่งหุบเขามีนา ถือว่าเป็นจุดอันตรายจุดสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลที่มีผู้แสวงบุญหลั่งไหลกับไปยังจุดดังกล่าว ด้วยการเดินเท้าเป็นจำนวนมาก ถึงแม้รัฐบาลซาอุฯ จะพยายามหามาตรการในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ด้วยการสั่งปรับปรุงสะพาน รวมถึงเพิ่มทางออกฉุกเฉิน แต่กระนั้น ก็ยังเกิดเหตุการณ์ 'ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย' ขึ้นอีกครั้ง โดยเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย พยายามยกระดับสถานที่ทางความเชื่อของชาวมุสลิมในประเทศ ด้วยการสร้างสะพานเดินเท้าเพิ่มเติมอีกกว่า 450 แห่ง และติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ให้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ง่ายยิ่งขึ้น แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวานนี้ ซึ่งมีชาวมุสลิม สังเวยชีวิตกว่า 717 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 863 ราย จะไม่ได้เกิดบริเวณสะพานจามารัต แต่เกิดขึ้นในระหว่างทางที่นำไปสู่สะพานดังกล่าว กระนั้น ได้มีเสียงสะท้อนออกมาจากผู้แสวงบุญที่อยู่ในเหตุการณ์ชุลมุน ขณะเกิดเหตุเหยียบกันตาย ว่าเจ้าหน้าที่จากทางการซาอุฯ  มีความบกพร่องในการจัดงาน  การขาดทางออกฉุกเฉิน และความเฉื่อยชาในการลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ ผู้แสวงบุญที่กำลังประสบภัย รวมถึง เลือกปฏิบัติต่อผู้เสียชีวิตชาวแอฟริกา ประจักษ์พยานบางส่วนเล่าว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัย ปล่อยศพทิ้งไว้อยู่บนถนนอย่างนั้น ไม่พยายามเร่งมือในการจัดการกับสถานการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ในพื้นที่ใกล้เคียงกลับมีโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียว เพื่อที่จะรองรับผู้แสวงบุญที่มีจำนวนมากมายมหาศาล ทั้งยังขาดระบบการป้องการการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ภายในมัสยิดฮะรอม อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางการซาอุดิอาระเบีย รายงานว่า กษัตริย์ซัลมาน ทางมีบรมราชโองการสั่งทบทวนแผนการประกอบพิธีฮัจย์ประจำปี และเร่งสอบสวนเหตุเหยียบกันตายที่นอกนครศักดิ์สิทธิเมกกะอย่างเร่งด่วน หลังจากเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในด้านนโยบายการรับมือกับสถานการณ์ชุลมุน ที่ยังคงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งปัจจัยสำคัญคือ พื้นที่ในพิธิศักดิ์ลิทธิ์ในบางจุด ที่ไม่สามารถรองรับผู้แสวงบุญที่หลั่งไหลมาจากทั่วโลกได้   ดูบทความต้นฉบับ : The tragic stampede near Mecca is part of a grim pattern

RELATED