menu search

14 สมุนไพรต้องห้าม สำหรับผู้ป่วย โรคไต เป็นอันตรายทำไตเสื่อม ห้ามกิน!!

schedule | HEALTH, ผู้ป่วยโรคไต, สมุนไพร, สมุนไพรไทย, โรคไต, โรคไตวายเรื้อรัง, ไต, ไตวาย, ไตวายเรื้อรัง
สมุนไพรมีสรรพคุณมากมาย ยิ่งบางคนหลงเชื่อคำโฆษณาต่างๆ เมื่อรับประทานก็อาจส่งผลต่อโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ อย่างผู้ป่วย โรคไต หากรับประทานสมุนไพรเหล่านี้ก็จะเสี่ยงทำให้ไตแย่ลง อาจส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ มาดูกันเลยว่ามีสมุนไพรชนิดไหนที่ผู้ป่วยโรคไตต้องระวังบ้าง...  โรคไต

เห็ดหลินจือ

เป็นสมุนไพรจีนที่ดังมากๆ แต่ผู้ป่วยโรคไตหรือผู้ป่วยที่กำลังฟอกเลือดเมื่อรับประทานเข้าไปก็จะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นเพราะต้องขับสารเหล่านี้มากขึ้น จึงส่งผลให้ไตเสื่อมและไตวายได้  โรคไต

มะม่วงหาวมะนาวโห่

เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานเพื่อสรรพคุณทางยามากมาย มะม่วงหาวมะนาวโห่เป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งหากผู้ป่วยทานมากๆ ก็จะส่งผลให้ไตทำงานหนัก ถ้าหากไตขับโพแทสเซียมไม่ทันก็จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและอาจเสียชีวิตได้ มะเฟือง

มะเฟือง

มีกรดออกซาเลตหรือกรดออกซาลิก ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่สามารถพบได้ในผักผลไม้ทั่วไป กรดออกซาลิกมีความเป็นกรดสูงกว่ากรดน้ำส้มถึง 10,000 เท่า โดยกรดที่อยู่ในน้ำจะไปจับกับแคลเซียมที่ไต หากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรับประทานหรือดื่มน้ำคั้นมะเฟืองมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการไตวายเฉียบพลัน หญ้าไผ่น้ำ

หญ้าไผ่น้ำ

มีฤทธิ์ขับปัสสาวะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากเกินไป จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการภาวะไตวายเฉียบพลันได้เร็วขึ้น ลูกเนียง

ลูกเนียง หรือ ชะเนียง

ลักษณะผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วงคล้ายเมล็ดถั่ว ซึ่งมีสารที่ก่อให้เกิดอาการพิษที่ชื่อว่า กรดแจงโคลิค (djenkolic acid) ซึ่งเป็นพิษต่อไตอาจส่งผลให้ระบบไตล้มเหลวได้ ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

มีกรดออกซาลิกสูง ถ้านำมาปั่นเป็นน้ำรับประทานมากๆ จะทำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมในเนื้อไต อาจทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ ไคร้เครือ

ไคร้เครือ

มีรูปร่างคล้ายกระเปาะของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง สมุนไพรในตระกูลนี้ได้ถูกตัดชื่อออกจากตำรับยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพราะเป็นพิษต่อตับ ไต และ ต่อมหมวกไต โดยทำให้เกิดไตวายและเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะ ยอ

ยอ

มีปริมาณโพแทสเซียมสูง ในน้ำลูกยอมีปริมาณโพแทสเซียมประมาณ 2,195 มิลลิกรัม ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการบริโภคยอและน้ำลูกยอ หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว

มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทั้งยังมีปริมาณโพแทสเซียมสูงมาก ถ้าผู้ป่วยโรคไตรับประทานเข้าไปจะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้จึงทำให้เกิดโทษกับร่างกาย ปอกะบิด

ปอกะบิด

การดื่มน้ำปอกะบิดอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักมาก ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังไม่ควรบริโภคเพราะอาจทำลายตับไตได้ ต้นอ่อนข้าวสาลี

ต้นอ่อนข้าวสาลี

หรือเรียกอีกชื่อว่า วีทกราส (Wheatgrass) เป็นพืชมีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงมาก ผู้ป่วยโรคไตจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน  โรคไต

ปวยเล้ง

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักปวยเล้ง เพราะมีปริมาณโพแทสเซียมที่สูง หากเกิดภาวะโพแทสเซียมเกินก็จะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักในการขับแร่ธาตุ หากรับประทานหรือนำมาปั่นแล้วดื่มมากเกินไปก็อาจทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

ลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีฤทธิ์แก้ปวด ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้ผลชะงัก เช่นเดียวกับทานยาลดการอักเสบ จึงอาจส่งผลเสียต่อไตด้วย โรคไต

แครนเบอรี่

เป็นผลไม้รสเปรี้ยว จึงมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ช่วยรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ผลดี ถ้าหากดื่มน้ำแครนเบอร์รี่เป็นประจำ ก็อาจส่งผลให้ระดับกรดซาลิไซลิก (Salicylic) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นได้จนเสี่ยงทำให้เกิดนิ่ว จึงส่งผลให้การทำงานของไตผิดปกติ

RELATED