menu search

20 ผักโครงการหลวง ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ ประโยชน์แน่นๆ

schedule | HEALTH, ผักปลอดสารพิษ
โครงการหลวง เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขาทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งผักผลไม้ส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองหนาวจึงให้ผลผลิตได้ดีทั้งอีกยังเป็นผักปลอดสารพิษและหาซื้อได้ง่ายอีกด้วย มาดูกันเลยว่า ผักโครงการหลวง แต่ละชนิดมีประโยชน์และสรรพคุณดีดีอะไรบ้าง ผักโครงการหลวง

มะเขือเทศโครงการหลวง (Royal Project Tomato)

มะเขือเทศโครงการหลวงใช้พันธุ์ที่เนื้อผลมีสีแดง เนื้อแน่นมีรสหวานอมเปรี้ยวมะเขือเทศเป็นแหล่งโพแทสเซียมเบตาแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี และมีสารไลโคพีนที่ช่วยป้องกันมะเร็ง มะเขือเทศเชอรี่เหลือง

มะเขือเทศเชอรี่เหลือง (Cherry Tomato - Yellow)

ผลมะเขือเทศเชอรี่สีเหลือง มีทั้งแบบกลมหรือรีขนาดเล็กเหมาะสำหรับประทานสดเป็นผลไม้ รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยสารสีที่เรียกว่าแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีมากในผักสีเหลืองที่มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง มันเทศญี่ปุ่น

มันเทศญี่ปุ่น (Japanese Sweet Potato)

มันเทศเนื้อสีเหลืองหรือสีส้ม มีสารเบต้าแคโรทีนสูงมากช่วยบำรุงสายตา มันเทศเนื้อสีม่วงมีสารแอนโทไซยานินสูงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย วอเตอร์เครส

วอเตอร์เครส (Watercress)

ผักสมุนไพรที่ให้วิตามินเอและวิตามินซีในปริมาณสูงมาก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุจำพวกแคลเซียมและเหล็ก ที่ดีต่อกระดูกและฟัน กะหล่ำปลีแดง

กะหล่ำปลีแดง (Red Cabbage)

มีวิตามินซีสูงกว่ากะหล่ำปลีเขียวถึงสองเท่า มีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว (Brussels Sprouts)

ลักษณะคล้ายกะหล่ำปลีรูปทรงกลมขนาดจิ๋ว อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินหลายชนิดโดยเฉพาะวิตามินซี ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายและดีต่อผิวพรรณ เบบี้แครอท

เบบี้แครอท (Baby Carrot)

เบบี้แครอทมีขนาดเล็กกว่าแครอททั่วไป มีจุดเด่นที่สำคัญคือรสชาติหวาน กรอบ และกลิ่นหอมกว่า แกนกลางเล็ก สีส้มสดใส มีสารเบต้าแคโรทีนมากโดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือก ให้วิตามินเอสูงช่วยป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงสายตา และดีต่อผิวพรรณ แรดิช

แรดิช (Radish)

จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า มีกลิ่นฉุนเล็กน้อยแต่อุดมไปด้วยกลูโคซิโนแลต ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งและให้วิตามินซีสูง หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ซาโยเต้

ซาโยเต้ (Chayote)

ผลคล้ายฝรั่งหรือว่าลูกแพร์ผิวขรุขระ เนื้อคล้ายฟักและแตง เนื้อกรอบฉ่ำน้ำ สามารถรับประทานเป็นผักสดได้หรือนำมาปรุงอาหาร เช่น ผัด ทำแกงจืด และลวกจิ้มน้ำพริกได้ ข้าวโพดหวานสีม่วง

ข้าวโพดหวานสีม่วง (Purple Sweet Corn)

ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ในระดับสูง ลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเนื้องอก เสริมความคุ้มกันให้กับร่างกาย ต่อต้านเชื้อโรค สมานแผล เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดการเป็นโรคหัวใจชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและชะลอการแก่ ถั่วลันเตาหวาน

ถั่วลันเตาหวาน (Sugar Snap Pea)

ฝักมีสีเขียว เนื้อแน่น หนา รับประทานได้ทั้งฝักที่มีเมล็ดอ่อนอยู่ภายใน กรอบ มีรสชาติหวาน เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญและยังให้คาร์โบไฮเดรต ธาตุเหล็ก แคลเซียม และเส้นใยอาหาร สามารถนำมาประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น ผัดด้วยไฟแรงอย่างรวดเร็วจะคงความกรอบและหวาน หรือลวกเพื่อรับประทานในสลัด หรือเป็นผักเคียงในน้ำพริกต่างๆของไทย ปวยเล้ง

ปวยเล้ง (Spinach)

เป็นพืชที่อุดมไปด้วยเหล็กและโฟเลตสูงกว่าผักชนิดอื่นช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ มีความจำเป็นในการแบ่งตัวของเซลล์และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางของสตรีมีครรภ์ บีทรูท

บีทรูท (Beetroots)

มีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม และเหล็ก รวมถึงให้วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี1 และ บี2 สามารถคั้นเป็นน้ำบีทรูทดื่มเพื่อสุขภาพ ฟักจานบิน

ฟักจานบิน (Summer Squash,Pattypan Squash,Scallop Squash)

จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับฟักคอหงส์ลักษณะผลแบนคล้ายจานบินเนื้อด้านในคล้ายผลซุกินีผลมีสีเหลือง รับประทานขณะที่ผลยังอ่อนเมล็ดและไส้ยังไม่ปรากฏและเนื้อไม่แข็งมาก ฟักบัตเตอร์นัท

ฟักบัตเตอร์นัท Butternut Squash

เปลือกสีเหลืองนวล เนื้อในแน่นมีสีเหลืองส้ม รสหวาน มัน มีเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ ซี แคลเซียม และเส้นใยอาหารสูง ฟักทองสีส้ม

ฟักทองสีส้ม Orange Japanese Pumpkin

ลักษณะทั่วไปเหมือนฟักทองญี่ปุ่น แตกต่างตรงเปลือกผลมีสีส้มแต่เนื้อผลด้านในมีสีเหลือง รสชาติหวาน มัน เนื้อแน่นเหนียว มีเบต้าแคโรทีนมากช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง มีสารยับยั้งอนุมูลอิสระลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังและดีต่อสายตา ซูกินี

ซูกินี (Zucchini)

ลักษณะทรงผลยาวรี มีสันนูนตามยาวผิวเรียบเป็นมันเปลือกเป็นสีเขียวแก่หรือเขียวอ่อน สลับลายขาวเป็นจุดเนื้อแน่น กรอบ รสหวาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะมีแคลอรีต่ำไม่มีไขมันและคลอเลสเตอรอลอุดมด้วยโพแทสเซียมช่วยปรับลดความดันเลือด ผักโครงการหลวง

สวิสชาร์ด (Swiss Chard)

สวิสชาร์ดมีปริมาณวิตามินเคสูงมาก หากรับประทานสวิสชาร์ด 35 แคลอรี่ ร่างกายจะได้รับวิตามันเคมากกว่าปริมาณขั้นต่ำที่ควรได้รับต่อวันถึง 300% และมีวิตามินเอมากกว่า 100% นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็ง ทำให้สายตาดีขึ้น และยังได้รับวิจามินอี ที่หาได้ยากจากพืชชนิดอื่นจำนวนมาก ต้นหอมญี่ปุ่น

ต้นหอมญี่ปุ่น (Bunching Onion)

ลักษณะคล้ายต้นหอมไทยแต่มีขนาดใหญ่กว่า มีรสหวานให้โปรตีนสูง อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสและแมกนีเซียมรวมถึงวิตามินเอ วิตามินซีและวิตามินเคช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ผักโครงการหลวง

เซเลอรี่ Celery

ก้านใบสีเขียวมีลักษณะอวบหนา กรอบฉ่ำน้ำมีแคลอรี่ต่ำแต่ให้เยื่อใยสูงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก อุดมไปด้วยโพแทสเซียมซึ่งช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและลดความดันโลหิตอีกทั้งยังช่วยปรับความเป็นกรด-ด่างในเลือดให้สมดุล ดีต่อระบบประสาท ต้นสีเขียวมีวิตามินเอมากกว่าต้นสีขาว

ข้อมูลจาก มูลนิธิโครงการหลวง