menu search

เจาะลึกประวัติของเทศกาล "ตรุษจีน"

schedule | TELL, move2024, The Story
https://youtu.be/hrC1UfKUb1M

เทศกาลตรุษจีน หรือวันตรุษจีน วันเริ่มต้นปีใหม่ของชาวจีน ที่สืบทอดกันมาตามปฎิทินจีนโบราณ ที่เรียกว่าปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติ ประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เรียกได้เป็นศตวรรษ หรือราวๆ 100 กว่าปี ซึ่งวันตรุษจีนได้ถูกกำหนดตามปฏิทินจันทรคติที่อิงค์เรื่องของดวงจันทร์มาเป็นตัวกำหนดว่าวันตรุษจีนนั้นจะตรงกับวันไหน เพราะในแต่ละปีเทศกาลตรุษจีนจะไม่ตรงกัน และไม่ตรงกับปฏิทินสากลด้วย โดยมักจะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และอีกชื่อเรียกหนึ่งของวันตรุษจีนนั้นก็คือ "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ"


"เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" นั้นเกิดจากความตั้งใจที่จะเฉลิมฉลองและการพบปะรวมญาติล้อมวงทานข้าวกันอย่างมีความสุข ในวันที่ประเทศจีนถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ และไม่สามารถทำเกษตรได้ จึงเป็นเหตุจำเป็นที่ต้องหยุดพักและเปลี่ยนวันให้กลายเป็นวันเฉลิมฉลอง จัดสถานที่เตรียมอาหาร และไหว้เหล่าบรรดาบรรพบุรุษ บูชาไหว้เทพเจ้า ล้อมวงทานอาหาร รวมไปถึงการแจก ”อั่งเปา”

“อั่งเปาซองสีแดง”หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งคือ “แต๊ะเอีย” ที่แปลว่าผูกเอว

โดยสมัยก่อนเหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว ซึ่งอั่งเปาเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ทุกคนทราบกันดีว่าจะต้องมีทุกครั้งในวันตรุษจีน ตามธรรมเนียมผู้ใหญ่ที่ผ่านการแต่งงานมาและทำงานมีรายได้ จะมอบซองสีแดงที่มีเงินจำนวนหนึ่งอยู่ข้างในให้กับเด็กๆ ที่มีอายุต่ำกว่า หรือยังไม่ได้ทำงาน พร้อมกล่าวสวัสดีปีใหม่ และเงินที่ใส่ในซองอั่งเปานั้น มักจะมีจำนวนเป็นเลขนำโชคของจีนนั่นคือเลข 8

และทำไมตรุษจีนจะต้องเป็นสีแดง

เพราะว่าสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของสี ที่เป็นสิริมงคล ความหมายของสีแดงนั้นคือ มีความสุข มีความโชคดี มีอายุที่ยืนยาว รวมถึงสีแดงเป็นสีที่มีพลังอำนาจที่สามารถขับไล่สิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้าย และภูตผีปีศาจทั้งหลาย นอกจากนี้สีแดงยังเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุไฟ ที่สื่อถึงความเป็นมงคลและความเจริญรุ่งเรืองอีกด้วย


อาหารก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวจีนให้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะการกินดีอยู่ดีเป็นเรื่องสำคัญในวันเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งในวันตรุษจีนประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่อาหารไปจนถึงเสื้อผ้า ซึ่งอาหารแต่ละอย่างจะมีความหมายที่แตกต่างกันไป อาหารค่ำนั้นต้องประกอบด้วยอาหารทะเล เช่น

  • กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข
  • เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี
  • สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี
  • จี้ไช่สาหร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความร่ำรวยมาให้
  • และขนมต้มหมายถึงบรรพชนอวยพร

ส่วนเสื้อผ้าชาวจีนจะเน้นสีแดงเป็นหลัก และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์


“การไหว้เจ้าและบรรพบุรุษ” สิ่งสำคัญนั้นคืออาหาร เพราะหากจัดไม่ตรง ไม่ดี ก็อาจจะไม่มีโชคลาภเข้ามาก็ได้
โดยชาวจีนมักจัดเนื้อสัตว์ 3 หรือ 5 อย่าง รวมถึงอาหารแห้ง, อาหารเจ, ผลไม้, ขนมมงคล เตรียมไว้สำหรับการไหว้ โดยมีความเชื่อของอาหารแต่ละอย่าง ที่แตกต่างกันไป เช่น

  • เม็ดบัว มีความหมายถึงการมีลูกหลานที่เป็นชาย
  • เกาลัด มีความหมายถึงเงิน
  • ไก่ สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์
  • และการเตรียมอาหารจำนวนมาก ความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน

15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน ในประเทศจีนจะแตกต่างกว่าในประเทศไทย ที่มีระบุไว้เพียงแค่ 3 วันเท่านั้น โดยแบ่งเป็นแค่วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว แต่ที่ประเทศจีน จะถูกแบ่งออกเป็น 15 วัน

  • โดยวันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก และหลายคนงดทานเนื้อในวันนี้ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุ และนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
  • วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัขที่เลี้ยง โดยจะเลี้ยงดูให้ข้าวและอาบน้ำให้แก่มัน โดยเชื่อว่าวันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด
  • วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยจะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน
  • วันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือนของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้ายมาแก่ทั้งสองฝ่าย
  • วันที่หก ชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของครอบครัว และไปวัดสวดมนต์เพื่อความร่ำรวย และความสุข
  • วันที่เจ็ด เป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมา ชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลอง
  • วันที่แปด ชาวฟูเจียนจะทานอาหารร่วมกันกับครอบครัวอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกงเทพแห่งสวรรค์
  • วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้
  • วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันรวมญาติมาทานอาหารเย็น
  • วันที่สิบสาม หลังจากที่เฉลิมฉลองในการทานอาหารที่หลากหลายและอย่างเต็มที่แล้ว ก็เปลี่ยนมาทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
  • วันที่สิบสี่ ควรเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน

ขนบธรรมเนียมเหล่านี้ได้ถูกสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และเดินทางกันมาเป็นศตวรรษ โดยการออกไปพบปะญาติ มิตรสหายในปีละครั้งจึงเป็นเหมือนการได้พักผ่อน หลังจากทำงานเกษตรมาตลอดทั้งปี

ดังนั้น "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" จึงถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญของชาวจีน และชาวต่างชาติเชื้อสายจีน ที่จะมารวมตัวกัน พบปะญาติมิตรสหาย นั่งทานข้าว เฉลิมฉลองในวันหยุดที่เรียกว่า "วันตรุษจีน"