Sharenting ปุ้มปุ้ย พรรณทิพา สิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน โพสต์ภาพลูกบนโซเชียล ไม่เปิดเผยหน้าเด็ก

Sharenting ไม่โพสต์ภาพลูกมากเกินไป สิทธิพื้นฐานของลูก ที่คนไทยไม่(ค่อย)เข้าใจ

Sharenting (Sharing + parenting) ซึ่งเป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อเตือนสติเหล่าผู้ปกครองทั้งหลายที่กำลังสนุกกับการโพสต์ภาพลูกลงบนโซเชียลมีเดียมากเกินไป

Home / แฟชั่น / Sharenting ไม่โพสต์ภาพลูกมากเกินไป สิทธิพื้นฐานของลูก ที่คนไทยไม่(ค่อย)เข้าใจ

เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยเป็นจำนวนมาก สำหรับการให้ความสำคัญกับ สิทธิส่วนบุคคลแม้ว่าคนๆนั้นจะเป็นเด็กทารก เหมือนกับกรณีที่กลายเป็นข่าวดัง ตั้งแต่เมื่อช่วงหลายเดือนก่อน เมื่อ ปุ้มปุ้ย พรรณทิพา ได้ให้กำเนิดทายาทคนแรก แต่เธอไม่เปิดเผยหน้าตาของเด็กน้อยบนโซเซียลมีเดีย โดยให้เหตุผลว่า “เป็นเรื่องที่คิดหนัก และทำการบ้านหนักมากเรื่องนี้ค่ะ ปุ้ยให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กจะได้รับจากผู้เลี้ยงดู 70 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าจะไม่มีใครได้เห็นค่ะ จนกว่าลูกจะเริ่มมีพัฒนาการด้านตัวตน สามารถบอกความรู้สึกได้ จำเป็นต้องขออนุญาตจากลูกก่อนค่ะ”

และหลังจากนั้นก็มีคอมเม้นต์ของผู้คนที่แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้(ในทางลบ) มากมาย จนกระทั่งเป็นข่าวล่าสุด ทั้งๆที่ เรื่องของสิทธส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ถูกต้องและเป็นแนวทางที่ในต่างประเทศก็ให้ความสำคัญกันมานานแล้ว โดยเฉพาะในเด็กที่ยิ่งต้องให้ความสำคัญมากที่สุด นั่นเพราะเขายังไม่สามารถสื่อสารและบอกความต้องการได้

การรณรงค์ไม่โพสต์ภาพเด็กลงบนโซเชียล หรือ Sharenting (Sharing + parenting)
ซึ่งเป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อเตือนสติเหล่าผู้ปกครองทั้งหลายที่กำลังสนุกกับการโพสต์ภาพลูกลงบนโซเชียลมีเดียมากเกินไป ซึ่งนั่นอาจนำมาซึ่งข้อมูลส่วนตัวหรืออาจส่งผลกระทบต่อตัวเด็กในอนาคตก็เป็นได้

“สิ่งที่ผู้ปกครองมองว่าน่ารักน่าเอ็นดูในวัยเด็กของลูกและอยากจะโพสต์ลงไปบนโซเชียลเพื่อให้เพื่อนๆได้มีประสบการณ์ร่วม อาจส่งผลให้เกิดความอับอายต่อเด็กในอนาคต เมื่อเขาสร้างตัวตนของตัวเองได้แล้ว” และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพึงระวังให้มากก็คือ ทุกอย่างที่ถูกแชร์ขึ้นไปบนโลกออนไลน์ มันจะยังคงอยู่บนนั้นตลอดไป

นี่จึงกลายเป็นเรื่องที่เหล่าผู้ปกครองควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพราะในยุคที่เราใช้โซเชียลมีเดียเปรียบเสมือนเป็นปัจจัยที่5ในการดำรงชีวิต มีผู้ปกครองมากมายที่ใช้เวลามากเกินไปเพื่อแสดงให้เพื่อนๆได้เห็นภาพของลูกรวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ โดยลืมความเป็นส่วนตัวของลูกที่กำลังถูกเผยแพร่ออกไป

นอกจากนั้นแล้ว ประเด็นของกรณี ปุ้มปุ้ย และ กวินท์ ที่ยึดแนวทางที่จะปฎิบัติต่อลูก ยังได้รับการสนับสนุนและชื่นชมจากเหล่ากุมารแพทย์ รวมทั้งนักสังคมสงเคราะห์ หลายท่านที่มองว่า นี่คือสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่

สำหรับเรื่องนี้สิ่งที่คุณปุ้มปุ้ยและคุณกวินท์ตัดสินใจไม่ใช่เรื่องของ ความกระแดะ เรื่องของการทำลูกให้เป็นเทวดา อะไรทั้งนั้น แต่ความลึกซึ้งของเรื่องนี้คือ การตัดสินใจนี้อยู่บนฐานของการ “เคารพเด็ก” คือการตระหนักว่า เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถบอกความรู้สึกได้ ว่าเขาอยากมีรูปหน้าตา หรือแบ่งปันห้วงเวลาส่วนตัวกับมนุษย์คนอื่นนอกครอบครัวของเขาหรือไม่ และในกรณีที่เขายังบอกไม่ได้

การปกป้องและเคารพเขาที่ดีที่สุดคือ การไม่นำเอาชีวิตส่วนตัวเขามาแบ่งปันกับสาธารณะในขณะที่เขายังบอกความรู้สึก หรืออนุญาตไม่ได้

คำแนะนำบางส่วนจาก เพจนักสังคมสงเคราะห์เล่าเรื่อง

สิ่งสำคัญจากตรงนี้คือ การปฏิบัติเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์และการสื่อสารสำคัญที่พ่อแม่จะให้เด็กเรียนรู้ว่า “เขาคือเจ้าของชีวิตตนเอง” “เขาคือผู้มีสิทธิขาดเหนือเนื้อตัวร่างกายตนเอง” ที่คือการแสดงความเคารพต่อลูก และเป็นการแสดงความรักที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

การงดถ่ายรูปลูกลงสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแบ่งปันตลอดเวลาหรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Sharenting (Sharing + parenting) คือการเคารพในหลักการ “สิทธิที่จะถูกลืม” (right to be forgotten) ซึ่งเป็นการตระหนักว่า เมื่อใดก็ตามที่เราโพสต์รูปลูก ไม่ว่าขณะใดก็ตามในโลกออนไลน์ รูปของลูกเรา ใบหน้าของเขา อากัปกริยาที่ถูกถ่ายไป จะถูกบันทึกในโลกออนไลน์ตลอดการ มันจะถูกแบ่งปันไปอย่างมหาศาลจนไม่มีใครสามารถควบคุมได้ และไม่สามารถรู้วัตถุประสงค์ว่าใครจะเอารูปลูกเราไปทำอะไร แบบไหนได้เลย

ในส่วนของกฎหมายไทยนั้น มีพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิ์เด็ก พ.ศ.2546 มาตรา27 ที่ว่า “ห้ามโฆษณาหรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง หรือเกียรติคุณ หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ”

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.facebook.com/ThestoryofSocialWorker