นานาชาติ รัฐบาลดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ประเทศไทยกับอันดับที่ 26 รัฐบาลดิจิทัลนานาชาติมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง 

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล อัปเดตถึงความก้าวหน้าการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ได้จัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 –…

Home / PR NEWS / ประเทศไทยกับอันดับที่ 26 รัฐบาลดิจิทัลนานาชาติมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง 

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล อัปเดตถึงความก้าวหน้าการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ได้จัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “บริการภาครัฐสะดวก โปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน” โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้บริการตอบสนองประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำ (Responsive Government) ส่งเสริมความสามารถการแข่งขันภาคธุรกิจ (Enhance Competitiveness) โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล ประชาชนเชื่อถือและมีส่วนร่วม (Open Government & Trust) และภาครัฐปรับตัวทันเวลา (Agile Government) เพื่อพัฒนาบริการที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้ พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ และร่วมกันบูรณาการข้อมูลและกระบวนงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว

DGA ให้ความสำคัญกับ “ข้อมูล” สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงาน หรือ นำข้อมูลมาต่อยอด เพื่อสร้างประโยชน์แก่ประชาชน เอกชน และภาครัฐให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และนำมาต่อยอดเพื่อเป็นตัวอย่างของ “การใช้ประโยชน์จาก Big Data” โดยมุ่งให้ปี 2565 เป็นปีแห่ง “Data Driven Government” อย่างเต็มรูปแบบ สำหรับด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางข้อมูลด้านสวัสดิการ (Welfare Platform) หน่วยงานได้จัดทำบริการด้านสวัสดิการให้สามารถใช้บริการได้ผ่านระบบดิจิทัล (Digital Service) แบบครบวงจร “รู้ ยื่น จ่าย รับ” โดยพัฒนาแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิ์สวัสดิการของตนได้แบบเบ็ดเสร็จ และเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงมีการดำเนินโครงการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกทั้งนิสิตนักศึกษาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ลดภาระงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสาร รวมถึงลดงบประมาณของมหาวิทยาลัยในการออกเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบกระดาษ เพื่อยกระดับการศึกษาไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับด้านการระบบกลางด้านกฎหมาย (Law Portal) มีการเปิดให้หน่วยงานของรัฐนำร่างกฎหมายมาเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และประเมินผลสัมฤทธิ์ผ่านระบบกลางฯ ตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ พ.ศ. 2562 รวมถึงเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย และร่วมประเมินผลสัมฤทธิ์ผ่านเว็บไซต์ www.law.go.th รวมถึงมีการให้บริการศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเชื่อมโยงข้อมูลของประชาชนผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกกับประชาชนได้แบบครบวงจร ตลอดจนเป็นระบบกลางให้กับทุกหน่วยงานนำระบบไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.สุพจน์ เผยว่า (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ปี พ.ศ. 2566 – 2570 มีตัวชี้วัดแผนฯ ถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการออนไลน์ภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% และอันดับดัชนี EGDI (ดัชนีการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สหประชาชาติ) ของไทยไม่ต่ำกว่าอันดับ 2 ของอาเซียน โดยมีการเพิ่มเติมกลุ่มที่มุ่งเน้นความสำคัญ (Focused Areas) เป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ การศึกษา สุขภาพและการแพทย์ เกษตร สวัสดิการประชาชน การมีส่วนร่วม โปร่งใส และตรวจสอบได้ของประชาชน การส่งเสริม SMEs แรงงาน สิ่งแวดล้อม ยุติธรรม และการท่องเที่ยว เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เพื่อให้สามารถรองรับการขับเคลื่อนด้วย Big Data ได้อย่างเต็มรูปแบบ และสอดคล้องกับสาระสำคัญ พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 จึงได้มีการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Innovation & Governance Institute: DIGI) ขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐให้มีคุณภาพตามกรอบธรรมาภิบาล นำไปสู่การเปิดเผย เชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมข้อมูลสำหรับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและประเทศอย่างยั่งยืน โดยสถาบัน DIGI ได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือ การให้คำปรึกษา และพัฒนาต้นแบบกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ การใช้ประโยชน์เชิงวิเคราะห์จากข้อมูล Big Data เกษตรกร ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และการใช้ข้อมูล Big Data กรมธรรม์รถยนต์ภาคสมัครใจ (พัฒนาเป็นข้อมูลเปิด เพื่อต่อยอดการพัฒนาประเทศภาครัฐและเอกชน) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น

นอกจากนี้ DGA ได้เดินหน้าโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นดิจิทัล ปี 2564 โดยให้การสนับสนุนระบบบริหารงานและให้บริการประชาชนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดโครงการประกวดนวัตกรรม ‘รางวัลท้องถิ่นดิจิทัล’ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่ต้องการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่ของตน จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับการจัดอันดับรัฐบาลดิจิทัลนานาชาติ โดยมหาวิทยาลัย Waseda ในอันดับที่ 25 จาก 64 ประเทศ ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นกว่าในปี 2563 โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ อยู่อันดับที่ 5 (จาก Top 10) ซึ่งเป็นผลจากความทุ่มเทของหน่วยงานทุกฝ่ายในการร่วมกันผลักดันโครงการต่าง ๆ ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 อย่างมีประสิทธิภาพ