นวัตกรรมโดรน แผงวงจรแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์

การใช้นวัตกรรมโดรนเพื่อตรวจสอบแผงวงจรแสงอาทิตย์

อย่างที่ใครหลายๆคนทราบกันว่าแผงวงจรแสงอาทิตย์หรือที่รู้จักกันในนามโซล่าเซลล์ ซึ่งได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศรวมไปถึงประเทศไทย โซล่าเซลล์ คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถแปลงพลังงานแสงหรือโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก พูดง่ายๆนั้นก็คือการที่เราสามารถเอาหลอดไฟไปต่อวงจรเข้ากับแผงโซล่าเซลล์ หลอดนั้นก็จะสว่างขึ้นมาโดยที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้านั่นเอง หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าแล้วโดรนเกี่ยวอะไรกับแผงวงจรแสงอาทิตย์และโดรนสามารถช่วยให้การตรวจสอบโซลาร์เซลล์ง่ายขึ้นอย่างไร ประโยชน์หลักๆของโดรนในอุตสาหกรรมนี้มีเยอะมาก แต่หัวข้อหลักๆ มีทั้งหมด 3 ข้อ โดรนทำให้การสำรวจพื้นที่ง่ายขึ้น…

Home / PR NEWS / การใช้นวัตกรรมโดรนเพื่อตรวจสอบแผงวงจรแสงอาทิตย์

อย่างที่ใครหลายๆคนทราบกันว่าแผงวงจรแสงอาทิตย์หรือที่รู้จักกันในนามโซล่าเซลล์ ซึ่งได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศรวมไปถึงประเทศไทย

โซล่าเซลล์ คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถแปลงพลังงานแสงหรือโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก พูดง่ายๆนั้นก็คือการที่เราสามารถเอาหลอดไฟไปต่อวงจรเข้ากับแผงโซล่าเซลล์ หลอดนั้นก็จะสว่างขึ้นมาโดยที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้านั่นเอง

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าแล้วโดรนเกี่ยวอะไรกับแผงวงจรแสงอาทิตย์และโดรนสามารถช่วยให้การตรวจสอบโซลาร์เซลล์ง่ายขึ้นอย่างไร ประโยชน์หลักๆของโดรนในอุตสาหกรรมนี้มีเยอะมาก แต่หัวข้อหลักๆ มีทั้งหมด 3 ข้อ

  1. โดรนทำให้การสำรวจพื้นที่ง่ายขึ้น ความท้าทายแรกของการมีแผงโซลาร์เซลล์นั้นก็คือ การออกแบบโครงแบบระบบไฟฟ้าและปรับให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี ซึ่งหมายความว่า ที่ดินที่ไม่ได้รับการปรับให้เหมาะสมจะก่อให้เกิดการสูญเสียได้อย่างมากในระยะยาว แต่การที่เราจะสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ทั้งหมดที่เรามีนั้นอาจจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไปในการใช้แรงงานมนุษย์ นั่นคือหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมโดรนจึงกลายมาเป็นเครื่องมือสำรวจที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับงานสำรวจแผงโซลาร์เซลล์ ยิ่งไปมากกว่านั้นยังมาพร้อมกับระบบ RTK ซึ่งเพิ่มความแม่นยำในระดับเซนติเมตรในการทำแผนที่ทางอากาศ
ตัวอย่างโดรนและเพลย์โหลดที่ถูกนำมาใข้กับอย่างแพร่หลายนั้นก็คือ DJI Matrice 300 RTK และ กล้อง Zenmuse H20T นั้นเอง
  1. โดรนเร่งการตรวจสอบแผงโซลาร์โดย LOT ถึงแม้ว่าระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จะมีอายุการใช้งานที่นานแม้จะไม่ได้รับการดูแลเมื่อเทียบกับเครื่องจักรอย่างอื่น แต่เพื่อการยืดอายุการใช้งานและคงประสิทธิภาพไว้อย่างสม่ำเสมอนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้นๆ
    โดยอุปสรรค์หลักๆสำหรับการบำรุงรักษานั้นก็คือ การตรวจสอบนั้นมีต้นทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ ที่มักจะครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยเอเคอร์และอาจจะมากถึงหลายพันเอเคอร์ ปัญหาที่จะตามมานั้นก็คือ การตรวจสอบทางกายภาพของแผงโซลาร์เซลล์ทุกแผงนั้นช้า ลำบากและใช้ทุนค่อนข้างสูง โซลาร์ฟาร์มบางแห่งจึงใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยจะมีการตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ซึ่งการใช้วิธีสุ่มในการตรวจสอบนั้นสามารถบิดเบือนข้อมูลที่รวบรวมได้ แต่นั้นจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อตรวจจับความผิดปกติ โดรนจะสามารถช่วยให้งานตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์สำรวจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากตัวโดรนนั้นสามารถที่จะบันทึกและวัดสถานะของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผง โดยใช้ฟีเจอร์ RGB ซึ่งมาพร้อมกับความละเอียดสูงและยังสามารถใช้ร่วมกับกล้องถ่ายภาพความร้อนอีกด้วย
ตัวอย่างแสดง RGB เทียบกับกล้องความร้อนในการตรวจสอบสายไฟ เทคโนโลยีที่คล้ายกันนี้ใช้ในการตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์

3. โดรนวิเคราะห์ข้อมูล จัดส่ง และความพร้อมใช้งานโดยอัตโนมัติ หนึ่งในฟีเจอร์ที่ทำให้โดรนกลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเหลือคุณได้นั้นก็คือสามารถเปลี่ยนข้อมูลฟาร์มโซล่าร์ของคุณให้กลายเป็นดิจิทัลได้อย่างง่ายดาย และนั่นทำให้คุณสามารถแบ่งปันข้อมูลกับทีมของคุณได้ทันทีผ่านระบบคลาวด์บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น Soltage

ตัวอย่างการวิเคราะห์แผนที่ความร้อนที่แสดงฮอตสปอตในแผงโซลาร์เซลล์

M300 RTK โดรนที่ถูกออกแบบเพื่อภารกิจสำรวจโดยเฉพาะ ไม่เพียงแค่ทำให้การสำรวจมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วยังมาพร้อมกับความแม่นยำสูงที่จะทำให้คุณสามารถประหยัดเวลาได้มากขึ้น ซึ่งโดรนรุ่นนี้มีฟีเจอร์ที่ทำให้การสำรวจของคุณเป็นไปในแบบที่คุณต้องการได้ เช่น ระบบ RTK แบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดสูงและไวต่อภูมิประเทศ ทำให้เหมาะสำหรับการออกแบบและดูแลตรวจสอบแผงโซลลาร์เซลล์และจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าหากคุณใช้ซอฟต์แวร์การวิเคราะห์และการแสดงภาพทางอากาศ เช่น Airamap ซึ่งสามารถผลิตแบบจำลองภูมิประเทศแบบดิจิทัล (DTM) และแบบจำลองพื้นผิวดิจิทัล (DSM) ซึ่งจะช่วยให้สามารถออกแบบไซต์ฟาร์มโซลาร์เซลล์ได้อย่างแม่นยำ

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ทำให้โดรน M300 RTK โดดเด่นกว่าโดรนตัวอืนๆนั้นก็คือสามารถบันทึกภารกิจสด (Live Mission Recording) ซึ่งสามารถบันทึกการปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างไฟล์ตัวอย่างภารกิจสำหรับการตรวจสอบอัตโนมัติในอนาคต เพื่อช่วยลดเวลาการทำงานสำหรับทีมสำรวจและค่าใช้จ่ายของบริษัท

คุณยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของโดรนรุ่นนี้ให้มากขึ้นไปอีกได้ด้วยการติดกล้อง Zenmuse H20T หนึ่งในเพย์โหลดที่มาพร้อมกับ Multi-sensor ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นออกแบบผสมผสานทำให้ได้การถ่ายภาพทางอากาศพิเศษกว่าที่เคยมีมา สามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิ -20 °C และสูงถึง 50°C และมาพร้อมกับกล้องซูมถึง 20 MP และกล้องมุมกว้าง 12 MP ทำให้ทีมสำรวจสามารถแน่ใจได้ว่าโซลาร์เซลล์ทุกแผงจะถูกเก็บภาพไว้อย่างแม่นยำ นอกเหนือจากนั้นฟีเจอร์ที่ทำให้กล้องตัวนี้พิเศษมากยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ สามารถ จับภาพทุกอย่างได้ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ในทุกสีหรือทุกอุณหภูมิ เครื่องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ในตัว (LRF) จะวัดระยะทางไปยังวัตถุที่อยุ่ไกลถึง 1200 ม.


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Matrice 300 และ Zenmuse H20T ได้ที่ https://www.poladrone.co.th/

หรือหากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่เบอร์ + (66) 87 579 8736 หรือที่ Line: @poladrone_thailand