KDMS Hospital Office Syndrome Work From Home ออฟฟิศซินโดรม

Work from Home ยังไงไม่ให้ป่วยเป็นออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ในสถานการณ์ปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนคงได้ทำงานที่บ้านหรือที่เรียกกันติดปากว่า Work from Home และมีหลายบริษัทที่ประกาศให้การทำงานที่บ้านเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับพนักงานไปโดยปริยาย การทำงานที่บ้านดูเหมือนจะต้องอยู่กับทุกคนไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว วันนี้ทางโรงพยาบาล KDMS โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อแห่งแรกในประเทศไทย ได้นำวิธีสังเกตอาการตัวเองง่าย ๆ ว่าเข้าข่ายจะเป็นออฟฟิซซินโดรมแล้วหรือยัง พร้อมกับวิธีการรักษาในเบื้องต้น และวิธีป้องกันที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง…

Home / PR NEWS / Work from Home ยังไงไม่ให้ป่วยเป็นออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ในสถานการณ์ปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนคงได้ทำงานที่บ้านหรือที่เรียกกันติดปากว่า Work from Home และมีหลายบริษัทที่ประกาศให้การทำงานที่บ้านเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับพนักงานไปโดยปริยาย การทำงานที่บ้านดูเหมือนจะต้องอยู่กับทุกคนไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว วันนี้ทางโรงพยาบาล KDMS โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อแห่งแรกในประเทศไทย ได้นำวิธีสังเกตอาการตัวเองง่าย ๆ ว่าเข้าข่ายจะเป็นออฟฟิซซินโดรมแล้วหรือยัง พร้อมกับวิธีการรักษาในเบื้องต้น และวิธีป้องกันที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มาติดตามได้เลยภายในบทความนี้

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?
อาการของออฟฟิศซินโดรม คือ อาการที่เกิดจากการที่เรานั่งทำงานนาน ๆ จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หลายชั่วโมงในทุก ๆ วัน ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ไม่ว่าจะปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่า มึนศรีษะ และอาจส่งผลทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และกระดูกสันหลังผิดปกติได้ในอนาคต อาการปวดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ตามร่างกายควรได้รับการพิจารณาแก้ไขอย่างจริงจัง หากเรายังมีแพลนที่จะต้องทำงานออฟฟิศอยู่ เพราะหากไม่ทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ และปล่อยไว้รักษาในภายหลังจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง และรุนแรงขึ้นได้

สังเกตอาการเบื้องต้นของออฟฟิศซินโดรม

  1. มีอาการปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่อยู่บ่อย ๆ อย่างกล้ามเนื้อตึง เกร็ง หันลำบาก
  2. มีอาการชาตามแขน และขา
  3. รู้สึกปวดหัวอยู่บ่อย ๆ
  4. เกิดอาการนิ้วเกร็ง นิ้วล็อค

โดยอาการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เราสามารถทำการสังเกตลงลึกไปได้อีกว่าอาการของเราอยู่ในระดับไหน ทางการแพทย์จะแบ่งระดับความรุนแรงของอาการออฟฟิศซินโดรมออกเป็น 3 ระดับ หากอาการออฟฟิศซินโดรมของเราอยู่ในระดับแรก เมื่อทำการพักผ่อนจะสามารถหายไปได้เอง แต่หากเข้าระดับที่ 2 และระดับที่ 3 จะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างนอนหลับได้ไม่เต็มที่ การทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการชงกาแฟ บิดลูกบิดประตู ส่งผลให้ร่างกายมีอาการเจ็บปวด หากการทำกิจกรรมเบา ๆ ทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดควรเข้ามาทำการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะเกิดอาการเรื้อรัง และทำให้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีปกติได้

วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

  1. ปรับเปลี่ยนท่านั่ง โดยให้เราเปลี่ยนท่านั่งทำงาน ขยับร่างกายทุก ๆ 20 หรือ 30 นาที
  2. ทำการยืดกล้ามเนื้อแขน ข้อมือ และขาทุก ๆ ชั่วโมง โดยพยายามลุกจากที่นั่ง เดินยืดเส้นยืดสาย และให้ทำการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อจากการทำงาน
  3. ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา และให้พักสายตาจากหน้าจอคอมเป็นระยะ
  4. เลือกโต๊ะ และเก้าอี้ทำงานให้เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ต้องไม่สูงและต่ำจนเกินไป
  5. พยายามใช้ข้อมือในลักษณะตรง ไม่บิดข้อมือจนเกินไป
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารให้ตรงเวลา

ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการที่ไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรัง หลายคนมักจะปล่อยให้อาการหายไปด้วยตัวเอง แต่หากว่าสังเกตอาการของตัวเองแล้วเกิดภาวะที่เป็น ๆ หาย ๆ รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกายอยู่บ่อย ๆ จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยที่ทางโรงพยาบาล KDMS หรือ ‘ข้อดีมีสุข’ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อแห่งแรกในประเทศไทย ได้นำทีมแพทย์เฉพาะทางในเรื่องของกระดูก ข้อ เวชศาสตร์ฟื้นฟูมาไว้ด้วยกัน เพื่อให้คุณได้เข้าถึงการรักษาได้อย่างง่ายดาย และได้รับการรักษาที่ตรงจุด โดยทางโรงพยาบาลพร้อมให้บริการตั้งแต่ให้คำปรึกษา วินิจฉัย ไปจนถึงการทำการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการกายภาพบำบัดหลังการรักษา โดยทางโรงพยาบาลมีจุดหมายของการรักษาคือให้คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นปกติ และมีความสุขมากกว่าเดิมให้เร็วที่สุด

หากคุณสงสัยว่าตัวเองจะมีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือโรคเกี่ยวกับข้อ และกระดูก สามารถเข้าไปอ่านบทความดี ๆ หรือปรึกษากับทางโรงพยาบาล KDMS โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูก ข้อ และเวชศาสตร์พื้นฟูครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ผ่านช่องทางดังนี้

เว็บไซต์ : kdmshospital.com
เฟซบุ๊ก : KDMS Hospital