kovet ช่างเชื่อม ลวดเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมโลหะ

ช่างเชื่อมต้องรู้! เลือกลวดเชื่อมไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับงาน

ในงานเชื่อมโลหะนั้น วัสดุสำคัญที่ต้องใช้ก็คือ “ลวดเชื่อมไฟฟ้า” หน้าที่ของมันมีไว้หลอมโลหะ 2 ชิ้นให้เป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งช่างเชื่อมย่อมคุ้นเคยดี แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานคลุกคลีกับงานลวดอาจยังไม่รู้ว่าลวดชนิดนี้มีด้วยกันหลายชนิด ส่วนจะมีแบบไหนบ้าง เรามาดูกันดีกว่า 1. ลวดเชื่อมธูป หรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์(Covered Welding Electrode)ลวดเชื่อมชนิดนี้เป็นลวดที่นิยมใช้งานกันมากเนื่องจากพกพาสะดวก…

Home / PR NEWS / ช่างเชื่อมต้องรู้! เลือกลวดเชื่อมไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับงาน

ในงานเชื่อมโลหะนั้น วัสดุสำคัญที่ต้องใช้ก็คือ “ลวดเชื่อมไฟฟ้า” หน้าที่ของมันมีไว้หลอมโลหะ 2 ชิ้นให้เป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งช่างเชื่อมย่อมคุ้นเคยดี แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานคลุกคลีกับงานลวดอาจยังไม่รู้ว่าลวดชนิดนี้มีด้วยกันหลายชนิด ส่วนจะมีแบบไหนบ้าง เรามาดูกันดีกว่า

1. ลวดเชื่อมธูป หรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์(Covered Welding Electrode)
ลวดเชื่อมชนิดนี้เป็นลวดที่นิยมใช้งานกันมากเนื่องจากพกพาสะดวก ไม่ต้องใช้แก๊สขณะเชื่อม เส้นลวดและอุปกรณ์ที่ใช้ราคาไม่แพง เหมาะกับช่างมือใหม่ งานอุตสาหกรรมพื้นฐาน ทั้งยังมีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามหน้างานที่ต่างกัน ลักษณะเป็นก้านคล้ายกับก้านธูปที่เราใช้จุดไฟไหว้พระ แกนข้างในเป็นเส้นลวดโลหะ ซึ่งมีทั้งที่เป็นลวดเหล็ก และสเตนเลส มีสารเคลือบ หรือ ฟลักซ์(Flux) ห่อหุ้มภายนอกเอาไว้ หน้าที่ของสารเคลือบนี้จะระเหยกลายเป็นแก๊สเพื่อป้องกันไม่ให้แนวเชื่อมเกิดปฏิกิริยา oxidation กับอากาศ
2. ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์(Flux Cored Wire)
ลวดชนิดนี้มีลักษณะเป็นม้วนมีแกนกลวง โดยมีฟลักซ์อยู่ในไส้แทนที่จะหุ้มภายนอกไว้เหมือนลวดเชื่อมธูป ลวดแบบนี้ราคาค่อนข้างสูง แต่ก็มีประสิทธิภาพดี สามารถเชื่อมได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม
3. ลวดเชื่อมมิก/แมก(MIG/MAG) หรือลวดเชื่อม Co2(MIG Welding Wire)
ลวดเชื่อมไฟฟ้าชนิดนี้เป็นแบบเปลือย คือไม่มีสารเคลือบมาหุ้มภายนอกแต่อย่างใด มีลักษณะเป็นม้วน ใช้ในงานประกอบเหล็ก งานโครงสร้าง และงานประกอบเหล็กทั่วไป โดยใช้ก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์(Co2) ในการเชื่อม ข้อดีคือเชื่อมได้เร็วเพราะสามารถเชื่อมได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนก้านลวด และราคาถูกเนื่องจากไม่มีสารเคลือบนั่นเอง
4. ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน(Tig Welding Rod)
เป็นลวดเชื่อมเปลือยอีกชนิดหนึ่ง ดูคล้ายกับลวดเชื่อมมิก แต่จะเป็นเส้นตรงแทน ความยาวเส้นประมาณ 1 เมตร มีให้เลือกใช้หลากหลายทั้งแบบที่ทำจากเหล็ก อะลูมิเนียม ทังสเตน สเตนเลส ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ นิยมนำไปใช้กับงานเชื่อมที่ต้องการความละเอียดสูง
5. ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือ ลวดเชื่อมเกาจ์(Gougind Electrode)
เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าชนิดกลมแบบพิเศษ นำไปใช้ในงานเซาะร่อง เจาะรู ตัดโลหะ กำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพออกจากชิ้นงาน หรือใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อมก็ได้
6. ลวดเชื่อมพิเศษ
ลวดเหล่านี้เป็นลวดที่นำไปใช้ในงานเฉพาะทาง เช่น ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง ลวดเชื่อมอินโคเนล ลวดเชื่อมอะลูมิเนียม ลวดเชื่อมนิกเกิลอัลลอยด์ ลวดเชื่อมทองแดง ลวดเชื่อมประสาน เป็นต้น

จากรายการดังกล่าว จะเห็นได้ว่าลวดเชื่อมไฟฟ้ามีถึง 6 ชนิด แบ่งตามการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงต้องเลือกใช้ให้ถูกกับงาน จึงจะได้ผลงานที่รวดเร็วและมีคุณภาพ

X