กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบเชื้อสายพันธุ์เดลต้าเพิ่ม 11 จังหวัด

ประเด็นที่น่าสนใจ พบการระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลต้าเพิ่มอีก 11 จังหวัด รวมเป็น 71 จังหวัด เชื้อโควิด-19 ที่ระบาดในขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพันธุ์เดลต้าแล้ว ส่วนเชื้อสายพันธุ์เบต้า ในกทม. ไม่พบการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่เป็นการระบาดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่วนกรณีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เบต้า ที่จ.บึงกาฬ…

Home / โควิด-19 / กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบเชื้อสายพันธุ์เดลต้าเพิ่ม 11 จังหวัด

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • พบการระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลต้าเพิ่มอีก 11 จังหวัด รวมเป็น 71 จังหวัด
  • เชื้อโควิด-19 ที่ระบาดในขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพันธุ์เดลต้าแล้ว
  • ส่วนเชื้อสายพันธุ์เบต้า ในกทม. ไม่พบการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่เป็นการระบาดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย
  • ส่วนกรณีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เบต้า ที่จ.บึงกาฬ กำลังอยู่ในระหว่างหาข้อมูลเพิ่มเติม

วันนี้ (19 ก.ค.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ได้แถลงสถานการณ์เกี่ยวกับการเฝ้าระวังการระบาดในเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีการเฝ้าระวัง อย่างสายพันธุ์เดลต้า โดยพบว่า

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อัตราการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์เดลต้า มีการระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น โดยจากการสุ่มตรวจเชื้อจำนวน 3,340 ตัวอย่าง พบว่า

เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ พบการติดเชื้อไปแล้ว 71 จังหวัด และก่อนหน้านี้คือ ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยผลตรวจสายพันธุ์พบว่า มีการติดเชื้อสายพันธุ์นี้เพิ่มใน 11 จังหวัด คือ

แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ตราด สุรินทร์ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และปัตตานี

63.6% เป็นเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ในขณะที่มี 34.1% เป็นเชื้อในสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ซึ่งก่อนหน้านี้ เชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า เคยพบมากเป็นอันดับแรก แต่ในขณะนี้ เริ่มมีสัดส่วนที่น้อยลง

โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่พบว่า 76.5% เป็นการติดเชื้อในสายพันธุ์เดลต้า และมีเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า เพียง 23.5% เท่านั้น ซึ่งจากความสามารถในการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นคำตอบว่า ทำไมจึงมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสายพันธุ์นี้ติดกันได้ง่าย

ซึ่งมีแนวโน้มการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกพื้นที่ เฉพาะในช่วงวันที่ 10-16 ก.ค. ที่ผ่านมา เพิ่ม 2,090 คน รวมสะสมตั้งแต่เดือน เม.ย. พบติดเชื้อ 5,762 คน

ซึ่งหากรวมในขณะนี้ ที่มีการตรวจหาสายพันธุ์ พบผู้ติดเชื้อในสายพันธุ์

ในขณะที่เชื้อในสายพันธุ์เบต้า หรือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ ยังคงพบอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทยเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่จังหวัดบึงกาฬ มีการพบเชื้อสายพันธุ์เบต้า ในแรงงานที่เดินทางกลับมาจากไต้หวันในที่กักตัว โดยก่อนหน้านี้ ตรวจไม่พบเชื้อ แต่เมื่อมีการตรวจซ้ำ จึงพบว่าเป็นสายพันธุ์เบต้า และในขณะนี้ บพว่า มีผู้สัมผัสใกล้ชิดติดเชื้อเพิ่มอีก 3 ราย อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากพบว่า สายพันธุ์ที่พบนี้ยังไม่เกี่ยวข้องกับทางไต้หวัน รวมถึงไม่ใช้สายพันธุ์ที่พบในภาคใต้อีกด้วย

ส่วนกรณีที่พบผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เบตาในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ซึ่งหากในสัปดาห์หน้า ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม ก็คาดการณืไ้ดว่า ไม่มีการระบาดในวงกว้างแล้ว แต่ยังจำเป็นต้องเฝ้าระวังต่อเนื่องออกไปอีก

ส่วนกรณีที่พบผู้ป่วยในการติดเชื้อ 2 สายพันธุ์นั้น ในขณะนี้ ยังไม่พบการผสมหรือการกลายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด