ข่าวต่างประเทศ อินโดนีเซีย โควิด-19

อินโดฯ เตรียมแผนรับมือโควิด-19 กรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น

ประเด็นสำคัญ อินโดนีเซีย พบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มล่าสุด มากกว่า 56,000 รายในวันเดียว ซึ่งเป็นยอดอัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่แซงหน้าอินเดียไปแล้ว รัฐบาลเตรียมพร้อมแผนการรับมือหากต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติ ถ้าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 6 หมื่นรายต่อวัน สั่งโรงงานผลิตออกซิเจน ปรับเปลี่ยนจากการใช้เพื่ออุตสาหกรรมเป็นการผลิตเพื่อใช้ทางการแพทย์ สั่งเครื่องออกซิเจนเพิ่มอีก…

Home / โควิด-19 / อินโดฯ เตรียมแผนรับมือโควิด-19 กรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น

ประเด็นสำคัญ

  • อินโดนีเซีย พบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มล่าสุด มากกว่า 56,000 รายในวันเดียว ซึ่งเป็นยอดอัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่แซงหน้าอินเดียไปแล้ว
  • รัฐบาลเตรียมพร้อมแผนการรับมือหากต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติ ถ้าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 6 หมื่นรายต่อวัน
  • สั่งโรงงานผลิตออกซิเจน ปรับเปลี่ยนจากการใช้เพื่ออุตสาหกรรมเป็นการผลิตเพื่อใช้ทางการแพทย์
  • สั่งเครื่องออกซิเจนเพิ่มอีก 4 หมื่นเครื่อง
  • อนุมัติใช้งานฉุกเฉิน วัคซีนไฟเซอร์ ที่ได้ลงนามสั่งซื้อไว้ จำนวน 50 ล้านโดส

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในอินโดนีเซียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยล่าสุด อินโดนีเซีย พบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีกกว่า 56,000 ราย ซึ่งนับเป็นยอดการพบผู้ป่วยในรอบ 24 ชม. ที่ผ่านมา แซงหน้าอินเดียไปแล้ว

ซึ่งอัตราการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์เดลต้า กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่พบการระบาดอย่างต่อเนื่องระลอกใหม่นี้ ในขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบแล้วของประเทศนั้นอยู่ที่ ราว 5.8% จากจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 270 ล้านคน

Luhut Pandjaitan รมต. ของอินโดฯ ได้กล่าวว่า “ในขณะนี้อินโดฯ กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดแล้ว ซึ่งเรากำลังพูดถึงผู้ป่วยจำนวน 60,000 รายต่อวันหรือมากกว่า และเราหวังว่า จะไม่ถึง 1 แสนรายต่อวัน อย่างไรก็ตาม เราคงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การระบาดในระดับนั้นเช่นกัน”

โดยในขณะนี้ รัฐบาลอินโดฯ ได้นำแพทย์ – พยาบาลที่จบใหม่ เข้าปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่กักตัวของผู้ป่วย ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ดูแลออกซิเจน และยาต่าง ๆ

ในช่วงเดือน มิ.ย. – ก.ค. 64 มีผู้ป่วยโควิด-19 อย่างน้อย 620 รายเสียชีวิตที่บ้าน ในระหว่างการแยกกักตัวเพื่อรักษาอาการ

อ๊อกซิเจนเริ่มขาด

จากจำนวนผู้ป่วยที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ในบางพื้นที่ของอินโดฯ เช่นที่เกาะชวา เริ่มประสบปัญหากับปริมาณอ๊อกซิเจนที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ญาติของผู้ป่วยต้องวิ่งหาอ๊อกซิเจน ในขณะที่หลายโรงพยาบาลเริ่มประสบปัญหาอ๊อกซิเจนไม่เพียงพอแล้ว โดยในขณะนี้ มีความต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นถึง 4,000 ตันต่อวัน จากปรกติที่ต้องการใช้งานราว 60 ตันต่อวันเท่านั้น

ซึ่งอัตราการใช้อ๊อกซิเจนมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางการอินโดนีเซีย ได้มีการสั่งให้โรงงานผลิตอ๊อกซิเจน สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อใช้ทางการแพทย์แล้ว

ในขณะเดียวกัน ก็มีการเร่งการสั่งซื้อเครื่องให้อ๊อกซิเจนทางการแพทย์ อีกราว 4 หมื่นเครื่อง เพื่อนำมาใช้ให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความต้องการในการให้อ๊อกซิเจนเพิ่มเติม

อนุมัติวัคซีน ไฟเซอร์

สำนักงานควบคุมอาหารและยาของอินโดนีเซีย (BPOM) อนุมัติการใช้งานกรณีฉุกเฉินแก่วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของไฟเซอร์ ขณะยอดผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศพุ่งสูง เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์เดลตา ที่แพร่เชื้อง่าย

“สำนักงานฯ ได้อนุมัติการใช้งานกรณีฉุกเฉินแก่วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอที่ผลิตโดยไฟเซอร์และไบออนเทค” เพนนี เค ลูคิโต หัวหน้าสำนักงานฯ แถลงข่าวทางออนไลน์เมื่อวันพฤหัสบดี (15 ก.ค.) โดยอินโดนีเซียลงนามข้อตกลงจัดซื้อวัคซีนของไฟเซอร์รวม 50 ล้านโดสตลอดปี 2021

ปัจจุบันอินโดนีเซียอนุมัติการใช้งานกรณีฉุกเฉินแก่วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากผู้ผลิต 5 ราย ได้แก่ ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตราเซเนกา

ในขณะเดียวกัน อินโดนีเซีย มีแผนจะสั่งซื้อวัคซีนของชิโนฟาร์มเพิ่มเติม เพื่อใช้ในโครงการฉีดวัคซีนแบบที่ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ต้องการฉีดวัคซีน โดย

พีที คีเมีย ฟาร์มา (PT Kimia Farma) บริษัทในเครือพีที ไบโอ ฟาร์มา ประกาศเสนอโครงการฉีดวัคซีนแบบเสียค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลทั่วไป ณ คลินิก 8 แห่ง ใน 6 เมืองบนเกาะชวา ซึ่งเป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุดในอินโดนีเซีย และเกาะบาหลีซึ่งเป็นแหล่งพักผ่อน โดยเป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผนการโกตองโรยอง (Gotong Royong) โครงการฉีดวัคซีนของภาคเอกชน ที่มีความหมายว่าความร่วมมือร่วมใจและอำนวยผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

พีที คีเมีย ฟาร์มา เผยว่าบริการดังกล่าวสำรองไว้สำหรับประชาชนทุกคนที่ยินดีจ่ายเงิน 879,000 รูเปียห์ (ประมาณ 1,980 บาท) สำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ของจีน จำนวน 2 โดส

ที่มา