โรคอ้วน โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง

ฝ่าด่านความอ้วนจากพันธุกรรม ปรับพฤติกรรม “การใช้ชีวิต ชีวีมีสุข”

วิวัฒนาการทางการแพทย์สาขาพันธุศาสตรการแพทย์และจีโนมิกส์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นองค์ความรู้ที่สามารถอธิบายการก่อโรคต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากยีนและโครโมโซมในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยพบว่าปัจจัยที่ควบคุมสุขภาพและความอ้วน มีผลมาจากทั้งพันธุกรรม ประวัติครอบครัว พฤติกรรมการกิน การดำรงชีวิต รวมถึงการรับสารกระตุ้นจากภายนอกเช่น ยา…

Home / HEALTH / ฝ่าด่านความอ้วนจากพันธุกรรม ปรับพฤติกรรม “การใช้ชีวิต ชีวีมีสุข”

วิวัฒนาการทางการแพทย์สาขาพันธุศาสตรการแพทย์และจีโนมิกส์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นองค์ความรู้ที่สามารถอธิบายการก่อโรคต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากยีนและโครโมโซมในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยพบว่าปัจจัยที่ควบคุมสุขภาพและความอ้วน มีผลมาจากทั้งพันธุกรรม ประวัติครอบครัว พฤติกรรมการกิน การดำรงชีวิต รวมถึงการรับสารกระตุ้นจากภายนอกเช่น ยา หรือ ฮอร์โมนต่างๆ

พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการทางการแพทย์ จิณณ์ เวลเนส คลินิก (Jin Wellness Clinic) โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง กล่าวว่า ปัญหาความอ้วนเป็นปัญหาที่มีสาเหตุร่วมจากหลายปัจจัย และยังก่อให้เกิดโรคเรื้อรังได้ในหลายอวัยวะ เช่น หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไต ตับ ดังนั้นการประเมินปัญหาและการดูแลรักษาจึงต้องครอบคลุมตั้งแต่ระดับพันธุกรรม การกินอาหาร การออกกำลังกาย การเผาผลาญพลังงาน อาทิเช่น ถ้าบุคคลนั้นมีประวัติครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้องมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือมีโรคที่เป็นความผิดปกติของการใช้พลังงานของร่างกายในครอบครัวหลายคน เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เก๊าท์ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบแตกตัน หรือมีคนในครอบครัวเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ คนกลุ่มนี้ควรจะเข้ามารับคำแนะนำ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น เช่น การควบคุมน้ำหนัก การกินอาหารที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย การออกกำลังกายที่เพียงพอ รวมถึงการปรับพื้นฐานสภาพจิตใจให้แข็งแกร่งพร้อมต่อสู้กับความเครียดในสังคมปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาความอ้วนและความผิดปกติด้านการเผาผลาญสารอาหารบางชนิด เป็นผลจากระดับยีนเป็นตัวหลักเด่นเหนือสิ่งแวดล้อม เช่น ยีนควบคุมความอิ่มเสียไป หรือยีนที่ควบคุมการสร้างไขมันในร่างกายผิดปกติ เป็นต้น คนกลุ่มนี้จะต้องเข้มข้นในการปรับพฤติกรรมเพื่อต่อสู้กับพันธุกรรม รวมถึงอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยา ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์

สู้พันธุกรรมด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการดำรงชีวิต?

รศ.ดร.นพ. โอบจุฬ ตราชู แพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์และเวชพันธุศาสตร์ ศูนย์จิณณ์ เวลเนส คลินิก (Jin Wellness Clinic) โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า หลายคนถอดใจเรื่องความอ้วน เนื่องจากเห็นคนในตระกูลอ้วนมาตั้งแต่รุ่นก่อนๆ หรือหลายคนเครียดว่าพยายามลดน้ำหนักเท่าไหร่ก็ไม่ลง การพบแพทย์ที่สามารถดูแลอย่างองค์รวมและบูรณาการร่วมกับศาสตร์ต่างๆ จะวางแผนการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ การประเมินทางด้านพันธุกรรม โภชนาการ กายภาพบำบัด และฟื้นฟูสภาพจิตใจ การเลือกอาหารให้เหมาะสมในแต่ละบุคคลไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงมีข้อมูลที่สำคัญทางการแพทย์อย่างครบถ้วนในการวางแผน

จะรู้ได้อย่างไร ว่าตัวเรามียีนที่เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง 

การสืบประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวตั้งแต่รุ่นคุณปู่ คุณย่า คุณพ่อ คุณแม่ ก็สามารถเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงได้ส่วนหนึ่ง แต่หลายครั้งที่พบคนไข้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทั้งที่คนในครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นโรคดังกล่าว เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิต และอาหารบางชนิดมีผลต่อการทำงานของยีนที่มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม จึงอาจส่งผลต่อความรุนแรงของโรคที่แฝงมากับยีนทางพันธุกรรมได้ 

ซึ่งหากต้องการทราบว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวที่สุขภาพยีนเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือต้องการคัดกรองพันธุ์แฝงโรคพันธุกรรมก่อนสมรสและมีบุตร สามารถตรวจสุขภาพยีนในประเทศไทยได้ที่ศูนย์จิณณ์ เวลเนส คลินิก (Jin Wellness Clinic) โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ซึ่งมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตรวจวิเคราะห์ยีนได้อย่างละเอียดและหากพบว่ามีความเสี่ยง ก็จะมีการพูดคุยเพื่อรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ก็ต้องวางแผนการคัดกรองมะเร็งเพิ่มเติมด้วยวิธีต่างๆ หรือเป็นคู่สมรสที่เสี่ยงต่อการเกิดลูกมีโรคพันธุกรรมผิดปกติ เช่น ปัญญาอ่อน ตาบอด หูหนวก ก็สามารถวางแผนเลือกวิธีการมีบุตรด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ ถ้ามีพันธุกรรมผิดปกติต่อการเผาผลาญไขมันหรือน้ำตาล ก็ต้องพูดคุยทางเลือกการรักษา และปรับการรับประทานให้ทานอาหารที่มีโภชนาการที่ถูกต้อง ฝึกออกกำลังกายให้เพียงพอเหมาะสม จะลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและความทุพพลภาพได้

พญ.กอบกาญจน์-และนพ.โอบจุฬ

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thonburibamrungmuang.com หรือสอบถามโทร02-220-7999 ต่อ 83100 หรือ 084-235-5284