ป้องกันมะเร็ง มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกัน รักษา และเอาชนะได้

จากการศึกษาพบว่าการเข้ารับการตรวจคัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยโรงพยาบาลสมิติเวช สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้มากถึง 60% ก่อนที่ติ่งเนื้อนั้นจะพัฒนากลายเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จากสถิติค่าเฉลี่ยทั่วไปอยู่ที่ 25 %* การที่สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้เร็วขึ้น…

Home / HEALTH / มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกัน รักษา และเอาชนะได้

จากการศึกษาพบว่าการเข้ารับการตรวจคัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยโรงพยาบาลสมิติเวช สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้มากถึง 60% ก่อนที่ติ่งเนื้อนั้นจะพัฒนากลายเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จากสถิติค่าเฉลี่ยทั่วไปอยู่ที่ 25 %* การที่สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้เร็วขึ้น โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดจะมีมากขึ้น

เรื่องน่ารู้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกัน รักษา และเอาชนะได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้มีความเสี่ยงเนื่องจากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แนะนำให้นำอายุของคนในเครือญาติใกล้ชิดที่เป็นมะเร็งลบด้วย 10 จะเป็นอายุที่ควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เช่น หากพ่อเป็นมะเร็งตอนอายุ 40 ปี ลบออกด้วย 10 จะเหลือ 30 ดังนั้น ลูกควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เมื่อมีอายุ 30 ปี โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ

อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่

หลายกรณีที่พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่แสดงอาการผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคลำไส้และทางเดินอาหารอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอันตราย เช่น ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง ท้องเสียสลับกับท้องผูก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลียอ่อนแรง ซีดจาง บางคนมีเลือดออกปนมาในอุจจาระ ปวดท้องเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2-4 แล้ว ดังนั้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติกับระบบทางเดินอาหารนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยหาเสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง

ระยะของโรค

ระยะของโรค การเกิดโรคของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็น 4 ระยะคือ

  1. ระยะแรก เป็นก้อนหรือติ่งเนื้อบริเวณผิวของผนังลำไส้ใหญ่
  2. ระยะที่สอง เริ่มกระจายเข้าสู่ผนังลำไส้ใหญ่
  3. ระยะที่สาม ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  4. ระยะที่สี่ แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ปอด และสมอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ทันสมัยผ่านทางกล้อง NBI (Narrow Band Image) EMR (Endoscopic Mucosal Resection) และ ESD (Endoscopic Submucosal Dissection) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ MIS (Minimal Invasive surgery) เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ช่วยให้แพทย์สามารถตัดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ออกจากลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการเปิดแผลที่หน้าท้อง สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว กลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ 90% ของการตรวจพบมะเร็งสำไส้ใหญ่จะเริ่มจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก (polyp) ที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งติ่งเนื้อชนิด adenoma ถือว่าเป็นระยะก่อนมะเร็ง (pre-cancerous lesion) จะมีโอกาสดำเนินโรคในอนาคต โดยใช้เวลา 3-5 ปีก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง

ดังนั้นหากตรวจพบติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร แนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 3-5 ปี ถ้าติ่งใหญ่กว่า 1 เซนติเมตรอาจตรวจทุก 1-3 ปี ส่วนผู้ที่ไม่พบติ่งเนื้อควรกลับมาตรวจอีกครั้งใน 5-10 ปี (แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลินอาจจำเป็นต้องเพิ่มความถี่ของการตรวจขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายและปัจจัยการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของแต่ละคน)

ขอบคุณที่มาจาก :  https://smtvj.com/2Ae6JBW, นพ.ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม อายุรแพทย์ด้านโรคระบบทางเดินอาหาร