ป้องกันโรคหัด วัคซีนป้องกันโรคหัด หัด โรคหัด

เตือนหัดระบาด!! กรมควบคุมโรคแนะ พ่อแม่ควรพาลูกน้อยฉีด วัคซีนป้องกันโรคหัด

กรมควบคุมโรค รายงานข่าวว่าพบผู้ป่วยโรคหัดในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 14 ต.ค.2562 พบผู้ป่วยโรคหัด 4,582 คน เสียชีวิต 17 คน โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด…

Home / HEALTH / เตือนหัดระบาด!! กรมควบคุมโรคแนะ พ่อแม่ควรพาลูกน้อยฉีด วัคซีนป้องกันโรคหัด

กรมควบคุมโรค รายงานข่าวว่าพบผู้ป่วยโรคหัดในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 14 ต.ค.2562 พบผู้ป่วยโรคหัด 4,582 คน เสียชีวิต 17 คน โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ นราธิวาส เพชรบุรี ปัตตานี โดยพบมาในโรงเรียน โรงงาน และเรือนจำ โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมากโดยการไอ จาม หรือพูดใกล้ๆในระยะใกล้ชิด ทั้งนี้โรคหัดสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีด วัคซีนป้องกันโรคหัด

อาการของโรคหัด

  • ไข้ออกผื่น
  • มักมีอาการไข้สูงประมาณ 3 – 4 วัน
  • มีผื่นนูนแดงขึ้น โดยผื่นเริ่มขึ้นจากหลังหูแล้วลามไปยังใบหน้าบริเวณชิดขอบผม แล้วแพร่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา
  • เมื่อผื่นแพร่กระจายทั่วตัว ประมาณ 2 – 3 วัน ไข้จะค่อยๆ ลดลง และผื่นก็จะค่อย ๆ จางหายไป ผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นมากอาจจะลอกเป็นขุย หรือเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้นได้

ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ คือ คออักเสบ หลอดลมอักเสบจนถึงปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ท้องเสีย และสมองอักเสบซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงที่สุด หากป่วยด้วยโรคหัดหรือสงสัยว่าเป็นโรคหัดควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

วัคซีนป้องกันโรคหัด

ข้อสังเกตสำหรับผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด

  1.  เคยเป็นโรคหัดแล้ว
  2. รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดครบ 2 เข็ม
  3. เคยเจาะเลือดเพื่อตรวจภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสหัด แล้วพบว่ามีภูมิในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้

กรมควบคุมโรคจึงรณรงค์ให้ฉีด วัคซีนป้องกันโรคหัด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้มากกว่า 95% โรคหัดมักจะเกิดขึ้นในเด็กพบมากที่สุดคือช่วงอายุ 0-4 ปี ทั้งนี้โรคหัดสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน เข็มแรกเมื่อตอนอายุ 9 เดือน และเข็มที่สองเมื่ออายุ 2 ขวบครึ่ง หากพบว่าบุตรหลานยังรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ผู้ปกครองสามารถพาไปรับวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง ทั้งนี้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422