การนอนหลับ นอน นอนหลับ วงจรการนอนหลับ หลับ

เกิดอะไรขึ้นระหว่าง นอนหลับ และนี่คือ วงจรการนอนหลับ ที่คุณอาจไม่เคยรู้!!

การนอนหลับจะเป็นวงจรวนไปตลอดทั้งคืน 1 วงจรจะใช้เวลาประมาณ 90 นาที ซึ่งจะแบ่งเป็นระยะต่างๆ เรามาดูเลยว่าระหว่างการนอนหลับเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง และนี่คือ วงจรการนอนหลับ 1.NON REM (NON Rapid Eye Monement)…

Home / HEALTH / เกิดอะไรขึ้นระหว่าง นอนหลับ และนี่คือ วงจรการนอนหลับ ที่คุณอาจไม่เคยรู้!!

การนอนหลับจะเป็นวงจรวนไปตลอดทั้งคืน 1 วงจรจะใช้เวลาประมาณ 90 นาที ซึ่งจะแบ่งเป็นระยะต่างๆ เรามาดูเลยว่าระหว่างการนอนหลับเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง และนี่คือ วงจรการนอนหลับ

1.NON REM (NON Rapid Eye Monement) เมื่อเราเริ่มต้นหลับเราจะเข้าสู่การนอนหลับช่วง NREM ซึ่งประกอบด้วยกันทั้งหมด 4 ระยะ

stage 1

  • เป็นช่วงที่เปลี่ยนจากการตื่นเข้าสู่การนอนหลับ
  • เป็นช่วงหลับตื้น

stage 2

  • เป็นช่วงเริ่มต้นหลับ
  • ร่างกายจะเริ่มไม่รับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัว
  • อัตราการหายใจและหัวใจเป็นปกติ
  • อุณหภูมิของร่างกายลดลง ดังนั้นการนอนในห้องเย็นๆก็จะยิ่งดี

stage 3-4

เป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน หรือ ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth Hormone) เพื่อฟื้นฟูร่างกาย ถ้าถูกปลุกในช่วงเวลานี้จะรู้สึกงัวเงีย ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

  • เป็นช่วงของการหลับลึกมากที่สุด
  • ความดันโลหิตจะลดลง
  • หายใจช้าลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลง
  • กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
  • ร่างกายจะเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • ร่างกายได้รับการฟื้นฟูพลังงาน
  • ฮอร์โมนต่างๆจะถูกปล่อยออกมา เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการการเจริญเติบโต รวมถึงการพัฒนากล้ามเนื้อ
วงจรการนอนหลับ
วงจรการนอนหลับ

2. REM (Rapid Eye Monement) เกิดขึ้นหลังจากการนอนหลับประมาณ 90 นาที ช่วงเวลานี้อาจจะเกิดความฝันขึ้นได้ จะใช้เวลาประมาณเพียง 10 นาที

  • เสริมสร้างพลังงานแก่ร่างกายและสมอง
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในเวลากลางวัน
  • สมองจะทำงานและเกิดความฝันขึ้นได้
  • มีการกรอกลูกตาไปมา
  • ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้และกล้ามเนื้อต่างๆ หยุดทำงาน

การนอนหลับช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหารโดยช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนความอยากอาหาร ที่ชื่อว่า เลปติน (Leptin) และ เกรลิน (Ghrelin) ซึ่งมีบทบาทในความรู้สึกหิวและอิ่ม ดังนั้นเมื่อเราอดนอนเราอาจรู้สึกว่าร่างกายต้องการทานอาหารมากขึ้นจึงทำให้เราน้ำหนักขึ้นนั่นเอง

ที่มาจาก https://www.sleepfoundation.org/