จิตวิทยา นิสัย โกหก โรคหลอกตัวเอง

โรคหลอกตัวเอง มีอยู่จริง! ลองเช็ค 6 อาการเข้าข่าย

รู้จัก โรคหลอกตัวเอง ภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้ มีสาเหตุมาจากอะไร อาการเป็นอย่างไร Pathological Liar รักษาให้หายได้

Home / HEALTH / โรคหลอกตัวเอง มีอยู่จริง! ลองเช็ค 6 อาการเข้าข่าย

ตามทฤษฎีทางจิตวิทยา การโกหก ที่ทำจนเป็นนิสัย เป็นความเคยชิน และสร้างปัญหา มี 2 แบบ คือ การโกหกตัวเอง (Pathological Liar) และการโกหกเป็นนิสัย (Compulsive Liar) ทั้งนี้สาเหตุของ โรคหลอกตัวเอง มาจากอะไร และมีอาการอะไรบ่งชี้บ้างว่าอาจจะกำลังเป็นโรคหลอกตัวเองอยู่

รู้จัก โรคหลอกตัวเอง สาเหตุ และอาการ

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า ทางจิตวิทยา การโกหก ที่ทำจนเป็นนิสัย มี 2 แบบ แต่ละแบบคืออะไร รายละเอียดมีดังต่อไปนี้

1.การโกหกตัวเอง (Pathological Liar)

มีรากภาษาละตินว่า Pseudologia fantastica หมายถึง ภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้ โดยการโกหกตัวเองแบบนี้ เชื่อว่าเป็นการหนีปัญหารูปแบบหนึ่ง และมักจะมีการแต่งเติมสิ่งที่ขาดไปด้วยการจินตนาการตามสภาพที่อยากเป็น ผู้ป่วยที่มีอาการโกหกตัวเอง อาจมีลักษณะต่อต้านสังคม ขาดสังคม หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

2.การโกหกเป็นนิสัย (Compulsive Liar)

การโกหกเป็นนิสัยเป็นการลวง หรือให้ความบิดเบือนต่อผู้อื่น ซึ่งเจ้าตัวยังรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร

ภาวะ 2 ชนิดนี้ความแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นโรคโกหกตัวเองแล้วเขาจะหลอกแม้แต่ความทรงจำของตัวเอง ส่วนโรคโกหกเป็นนิสัยบุคคลเหล่านี้ ยังรู้ว่าความจริงและความเท็จต่างกันอย่างไร อาจโกหกเพื่อเอาตัวรอด โดยยังสามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นจริงกับเรื่องที่โกหกได้

6 สาเหตุ โรคหลอกตัวเอง

  1. ความขัดแย้งในครอบครัว อาจอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหามาตั้งแต่เด็ก ๆ
  2. ถูกกระทำชำเรา หรือถูกทำร้ายร่างกาย บังคับขืนใจในบางเรื่อง
  3. มีความผิดปกติทางประสาท เช่น ความพิการทางสมอง หรือความบกพร่องทางการเรียนรู้
  4. มีอาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น อันธพาล หลงตัวเอง หรือโรคบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เป็นต้น
  5. มีพฤติกรรมเลียนแบบ
  6. มีผลข้างเคียงมาจากโรคยั้งใจไม่ได้ เช่น ชอบขโมยของ หรือ มีโรคบ้าช้อปปิ้งร่วมด้วย

อาการ โรคหลอกตัวเอง ที่มักเห็นได้บ่อยๆ

  1. มักพูดไปยิ้มไป แต่เป็นยิ้มหลอกๆ ที่สามารถจับสังเกตได้
  2. การพูดมักมีสีหน้านิ่งเกินเหตุ ดูไม่เป็นธรรมชาติ คล้ายกำลังพูดด้วยอาการเกร็ง
  3. หายใจถี่และแรงขึ้น กระพริบตาถี่ ชอบเม้มริมฝีปาก
  4. พูดติดขัด มีเนื้อความซ้ำไปซ้ำมา
  5. มักใช้มือแตะหรือจับที่ปากขณะที่พูด
  6. อาจจับหรือแตะต้องอวัยวะบางส่วนของร่างกายขณะที่พูด

สำหรับคนที่เข้าข่ายโรคหลอกตัวเอง สามารถเข้าพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาให้หายขาดได้ อาจเป็นด้วยการพูดคุยตักเตือน พฤติกรรมบำบัด หรือด้วยยา ถ้าเปิดใจรับทำการรักษาก็จะกลับเข้าสู่โลกปกติได้

ที่มา : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย / www.healthandtrend.com