วัคซีนโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา อินเดีย เชื้อสายพันธุ์เดลตา โควิด-19

ไขข้อสงสัย โควิด เดลตา จากอินเดีย วัคซีนที่ไทยมีป้องกันได้หรือไม่?

วัคซีนในประเทศไทย ป้องกัน โควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้หรือไม่? แนวโน้มการระบาด โควิดเดลตา จากอินเดีย ในไทย

Home / HEALTH / ไขข้อสงสัย โควิด เดลตา จากอินเดีย วัคซีนที่ไทยมีป้องกันได้หรือไม่?

สายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) เริ่มปรากฏที่ประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในสายตระกูลเชื้อที่พบการระบาดในประเทศดังกล่าว ต่อมาได้มีการแพร่ระบาดไปที่สหราชอาณาจักรซึ่งมีระบบตรวจติดตามการระบาดด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมระดับจีโนม ทำให้พบว่าเชื้อสายตระกูลนี้แพร่ระบาดได้ดีกว่าเชื้อสายตระกูลอื่น ๆ รวมถึงเชื้อแอลฟา (B.1.1.7) หรือสายพันธุ์อังกฤษ ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทยขณะนี้

โควิดสายพันธุ์ เดลตา จากอินเดีย วัคซีนที่ไทยมี ป้องกันได้ไหม แนวโน้มการระบาดในไทย

ในตอนนี้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดีย ได้ประกาศการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ไปเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า “เดลตา พลัส (Delta Plus)” แต่เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 นั้นสามารถเกิดวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ มีคำเรียกในสื่อถึงเชื้อสายพันธ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมที่ตำแหน่ง K417N ว่า “เดลตา พลัส” การเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งนี้ พบได้ในเชื้อเบต้าหรือที่มักเรียกกันก่อนหน้านี้ว่าเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้และเกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว ปัจจุบันได้มีการเฝ้าระวังติดตามเชื้อกลุ่มนี้ และยังไม่มีการพบเชื้อลักษณะนี้ในประเทศไทย


วัคซีนในประเทศไทย ป้องกัน โควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้หรือไม่?

สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) หรือ โควิดสายพันธุ์อินเดีย ตอนนี้ก็คือรู้ว่า เชื้อเดลตา (B.1.617.2) แพร่กระจายได้ดีมาก และน่าจะดีกว่าเชื้อแอลฟา (B.1.1.7) หรือโควิดสายพันธุ์อังกฤษ รวมถึงยังทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันเชื้อสายพันธุ์นี้ลดน้อยลงไปด้วย และในวัคซีนที่ได้รับการศึกษา ผู้ร่วมการศึกษาจะต้องได้รับวัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง จึงจะป้องกันไม่ให้ป่วยหนักจากเชื้อสายพันธุ์นี้ได้อย่างน่าพอใจ ขณะที่ข้อมูลด้านอาการและความรุนแรงของโรค ยังไม่ชัดเจนนัก และยังต้องติดตามกันต่อไป

สายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลงได้จริง ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ

  • หากได้รับวัคซีน Pfizer และ AstraZeneca ครบ 2 โดส ก็จะป้องกันอาการเจ็บป่วยจากเดลตา (B.1.617.2) ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลได้
  • ส่วนในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลของวัคซีน Sinovac ว่าส่งผลอย่างไรกับสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2)

การแพร่ระบาดของ โควิดสายพันธุ์เดลตา ในไทย

ในปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ทั่วโลกมากขึ้น สาเหตุที่เรายังไม่สามารถทราบข้อมูลที่แน่ชัดได้ เพราะในแต่ละประเทศจะมีความสามารถในการระบุสายพันธุ์ของเชื้อได้แตกต่างกัน ถ้าให้ประมาณคร่าว ๆ หลายประเทศมีเชื้อเดลตา (B.1.617.2) แล้วมากกว่า 20% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ในประเทศไทยขณะนี้อาจจะประมาณการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อได้ลำบาก แต่ที่เห็นได้ชัดคือ มีการกระจายตัวของเชื้อเดลตาในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่หลากหลายมากขึ้น

จากแนวโน้มในปัจจุบันประกอบกับข้อมูลจากสหราชอาณาจักรบ่งชี้ว่าเชื้อสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) มีแนวโน้มว่าจะเป็นเชื้อสายพันธุ์หลักที่จะเข้ามาระบาดที่ประเทศไทยในอนาคต จึงจำเป็นต้องเร่งการฉีดวัคซีน และรักษามาตรการป้องกันโควิดอย่างเข้มงวด

ที่มา: ผศ.ดร.ธนรรถ ชูขจร mหัวหน้าหน่วยจีโนมและเวชศาสตร์วิวัฒนาการ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล