ผัก ผักพื้นบ้าน ใบเหลียง ใบเหลียง ประโยชน์ ใบเหลียง สรรพคุณ

ใบเหลียง ราชินีแห่งผักพื้นบ้าน สรรพคุณดีงาม ช่วยบำรุงสายตา ได้ดีกว่าผักบุ้ง!!

ใบเหลียง หรือ ผักเหมียง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Baegu ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum gnemon var. tenerum ลักษณะของใบเรียวยาว เหนียวแต่บาง รสชาติหวานมัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสขม…

Home / FOOD / ใบเหลียง ราชินีแห่งผักพื้นบ้าน สรรพคุณดีงาม ช่วยบำรุงสายตา ได้ดีกว่าผักบุ้ง!!

ใบเหลียง หรือ ผักเหมียง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Baegu ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum gnemon var. tenerum ลักษณะของใบเรียวยาว เหนียวแต่บาง รสชาติหวานมัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสขม เป็นผักที่นิยมรับประทานกันทางภาคใต้ในแถบ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ โดยนำใบอ่อนมาทำอาหาร เช่น ใบเหลียงผัดไข่ แกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง ใบเหลียงต้มกะปิ ห่อหมก จิ้มน้ำพริก

7 สรรพคุณ ใบเหลียง

เบต้าแคโรทีนสูง

เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้มซึ่งส่วนใหญ่จะพบมากในแครอท ผักเหลียง 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 1,089 ไมโครกรัม ซึ่งสูงกว่าผักบุ้งจีนถึง 3 เท่า และสูงกว่าผักบุ้งไทยถึง 5-10 เท่า และมากกว่าใบตำลึงอีกด้วย เบต้าแคโรทีนเมื่อย่อยสลายแล้วจะได้เป็นวิตามินเอ ซึ่งจะช่วยในการมองเห็นทำให้ดวงตามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา ลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก

บำรุงสายตา

ผักเหลียงมีวิตามินเอสูง ซึ่งจะช่วยบำรุงผิวพรรณและบำรุงสายตาช่วยการมองเห็น เพิ่มความสามารถในการมองเห็นตอนกลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย ตามัว ตาฝ้าฟาง และยังช่วยป้องกันเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ

บำรุงกระดูก

ผักเหลียงจัดเป็น 1 ใน 10 อันดับของผักที่มีแคลเซียมสูง ผักเหลียง 100 กรัม มีแคลเซียม 151 มิลลิกรัม มีสรรพคุณช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง  แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อกระดูก บำรุงเส้นเอ็น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย

บำรุงสมอง

ใบเหลียงมีวิตามินบี จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและบำรุงสมองให้ทำงานได้ดี ความจำดีขึ้น และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ อีกทั้งยังช่วยบำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด และช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด

ป้องกันมะเร็ง

ใบเหลียง อุดมไปสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายไม่ให้ถูกทำลายและช่วยให้ระบบการทำงานภายในร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น

แก้กระหายน้ำ

คนใต้นิยมรับประทานเพื่อลดอาหารกระหายน้ำ ลดอาการคอแห้ง แก้ร้อนใน แก้เจ็บคอ ช่วยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แก้อาการขาดน้ำเมื่อต้องเดินทางไกลหรือเข้าป่าเข้าสวน

แก้โรคซางในเด็ก

ช่วยแก้โรคซางในเด็กที่ผอมแห้งแรงน้อยร่างกายขาดสารอาหาร ก็จะช่วยให้เด็กเจริญอาหารขึ้น

คุณค่าทางอาหารของ ใบเหลียง 100 กรัม

ให้พลังงานแก่ร่างกาย 400 แคลอรี่
ไขมัน 1.17 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 90.96 กรัม
โปรตีน 6.56 กรัม
แคลเซียม 150.56 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 224.37 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 2.51 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10.889 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 1.25 มิลลิกรัม
วิตามินไนอาซิน 1.73 มิลลิกรัม