Loft ตู้บิวท์อิน บ้านชั้นเดียว บ้านตากอากาศ บ้านเดี่ยวชั้นเดียว บ้านแนว ลอฟท์ บ้านแนวโมเดิร์น วัยเกษียณ แบบบ้าน แบบบ้านชั้นเดียว แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว แปลนบ้าน

แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว สไตล์ลอฟท์ ขนาด 110 ตร.ม. งบ 1.35 ล้านบาท

แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว สไตล์ลอฟท์ ในงบ 1.35 ล้านบาท 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องนั่งเล่น พร้อมพื้นที่สวนรอบบ้าน

Home / DECOR / แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว สไตล์ลอฟท์ ขนาด 110 ตร.ม. งบ 1.35 ล้านบาท

สุขใดไหนเล่าจะเท่ากับการมีบ้านที่ตอบโจทย์ชีวิตบั้นปลาย ได้ใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างเรียบง่าย สุขสงบ ในสวนร่มรื่นในบ้านพักตากอากาศที่ต่างจังหวัด แอดคนหนึ่งล่ะ ที่ใฝ่ฝันถึงการใช้ชีวิตอยู่อาศัยในบ้านเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด และแน่นอนว่าการปลูกเรือนก็ต้องตามใจผู้อยู่ แต่นอกจากเรื่องของความสวยงาม สไตล์การตกแต่งที่เจ้าของบ้านชอบแล้ว แบบบ้านก็ยังต้องตอบสนองให้ตรงกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยด้วย เมื่อ “คุณกัญญภัทร สุขสมาน” เจ้าของบ้านหลังนี้ได้ที่ดินในอาณาเขตรั้วบ้านเดิมในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างบ้านหลังใหม่เป็นของตัวเองในขนาด 110 ตารางเมตร…งานนี้แบบบ้านในฝันก็มา ตอบโจทย์ชีวิตวัยเกษียณ ไม่ต้องขึ้น – ลง บันไดให้มากความ จึงกลายเป็น แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว สไตล์ลอฟท์ ในงบ 1.35 ล้านบาท 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว และ 1 ห้องนั่งเล่น พร้อมพื้นที่สวนรอบๆ บ้าน ที่กำลังจะตกแต่งต่อในอนาคตค่ะ เรามาดูการตกแต่งภายในกัน

แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว สไตล์ลอฟท์ งบ 1.35 ล้านบาท

เมื่อตั้งใจจะสร้างบ้านสักหลัง เพื่อพักผ่อน ตากอากาศในบ้านเกิด คุณกัญญภัทร ใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลไว้ประกอบการตัดสินใจก่อนสร้าง เพื่อกำหนดควบคุมงบประมาณไม่ให้บานปลาย เมื่อเปรียบเทียบจากข้อดี ข้อเสีย ที่จะตอบโจทย์สำหรับตนเองแล้ว จึงตัดสินใจเลือกให้ผู้เชี่ยวชาญมาดูแล จากการค้นหาข้อมูลเสิร์ชต่างๆ แล้ว จึงเลือกบริษัท บ้านดี สถาปนิก มาออกแบบและดูแลการก่อสร้างทั้งหมด ทั้งนี้ เบื้องต้น ตั้งงบประมาณไว้ 1.8 ล้านบาท  ใช้เวลาก่อสร้างตามกำหนดทั้งหมด  4 เดือน อยู่ในงบ 1,350,000 บาท

ขั้นตอนสำคัญต่อมาจากนั้นคือ ชัดเจนกับตัวเองก่อนว่า ต้องการอะไรบ้างในบ้านที่จะตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์  งบเท่าไหร่ อยากได้การตกแต่งแนวไหน  ต้องการฟังก์ชั่นอะไรบ้าง มีห้องกี่ห้อง ใช้วัสดุอะไรบ้าง มีภาพตัวอย่างไว้ให้ทางสถาปนิก จากนั้นวาดแปลนบ้านด้วยตัวเองคร่าวๆ ตามที่ต้องการ เพื่อให้เห็นภาพตรงกันชัดเจนกับทีมออกแบบ

หลังจากได้ข้อสรุป ทางทีมงาน บ้านดี ก็ออกแบบมาให้คุณกัญญภัทรเลือก และปรับตามความความต้องการ จนได้แปลนบ้านที่ถูกใจ  2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว  1 ห้องโถงสำหรับนั่งเล่น และ มีมุมทำงาน อ่านหนังสือชิลล์ๆ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่า ขอให้ใช้ไม้น้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาปลวกขึ้นบ้านในระยะยาว

จากนั้นก็ขึ้นแบบบ้าน 3D  เป็น บ้านแนว ลอฟท์ ผสมผสานโมเดิร์น

จากนั้นก็เริ่มก่ออิฐ ซึ่งบ้านหลังนี้ใช้อิฐมอญเป็นวัสดุหลัก และหลังคาติดฉนวนกันความร้อน

มาดูบ้านหลังจากสร้างเสร็จแล้วกันค่ะ

ปัญหาที่เจอระหว่างก่อสร้าง และ ตกแต่ง

  •  ปูนเปลือยมีรอยแตก : การก่อปูนเปลือยให้ได้งานเนี้ยบไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ช่างชำนาญงานที่มีประสบการณ์ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีรอยแตกร้าว  การแก้ปัญหาสำหรับบ้านหลังนี้ คือการทาสีลอฟท์ลงอีกรอบ
  • ปัญหาการสื่อสารเล็กๆ น้อยๆ : อย่างเช่น แบบที่สถาปนิกออกแบบเป็นหน้าต่างบานกระจกใส แต่ในภาพมีเส้นเงา ทำให้ช่างเข้าใจว่า ติดกระจกฝ้า ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
  • แผงปลั๊กไฟ : ไม่เอื้อกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า ….รื้อทำใหม่
  • แก้ระเบียงหน้าบ้าน : จากเดิมเป็นมุมฉากรูปตัว L ก็ทำให้เฉียงเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งาน
  • ย้ายเบรกเกอร์ : เก็บซ่อน เพื่อความสวยงาม เนื่องจากในตอนแรก ช่างติดตั้งเบรกเกอร์โด่เด่ ไม่สวยงาม โดยทั้งหมดนี้ อยู่ในเงื่อนไขตามสัญญาสร้างบ้าน จึงไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • เปลี่ยนช่างไป 2 รอบ : แต่เนื่องจากอยู่ในสัญญาที่เซ็นกับทางบริษัทตั้งแต่แรก ทำให้ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม นี่คือ ข้อดีของการเลือกบริษัทที่ไว้วางใจได้ในการสร้างบ้าน และ การทำข้อตกลงสัญญาที่เอื้อประโยชน์ผู้บริโภค ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้

คำแนะนำ

  • ศึกษาหาข้อมูลให้มากๆ อ่านรีวิวเยอะๆ
  • หา reference ให้แน่นๆ จะได้เห็นภาพตรงกัน
  • ชัดเจนกับความต้องการของตัวเอง ชัดเจนมาสเตอร์แปลนก่อน แล้วรายละเอียดอื่นๆ จะตามมาเอง
  • ติดตามดูหน้างานอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพราะอยู่ในสัญญากับบริษัท แต่การแก้ไขช้า จะทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้นไปอีก
  • ข้อดีของการจ้างบริษัทมาออกแบบและดูแลในการก่อสร้าง ทำให้ลดขั้นตอนและแบ่งเบาภาระเจ้าของบ้านไปได้มาก ทั้งยัง ช่วยให้คุมงบประมาณได้ รู้ระยะเวลาว่า ต้องจ่ายก้อนใหญ่ตอนไหน เวลาใด เพราะทางทีมงานที่มีประสบการณ์ จะทำไทม์ไลน์ และเอกสารที่ชัดเจน ไม่ต้องปวดหัวจุกจิก นอกจากนี้ยังมีประกันโครงสร้าง 10 ปี  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล