ต่อทะเบียนรถ ภาษีรถยนต์

รู้หรือไม่? ขนาดซีซี รถของคุณ ต้องจ่ายเท่าไร่ เมื่อต่อภาษีรถยนต์

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) รถ (0.5-1.5 บาท/cc) ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ลดให้ 10% ขึ้นไป รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เช่น

Home / AUTO / รู้หรือไม่? ขนาดซีซี รถของคุณ ต้องจ่ายเท่าไร่ เมื่อต่อภาษีรถยนต์

เป็นเรื่องปกติของคนมีรถที่ทุกปีจะต้องต่อภาษีทะเบียนรถ สำหรับมือใหม่ในการต่อ ภาษีรถยนต์ หรือผู้ที่เพิ่งซื้อรถยนต์คันใหม่ในขนาดเครื่องยนต์ที่ตนเองไม่เคยใช้มาก่อนอาจจะไม่ทราบว่ารถของตุณเองต้องเสียภาษีในราคาเท่าไหร่ต่อปี และนี่คือสูตรคำนวนเงินจากขนาดเครื่องยนต์รถของคุณแบบง่ายๆ ที่คุณทำได้ไม่ยากด้วยตัวคุณเอง

หลังจากที่จัดเตรียมเอกสารสำหรับการต่อภาษีไม่ว่าจะเป็น สำเนาสมุดทะเบียนรถ, หลักฐานการทำ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ยังไม่หมดอายุ และใบรับรองการตรวจสภาพรถ ครบแล้ว ขั้นตอนต่อไปมาดูว่าเราต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่เพื่อใช้ในการต่อ ภาษีรถยนต์โดยอัตราการเสียภาษีรถขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ เอาล่ะขั้นตอนต่อไปก็มาดูกันว่าขนาดรถของคุณต้องเสียภาษีประจำปีละเท่าไร

  1. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) รถ (0.5-1.5 บาท/cc) ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ลดให้ 10% ขึ้นไป รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู รถ SUV รถประเภทนี้คิดภาษี ตามซีซี
    – 1-600 ซีซีละ 0.50 สตางค์
    – 601-1800 ซีซีละ 1.50 บาท
    – 1801 ขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท

ตัวอย่างการคำนวณ

รถยนต์ ยี่ห้อ Honda รุ่น Jazz อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 1,500 cc

  1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
  2. 601-1500 cc ละ 1.50 บาท = (1,500 – 600) = 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท

รวมค่าภาษี 300 + 1,348.50 = 1,648.50 บาท

ในกรณีที่รถมีขนาดเกิน 1800 ซีซี สมมุติว่าเครื่องยนต์ขนาด 2,979 ซีซี จะคำนวณได้ดังนี้

รถยนต์ ยี่ห้อ Toyota รุ่น Vigo อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 3,000 cc

  1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600×0.5 = 300 บาท
  2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1199 x 1.50 = 1,798.50 บาท
  3. เกิน 1801 cc ละ 4 บาท = (3,000 – 1,801) = 1199 x 4.00 = 4,796 บาท
    รวมค่าภาษี 300 + 1,798.50 + 4,796 บาท = 6,894.50 บาท

ภาษี ปีที่ 1-5 ภาษีคงที่
6 ปีลด 10%
7 ปีลด 20%
8 ปีลด 30%
9 ปีลด 40%
10 ปีลด 50%
ปีที่ 11 เป็นต้นไป ภาษีเท่ากับปีที่ 10

  1. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
    น้ำหนักรถ 751 – 1000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
    น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
    น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
    น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
    น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
    น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
  1. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ
    น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
    น้ำหนักรถเกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท

*ส่วน ประเภทที่ 12. รถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะ 100 ซีซี หรือ 1000 ซีซี ก็ 100 บาท

เพราะฉะนั้นอย่าลืมไปต่อ ภาษีรถยนต์ โดยคุณสามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนเพราะหากจ่ายช้าไปกว่านั้นคุณตะต้องโดนค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าต่อทะเบียนและหากขาดต่อทะเบียนเกิน 3 ปี รถของคุณจะถูกระงับการใช้งานทันที ต้องไปเสียค่าปรับย้อนหลังและทำเรื่องจดทะเบียนรถใหม่ แถมหากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับจะถูกดำเนินคดีขาดต่อทั้งทะเบียนและ พ.ร.บ. ถูกปรับ 20,000 บาทรถไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท, ใช้รถไม่จดทะเบียนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท, ใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และหากรถคันใดค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนทันที