Toyota ยอดขายรถยนต์ สถิติ โตโยต้า

สรุปยอดขายรถยนต์ตุลาคม ลดลง 13% พร้อมลุ้นสัญญาณบวกช่วงสิ้นปี

โตโยต้า รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนตุลาคม 2564 ชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนท์ โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 64,462 คัน ลดลง 13%

Home / AUTO / สรุปยอดขายรถยนต์ตุลาคม ลดลง 13% พร้อมลุ้นสัญญาณบวกช่วงสิ้นปี

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนตุลาคม 2564 ชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนท์ โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 64,462 คัน ลดลง 13% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 19,950 คัน ลดลง 11.2% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 44,512 คัน ลดลง 13.8% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 35,352 คัน ลดลง 13.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว

ตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม 2564 มีปริมาณการขาย 64,462 คัน ลดลง 13% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 11.2% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความวิตกกังวลต่อภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศ รวมทั้งสภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนความสามารถในการซื้อรถใหม่ของลูกค้า 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนตุลาคม 2564 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,462 คัน ลดลง 13%

อันดับที่ 1 Toyota 22,845 คัน ลดลง 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 Isuzu 15,411 คัน ลดลง 10.3%ส่วนแบ่งตลาด 23.9%
อันดับที่ 3 Honda 7,183 คัน ลดลง 20.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 19,950 คัน ลดลง 11.2%

อันดับที่ 1 Honda 6,655 คัน ลดลง 8.0% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 2 Toyota 5,651 คัน ลดลง 9.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.3%
อันดับที่ 3 Mazda 1,780 คัน ลดลง 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 44,512 คัน ลดลง 13.8%

อันดับที่ 1 Toyota 17,194 คัน ลดลง 11.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 2 Isuzu 15,411 คัน ลดลง 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 3 Ford 2,823 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 35,352 คัน ลดลง 13.4%

อันดับที่ 1 Toyota 14,918 คัน ลดลง 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 42.2%
อันดับที่ 2 Isuzu 14,002 คัน ลดลง 12.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.6%
อันดับที่ 3 Ford 2,823 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,174 คัน

  1. Toyota 2,079 คัน
  2. Isuzu 889 คัน
  3. Mitsubishi 564 คัน
  4. Ford 492 คัน
  5. Nissan 150 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 31,178 คัน ลดลง 15.1%

อันดับที่ 1 Isuzu 13,113 คัน ลดลง 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 42.1%
อันดับที่ 2 Toyota 12,839 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
อันดับที่ 3 Ford 2,331 คัน เพิ่มขึ้น 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%

ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายนมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น และมาตรการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว ตลอดจนการฉีดวัคซีนให้กับคนไทยเริ่มทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่คาดว่าจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยของคนไทยในการบริโภคและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ตลอดจนการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศจะมีมากขึ้นในช่วงปลายปี รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเข้ามาหมุนเวียนเพิ่มเติมในระบบเศรษฐกิจจะทำให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ตุลาคม 2564

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 596,393 คัน ลดลง 2.1%

อันดับที่ 1 Toyota 189,405 คัน เพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 2 Isuzu 146,940 คัน เพิ่มขึ้น 4.4% ส่วนแบ่งตลาด 24.6%
อันดับที่ 3 Honda 68,512 คัน ลดลง 7.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 196,090 คัน ลดลง 7.2%

อันดับที่ 1 Honda 60,061 คัน ลดลง 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 2 Toyota 48,752 คัน ลดลง 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%
อันดับที่ 3 Mazda 16,637 คัน ลดลง 10.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 400,303 คัน เพิ่มขึ้น 0.7%

อันดับที่ 1 Isuzu 146,940 คัน เพิ่มขึ้น 4.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 Toyota 140,653 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 Ford 25,353 คัน เพิ่มขึ้น 15.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 312,141 คัน ลดลง 1%

อันดับที่ 1 Isuzu 133,316 คัน เพิ่มขึ้น 2.3% ส่วนแบ่งตลาด 42.7%
อันดับที่ 2 Toyota 119,880 คัน เพิ่มขึ้น 6.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 3 Ford 25,353 คัน เพิ่มขึ้น 15.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 40,334 คัน

  1. Toyota 18,065 คัน
  2. Isuzu 12,715 คัน
  3. Mitsubishi 5,096 คัน
  4. Ford 3,836 คัน
  5. Nissan 622 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 271,804 คัน ลดลง 4.1%

อันดับที่ 1 Isuzu 120,601 คัน ลดลง 4.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 Toyota 101,815 คัน เพิ่มขึ้น 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 3 Ford 21,517 คัน เพิ่มขึ้น 20.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%

อีกทั้งสถานการณ์ตลาดรถยนต์จะดีขึ้นไปจนถึงสิ้นปีที่จะมีการจัดงาน อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์ เอ็กซ์โป ซึ่งหลายค่ายรถยนต์ต่างนำเสนอแคมเปญส่งเสริมการขาย “เงื่อนไขเดียวกับ มอเตอร์ เอ็กซ์โป” ในช่วงปิดตัวเลขการขายประจำปีด้วยเช่นกัน